Migration brings skills, knowledge, and cultural exchange. Each nation has its own stories and beliefs. Vipoo Srivilasa, a Thai artist who has emigrated to Melbourne, is interested in multiculturalism and Thai literature. As a contemporary artist, Srivilasa creates ceramics artworks based on the characters from local myths and stories, to investigate and re-examine traditions and cautionary tales with critical eyes.
As shown through the character of Sita, for example, from the epic tale of Ramayana, which originates from India and is found widely spread in Southeast Asia; or Kaew-Nama (A horse-faced maiden), a Thai classic romantic folktale, presented through colorful figurines, Srivilasa questions the ways our society place values and expectations on women and their worth. In another example, The Gold Conch (Sang-Thong), a classic folktale about a prince who was born with golden skin, was reinterpreted to frame Srivalasa’s active stance on gender equality through a wide range of materials such as glass, wood and porcelain, showing unique beauties in each material’s own way.
In his most recent series, Srivilasa also uses another classic literature “Inao”, which shares great similarity to the Javanese long narrative poem “Hikayat Panji Semirang”, and has created the series, Blossom Deity. Regional myths and beliefs within Southeast Asia also inspired his art, as we can see from the sculptures of Garuda and Naga in his distinctively playful figurines, as well as other characters such as ghosts, elves, and gods that invite the audience to engage, using their own interpretation.
In 2022, Srivilasa’s created a new series from his interest in Benjarong, a distinguished technique on ceramics that was once reserved for the upper class, but with a long history between Thai and Chinese artisans. His hand crafted his signature bear-like characters in Melbourne and sent them to Jindezhen, China, a place famously known for its whitest porcelain in the world. After, the works are sent back to Melbourne to apply gold layers, before they are sent to Thailand for the final process of Benjarong painting. This series of works not only demonstrates his comprehensive knowledge of different cultures, but also makes what was once reserved knowledge more accessible to common people.
Srivilasa’s works bring forth conversations around culture, literature, mythology and beliefs that are filled with stories beyond imagination, such as transformation, epic battles, romantic love and supernatural events that come out through his sculptures. Through this, he is able to keep cultures and traditions alive in contemporary conversations.
“The tangible tales” is part of Art Jakarta 2022 which will be held at Jakarta Convention Center, Indonesia from 26-28 August 2022.
Hashtag: #SACArtFair #SACVipoo #NitanThai
การเคลื่อนย้ายของผู้คนและการเปลี่ยนถิ่นฐานนำมาซึ่งการเคลื่อนที่ของทักษะ องค์ความรู้ และการส่งต่อวัฒนธรรม แต่ละชนชาติต่างมีเรื่องเล่าและความเชื่อเป็นของตัวเอง วิภู ศรีวิลาศ ศิลปินไทยผู้ซึ่งได้ย้ายถิ่นฐานไปยังเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย มีความสนใจในความหลายหลายทางวัฒนธรรมและวรรณคดีไทย ได้สร้างสรรค์ผลงานเซรามิกจากคาแรคเตอร์ของตัวละครในตำนานและเรื่องเล่าตามความเชื่อท้องถิ่น ซึ่งเป็นการได้ย้อนไปสำรวจวิถีของตัวละครต่างๆ ในวรรณคดีอันเป็นฐานรากวัฒนธรรมในพื้นที่นั้นๆ ด้วยสายตาของศิลปิน contemporary art
ดังปรากฏในตัวละคร นางสีดา จากตำนานรามเกียรติ์อันเป็นวัฒนธรรมร่วมของอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวละครจากนิทานพื้นบ้านของไทยอย่าง แก้วหน้าม้า หญิงสาวที่มีหน้าเหมือนม้าและได้อภิเษกกับเจ้าชายในตอนท้ายเรื่อง ซึ่งวิภูได้ถ่ายทอดออกมาเป็นงานเซรามิกสีสันสดใสโดยมีใบหน้าเป็นรูปม้า รวมทั้งนิทานพื้นบ้านเรื่อง สังข์ทอง เจ้าชายที่เกิดมาแล้วอยู่ในหอยสังข์และมีผิวกายเป็นทองคำ ซึ่งวิภูได้หยิบเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องสื่อออกมาเป็นประติมากรรมในหลากหลายวัสดุ ทั้งเซรามิก ไม้ รวมไปถึงแก้วอีกด้วย เรียกได้ว่าวิภูเป็นศิลปินที่นำเสนอความแตกต่างหลากหลายและความเท่าเทียม (equality) ผ่านผลงานศิลปะได้เป็นอย่างดี วิภูยังสนใจวรรณคดีไทยเรื่องยาวอย่าง อิเหนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากนิทานของชวาเรื่อง “Hikayat Panji Semirang” จึงได้สร้างผลงานชื่อ Blossom Deity หรือ นางบุษบา ตามชื่อตัวละครเอกในเรื่องอิเหนา (บุษบาในภาษาไทยหมายถึงดอกไม้) และยังมีการถ่ายทอดเรื่องเล่าเกี่ยวกับรักที่ไม่สมหวังของตัวละครหญิงผู้อยู่ภายใต้การกดทับของปิตาธิปไตย (Patriarchy) อย่างมัทนะพาธาและนางผีเสื้อสมุทรอีกด้วย นอกจากนิทานพื้นบ้านแล้ว ตำนานความเชื่อของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีอิทธิพลต่อการทำงานของวิภู เขาได้ทำประติมากรรมของ ครุฑและนาค ในคาแรคเตอร์ที่มีความขี้เล่นตามแบบฉบับของตนเองรวมทั้งได้สร้างสรรค์ตัวละครที่ให้ผู้ชมได้ตีความเองว่าเป็น ผีหรือเทพ จะให้คุณหรือให้โทษ
ในปี พ.ศ. 2565 นี้วิภูได้มีผลงานซีรีส์ใหม่ที่มาจากความสนใจในศาตร์ของเซรามิกชั้นสูงอย่างเครื่องเบญจรงค์ของไทยอันมีเรื่องราวของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างช่างฝีมือไทยและจีน ซึ่งผลงานเบญจรงค์ของวิภูนี้ เป็นการทำโมเดลรูปคาแรคเตอร์หมีซึ่งเป็นผลงานอันเป็นที่จดจำของเขาจากเมลเบิร์น แล้วส่งไปยังเมืองที่ทำพอซเลนได้ขาวที่สุดในโลกอย่างเมือง ติ่งเต๋อเจิ้น (Jingdezhen) ประเทศจีน จากนั้นถูกส่งกลับมายังศิลปินที่เมลเบิร์นอีกครั้งเพื่อลงทองแล้วจึงส่งให้ช่างวาดเบญจรงค์ที่ประเทศไทย ถือเป็นการใช้ทักษะองค์ความรู้ของผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมให้เกิดเป็นผลงานศิลปะ และทำให้เอกลักษณ์ของเครื่องถ้วยชั้นสูงเข้าถึงผู้คนมากขึ้น
งานของวิภูจึงเรียกได้ว่าเป็นการนำเอาวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ในวรรณคดี ตำนาน ความเชื่อ และเรื่องเล่า อันเต็มไปด้วยเรื่องราวเหนือจินตนาการ ทั้งการแปลงร่างการสู้รบ รักโรแมนติก และอภินิหาร ออกมาอยู่ในรูปแบบงานประติมากรรมให้ผู้คนสามารถสัมผัสและทราบซึ้งไปกับผลงานศิลปะ และยังได้เข้าถึงประเด็นสังคมร่วมสมัยผ่านผลงานเหล่านี้
“The tangible tales” เป็นส่วนหนึ่งของ Art Jakarta 2022 จัดแสดง ณ Jakarta Convention Center ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม พ.ศ. 2565