ไปพร้อมพงษ์ ลงพร้อมเธอ ที่ Little Japan (EN/TH)

by Methinee Boonyuen
March 22, 2022

Japan, the country that most people would often go visit during Songkran with their loved ones. The country where one would stroll down the promenade filled with Japanese stores, eat traditional Japanese food and find inspiration in Museums and people. Perhaps, this is how we soak in the culture and open ourselves to new experiences. But sadly, this fantasy cannot become a reality because the Songkran holiday has become an indefinite one — a holiday where we don’t know when it will end. However, we can still partake in our fantasies in the midst of the city ravaged by COVID-19 by being careful and mindful by looking at the rectangular object in our hands that has told us to stay home in order to stop the spread of disease. The feeling of sadness and isolation has seeped into our summer and has taken away the cheerfulness that would have been a part of this season.

 

Although, we cannot change our environment and how that affects us, we can still look at our lives and actions and reflect upon these changes positively by changing our mindset and our reaction to these changes. When we look at the space we live in, the city, the same old roads with fresh eyes — you would be surprised at all the small nooks and crannies and new things that you may have missed.

 

 

In the 1960s, Bangkok broadened it’s trades and business areas from Japan to the Bangkok that we know today. For many years, the Embassy of Japan was located near Phrom Phong, however, in the year 2010 the embassy moved to Wireless Road. And during those many years where the embassy was situated in Phrom Pong, many japanese individuals chose to move close to the embassy. And from this, the Association of Japanese people living in Thailand was established which led to the growth of many businesses such as International Schools, Japanese Supermarkets, the rising popularity of Japanese foods and pastries such as Karaage, Choux Cream and Ramen, last but not least Osakaya. These new ways of life influenced and allowed many Thai individuals to have a taste of the Japanese Culture without needing to exchange their money from baht to yen. It can be inferred that Phrom Phong became a space where the cultural exchange between Japanese and Thai people took place for many many years.

 

And because of this, the place that one could display pieces of art that is so enriched with Japanese culture is so important and ought to be considered when looking at the exhibition as a whole. If the Art pieces were to be displayed in Bangkok, then it should be displayed in a space that is intertwined with Japanese culture. And so, a place that comes to mind as mentioned above is Phrom Pong. This group exhibition three is a magic number 15: Hypersweet by the artist three is a contemporary art exhibition that is about the exploration of Pop Culture in Japan. Through the use of cartoon figures and anime that are squished into a rectangular screen, sculptures that reflect the viewpoints of the Otaku, this exhibition invites the viewer to interpret the pieces in the show through the lens of Japanese contemporary artists with different experiences in life. With the viewer’s own cultural background and past experiences in mind, it can be inferred that the viewer may come up with a different interpretation of the work which is one of the interesting aspects of looking at pieces of work from a different culture. And even more so, this exhibition is the artist three’s first exhibition in Thailand. In collaboration with SAC Gallery and Standing Pine from Nagoya as well as being endorsed by the Cultural Section of the Japan Foundation, this exhibition can also be seen as echoing the cultural exchange between Japanese and Thai people that was prevalent in Phrom Phong many years ago. And even through the midst of the virus situation, SAC Gallery is still able to share this cultural exchange through this exhibition by allowing viewers to come and view the show by appointment and through other platforms.

 

 

And so, we implore you to change your travel plans to Japan and come explore the culture right here at the Gallery. You are still able to enjoy the promenade, the restaurants, the culture and find inspiration right here at the space where both cultures intersect. Perhaps, you might even see things in a new light even in the midst of this virus outbreak. If one is able to protect oneself and be mindful and responsible to society with one’s actions. We will be able to get through these times together with healthy bodies and positive minds that are filled to the brim with inspiration and new experiences.

 


 

 

ญี่ปุ่น ประเทศที่หลายๆ คนแพลนทริปสำหรับสงกรานต์นี้ไว้ว่าจะใช้วันหยุดยาวไปกับคนที่รัก เดินเล่นท่ามกลางร้านรวงสไตล์ญี่ปุ่น ทานอาหารญี่ปุ่นต้นตำรับ หาแรงบันดาลใจในพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้ผู้คน ดื่มด่ำวัฒนธรรม เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ทริปในฝันเหล่านั้นจำต้องเป็นอันตกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อสงกรานต์กลายเป็นวันหยุดยาวที่ไม่มีอยู่จริง เรายังคงต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆในเมืองฟ้าอมรท่ามกลางวิกฤติของโรคติดต่อ ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างระวัง (ตนเอง) และระแวง (ผู้อื่น) ข้อความจากจอสี่เหลี่ยมในมือ รณรงค์ให้อยู่บ้านเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโรค ความหม่นหมองของบรรยากาศรอบตัวลดทอนความสดใสของฤดูร้อนลงไป

 

เราเปลี่ยนเรื่องราวรอบตัวที่เข้ามากระทบไม่ได้ แต่เราอาจจัดการชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของตัวเองหลังจากได้รับการกระทบจากสิ่งเหล่านั้นได้ และเพื่อให้สิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่ไม่เลวร้ายจนเกินไปนัก การหันกลับมามองที่ๆ เราอยู่ เมืองที่เราอาศัย ถนนเส้นเดิมๆ อาจมีเรื่องราวใหม่ๆ รอการถูกค้นพบอยู่ก็ได้ (ถ้าเข้าไปถูกซอย)

 

 

กรุงเทพในศตวรรษที่ 60 มีการขยายอาณาเขตทางธุรกิจจากแดนอาทิตย์อุทัยมายังมหานครกรุงเทพฯ เดิมทีที่ตั้งของสถานทูตญี่ปุ่นอยู่ที่ย่านพร้อมพงษ์เป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนจะย้ายไปยังที่ตั้งปัจจุบันที่ถนนวิทยุในปี 2553 ซึ่งระยะเวลาหลายสิบปีนั้น มากพอที่ชาวญี่ปุ่นซึ่งมาทำงานในกรุงเทพฯ เลือกที่จะมาอยู่อาศัยให้ใกล้กับสถานทูตของประเทศตัวเอง ทั้งในแง่ของความอุ่นใจ และความสะดวกแก่การทำธุรกรรมต่างๆ มีการจัดตั้งสมาคมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทยขึ้นในซอยสุขุมวิท 39 การขยายตัวของคนญี่ปุ่นในย่านพร้อมพงษ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเติบโตของธุรกิจด้านสินค้าและบริการเพื่อรองรับความต้องการของคนญี่ปุ่นก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในย่านพร้อมพงษ์จึงมีโรงเรียนนานาชาติ ไปจนถึงโรงพยาบาลที่มีการเปิดขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้บริการชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะ แน่นอนว่าต้องมีซุปเปอร์มาเก็ตสัญชาติญี่ปุ่น ที่นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคแบบญี่ปุ่นออริจินอล สินค้ามือสองจากญี่ปุ่น ตลาดปลา ร้านไก่ทอดที่มีวิธีการรับประทานให้กระดูกล่อนออกมาจากเนื้ออย่างง่ายดาย ชูครีมคัสตาร์ดที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสเฉพาะตัว ราเมนในซุปที่มีความละเมียดของรสชาติแบบต้นตำรับ รวมถึงร้านกินดื่มแบบญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ ผลพลอยได้ตกมาสู่ชาวไทยที่ได้มีโอกาสเข้าถึงความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องแปลงค่าสกุลเงินในกระเป๋า เรียกได้ว่า พร้อมพงษ์ เป็นพื้นที่ที่คนไทยและญี่ปุ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมานานหลายสิบปี

 

ด้วยเหตุนี้เอง การจะนำเสนองานศิลปะอันรุ่มรวยด้วยความเป็นญี่ปุ่นอยู่ในตัวผลงานนั้น ที่ตั้งของหอศิลป์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากผลงานดังกล่าวจะถูกจัดแสดงในกรุงเทพฯ แน่นอนว่าควรต้องเป็นย่านที่มีความผูกพันกับความเป็นญี่ปุ่น และคงไม่มีที่ใดเหมาะสมไปกว่าย่าน ‘พร้อมพงษ์’ แห่งนี้ นิทรรศการ three is a magic number 15 : Hypersweet โดยศิลปินกลุ่ม three ที่กำลังจัดแสดงอยู่ขณะนี้เป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่พูดถึงการมองวัฒนธรรมป๊อบปูล่า (Pop Culture) ของญี่ปุ่น สื่อสารผ่านฟิกเกอร์ของตัวการ์ตูน อนิเมะ ซึ่งถูกบีบอัดจัดเรียงลงในจอสี่เหลี่ยม รวมไปถึงผลงานประติมากรรมที่เป็นกระบวนการสร้างสรรค์งานผ่านวัฒนธรรมแบบโอตาคุที่ผู้ชมงานจะได้ลองตีความงานศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ของศิลปินญี่ปุ่นแท้ๆ ผ่านประสบการณ์แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ชมงานชาวไทยอาจตีความผลงานออกมาได้คนละแบบกับชาวญี่ปุ่น จุดนี้เองทำให้การเสพย์งานศิลปะร่วมสมัยมีความน่าสนใจ และยิ่งไปกว่านั้น ความพิเศษของนิทรรศการนี้คือ เป็นการแสดงงานในประเทศไทยครั้งแรกของศิลปินกลุ่ม threeโดยความร่วมมือของหอศิลป์ Standing Pine จากเมืองนาโกย่า และ หอศิลป์ของไทย SAC Gallery ซึ่งสนับสนุนโดย Japan Foundation องค์กรด้านศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันของชาวไทยและญี่ปุ่นในพื้นที่ย่านพร้อมพงษ์ดังที่เคยเป็นมาเสมอมาและยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งแม้ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางหอศิลป์ก็ยังสามารถเปิดให้ผู้ชมสามารถเดินทางเข้ามาชมได้ด้วยการนัดหมายผ่านช่องทางต่างๆ

 

 

ลองปรับแพลนทริปญี่ปุ่นในฤดูร้อนนี้ ให้เป็นการไปเที่ยวญี่ปุ่นในมิติที่ไม่ได้ยึดยงอยู่บนพื้นที่เชิงกายภาพ ให้ยังคงได้เดินเล่นท่ามกลางร้านรวงสไตล์ญี่ปุ่น ลิ้มรสชาติอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ทำความเข้าใจวัฒนธรรม หาแรงบันดาลใจในหอศิลป์ในย่านวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นอย่างพร้อมพงษ์ อาจเป็นการเปิดมุมใหม่ๆ ให้ชีวิต แม้อยู่ท่ามกลางความน่ากังวลใจของโรคระบาด หากเราป้องกันตัวเองอย่างมีความรู้และรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ โดยที่ร่างกายยังแข็งแรงและจิตใจยังเบิกบานด้วยการเติมแรงบันดาลใจและประสบการณ์ใหม่ๆ เราก็จะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

About the author

SAC Gallery

Add a comment