OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
The problems with conservation of art objects being kept in a hot and humid climate are very complex. Climatic conditions play an important role in controlling the deterioration factors to which art objects are susceptible. Standards developed for temperature and relative humidity levels are difficult to attain unless sophisticate equipment is used and the equipment can run 24 hours a day, 365 days a year.
At present, most buildings are equipped with air -conditioners. They often have few openings and are without adequate air movement. Air- conditioners are used in service areas for human comfort during working hours only.
As a consequence, it was observed that large scale outbreaks of fungi have caused serious problems in many air- conditioned buildings. A group of xerophilic fungi can grow and reproduce in conditions with a low availability of water. Therefore, thoughtful consideration should be given to the overall building design, exterior walls and windows, insulation and vapor barriers, building materials, storage and display materials, as well as containers and enclosures. Each container/enclosure contains a microclimate which slowly interchanges with the room environment. When environmental conditions in an exhibition or storage area are not optimal, an appropriate container/enclosure can shield the object from fluctuating or harmful environmental conditions.
Enclosure materials should be carefully selected. Each object should have its own protective housing and packaging to protect it from rapid changes in environmental conditions, dust, light and damage caused by handling.
by Chiraporn Aranyanak
Specialist, SAC Conservation Lab
การอนุรักษ์ผลงานศิลปะในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นประสบปัญหาหลากหลายและซับซ้อน ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการชำรุดเสื่อมสภาพของผลงานศิลปะ ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุแต่ละชนิดตามที่นักวิชาการแนะนำนำมาปฏิบัติได้ยากหากไม่มีอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะลดอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ตลอดเวลา หมายถึงต้องเดินเครื่องจักรตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดปีและต้องมีงบประมาณเพียงพอที่จะจ่ายค่าไฟฟ้า เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้มีอาคารพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำนวนมากแต่เปิดเครื่องปรับอากาศเฉพาะเวลาทำงาน และออกแบบหรือปรับปรุงอาคารให้มีช่องเปิดน้อยมาก (ป้องกันอากาศเย็นไหลออก) ทำให้ขาดการไหลเวียนถ่ายเทอากาศภายในอาคาร ส่งผลให้เกิดเชื้อราที่มีลักษณะคล้ายผงสีขาวบนผิววัตถุ ซึ่งพบเห็นได้บ่อย ๆ ในอาคารที่ค่อนข้างอับ แม้วัตถุจะไม่ถึงกับชื้น เชื้อรากลุ่มนี้เรียกว่า Xerophilic fungi ซึ่งไม่ต้องการความชื้นสูงมาก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรเพิ่มการระบายอากาศในห้องและลดความชื้นรอบ ๆ วัตถุด้วยการจัดเก็บวัตถุในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยวัสดุที่เหมาะสม หรือบรรจุวัสดุที่ช่วยดูดซับความชื้นไว้ภายในเพื่อปรับระดับความชื้นภายในให้เหมาะสมต่อวัตถุแต่ละชนิด เป็นการสร้างสภาพภูมิอากาศภายในพื้นที่เล็ก ๆ (microclimate)
กล่องและบรรจุภัณฑ์ควรทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนและช่วยดูดซับความชื้นหรือป้องกันความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิและความชื้นรอบ ๆ วัตถุได้รับผลกระทบจากการที่อุณหภูมิและความชื้นสูงและแปรเปลี่ยนขึ้น ๆลง ๆ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน กล่องและบรรจุภัณฑ์ยังช่วยป้องกันแสงสว่าง ฝุ่นละออง ก๊าซและไอระเหย แมลง ราและช่วยลดอันตรายที่เกิดจากการจับต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ
เรื่องโดย: อาจารย์จิราภรณ์ อรัณยะนาค
ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์
นักอนุรักษ์ SAC Conservation Lab
หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาเรื่องเก็บรักษางานสะสมของคุณ ปรึกษาเราได้ที่ “SAC Conservation Lab”
บริการด้านการอนุรักษ์และซ่อมแซมศิลปะวัตถุโดยทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ให้บริการทั้งทางด้านการปรึกษาแนวทางและบริการด้านการอนุรักษ์
ดูรายละเอียดเพื่มเติมได้ ที่นี่
ติดต่อขอรับบริการและสอบถามทาง:
อีเมล: pornganok@sac.gallery
โทรศัพท์: 088-942-2965
Line Official: @sacbangkok
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.