Recent Works: Exploring Contemporary Artistry

August 29, 2023

"RECENT WORKS"

GROUP EXHIBITION

 

The exhibition "Recent Works" extends a warm invitation to engage with the evolving creative journeys of 15 distinguished artists from SAC Gallery. This showcase represents a moment of artistic transition, where artists present their latest endeavors. Their contributions may spring forth from ongoing research, or they may unveil entirely new concepts and directions. 

This platform offers artists the opportunity to intimately connect with our discerning audience, sharing the very essence of their current passion and curiosity. Concurrently, we encourage our active audience members to immerse themselves in this dialogue, fostering a space for constructive feedback and reflective discourse on the artists' "recent works". This exhibition also serves as a lens through which to glimpse the thematic landscape of contemporary Thai art. 

นิทรรศการ "Recent Works" เชิญชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการเดินทางอันสร้างสรรค์ของ 15 ศิลปินชื่อดังจาก SAC Gallery นิทรรศการในครั้งนี้แสดงถึงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะจากศิลปิน โดยการนำเสนอชุดผลงานล่าสุดของพวกเขา ซึ่งอาจมาจากการค้นคว้าที่กำลังดำเนินอยู่ หรืออาจเปิดเผยแนวคิดและทิศทางใหม่ทั้งหมด 

Recent Works เปิดโอกาสให้ศิลปินได้เชื่อมต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้ชมที่หลากหลายของเรา เพื่อนำเสนอสิ่งที่เหล่าศิลปินกำลังจดจ่ออยู่และความอยากรู้อยากเห็นล่าสุดในการทำงานของพวกเขา ในขณะเดียวกัน เราสนับสนุนให้ผู้ชมที่กระตือรือร้นของเราได้มีส่วนร่วมไปกับบทสนทนานี้ โดยเราส่งเสริมพื้นที่นิทรรศการนี้สำหรับการตอบรับอย่างสร้างสรรค์และการถกเถียงความคิดเกี่ยวกับ "ผลงานล่าสุด" ของศิลปินแต่ละคน นิทรรศการนี้ยังทำหน้าที่เป็นหน้าต่างให้มองเห็นภูมิทัศน์ของศิลปะร่วมสมัยไทยอีกด้วย 

 

 

01

JARASPORN CHUMSRI

 

I am a painter indulged in the painting process. Painting is the best way to communicate my thoughts and feelings into physical forms of images.

 

As an introverted artist, I count myself fortunate to live in the digital age. This era enables me to connect with people worldwide through social networks, transcending geographical boundaries. Whether I'm in front of a computer, smartphone, or any electronic screen, these platforms grant me the power to interact with a global audience.

 

Furthermore, the digital realm allows us to explore the world from the comfort of our seats, a lifestyle markedly distinct from the past. I aim to capture this profound transformation in my art, reflecting the ever-evolving nature of our world. 

 

Social networks are a fundamental aspect of contemporary life. I'm captivated by the virtual spaces created by modern technology. These platforms serve as bridges connecting countless individuals worldwide, fostering connections without the need for physical encounters. Encountering a daily stream of images that serve as windows into the thoughts and voices of the people who share them. What's truly fascinating is how social network platforms seamlessly deliver this data, along with the individuals behind it, directly to me.

 

In this art series, I've selected data that I find interesting and translated it into two-dimensional artworks. One piece is presented in the form of traditional art, while the other is created as a digital photo and shared on my social network platform. Subsequently, I tag the user accounts (people) on my artworks.

 

ข้าพเจ้าเป็นจิตรกรที่หลงใหลในกระบวนการวาดภาพ เพราะการวาดภาพคือวิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารความคิดและความรู้สึกของข้าพเจ้าให้อยู่ในรูปแบบทางกายภาพเช่นรูปภาพ

ในฐานะศิลปินผู้ชอบเก็บตัว ข้าพเจ้ารู้สึกโชคดีที่อยู่ในยุคดิจิทัล ยุคสมัยที่ทำให้ข้าพเจ้าสามารถเชื่อมต่อกับคนทั่วโลกผ่านเครือข่ายสังคม โดยอยู่เหนือขอบเขตทางภูมิศาสตร์  ไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ใดๆ พื้นที่เหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าสามารถสื่อสารกับคนทั่วโลกได้ 

 

ข้าพเจ้าสนใจพื้นที่บน Social Network ในมิติที่แพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีร่วมสมัย ที่ตัวมันเองทําหน้าที่เชื่อมต่อ Account ซึ่งทําหน้าที่เป็นตัวแทนของบุคคลมากมายทั่วโลกให้สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่จําเป็นต้องมีการเผชิญหน้ากันในโลกของความจริง


ข้าพเจ้ามีความรู้สึกตื่นเต้นและสนุกในการใช้มันและมอง Data ที่ได้เจอในทุกวันในรูปแบบของ Image ถึงมิติที่อยู่เบื้องหลังภาพว่าสําหรับข้าพเจ้าแล้วมันคือตัวแทนของ Message และ Voice ของผู้แชร์จากต้นทางและมันน่าสนมาก ที่ตัวแพลตฟอร์ม Social Network สามารถนําพา Data และ Account (ผู้คน) เหล่านี้มาอยู่ตรงหน้าของข้าพเจ้าได้

 

ในงานชุดนี้ข้าพเจ้าหยิบ Data ที่ข้าพเจ้ารู้สึกสนใจมา Translate ด้วยภาษาจิตรกรรมในรูปแบบงานสองมิติ งานชิ้นนี้ถูกจัดทําเป็น 2 สื่อ ชิ้นแรกจะถูกจัดแสดงในรูปแบบงานจิตรกรรม และอีกชิ้น จะถูกสร้างขึ้นเป็น Digital Photo และแชร์กลับไปบนแพลตฟอร์ม Social Network ของข้าพเจ้า และ Tag กลับไปยัง Account (ผู้คน)

 

 

02

TINTIN COOPER

 

In 2015, I created the ‘Screenshot Collages Series’ using the language we know best today – the browser window. It emulates the process we go through daily, of having several browsers and screens open all at once. The visuals, although casual looking, are actually intentionally selected and juxtaposed, as it would be with a traditional collage. 

 

In 2023, I have been revisiting the series of 2015 works with a slightly different focus. The initial series played on my daily creative process that often started with media images, such as juxtaposing iconic images on the computer screen to suggest a new and completely different story. Recently, my interest has shifted from deconstructing typical masculine images to the process of how images transform from their original purpose, for example, when images have turned into memes.  

 

Zinedine Zidane, best known for headbutting an opponent, has spurned countless memes himself and is widely known online as the ‘magician’ with ‘black magic powers’ because of his immense and unexplainable skill. ‘Black Magic— Screenshot Collage Series (2023)’ deconstructs these memes (remixing a remixed image) by imagining a new story of Zidane’s life – from his black magic powers and headbutting incident to finally being comfortably shacked up at home.

 

ในปี 2015 ตินตินได้สร้างสรรค์ผลงาน ‘Screenshot Collages Series’ ด้วยการสื่อสารที่เราคุ้ยเคยกันในปัจจุบันอย่างการใช้งานบราวเซอร์ โดยศิลปินได้ทำการจำลองถึงกระบวนการทำงานที่เป็นที่นิยม อย่างการเปิดหน้าจอและบราวเซอร์หลายๆหน้าพร้อมๆกัน ถึงแม้ภาพที่ออกมาจะดูเป็นกระบวนการที่เรียบง่าย แต่ในความเป็นจริงนั้น ศิลปินจงใจเลือกและวางภาพเทียบเคียงกันตามกระบวนการสร้างภาพคอลลาจแบบดั้งเดิม

 

ในปี 2023 ศิลปินย้อนกลับไปดูผลงานชุด 2015 ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม แต่ก่อนนั้น เธอโฟกัสถึงกระบวนการสร้างสรรค์งานในชีวิตประจำวัน ที่มักเริ่มจากการดูภาพมีเดีย แล้วนำภาพที่โดดเด่นมาวางเทียบเคียงกันบนจอคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเรื่องราวแบบใหม่ที่แตกต่างกันออกไป แต่ในตอนนี้ ศิลปินเบนความสนใจจากการแยกส่วนประกอบของภาพที่แสดงถึงความเป็น masculine ทั่วไป มาโฟกัสถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงความหมายเดิมๆของภาพเหล่านั้นแทน เช่น การที่ภาพถูกเปลี่ยนความหมายเป็นมีม กระเสที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในยุคปัจจุบัน


ซีเนดีน ซีดาน นักฟุตบอลผู้โด่งดังในเรื่องการโขกหัวคู่แข่ง ได้ออกมาปฎิเสธถึงมีมเกี่ยวกับตัวเขานับครั้งไม่ถ้วน เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ด้วยฉายา ‘นักมายากล’ ที่มี ‘พลังมนต์ดำ’ เนื่องด้วยทักษะที่น่าทึ่งและอธิบายได้ยากของตัวเขาเอง ผลงานชุด ‘Black Magic— Screenshot Collage Series (2023)’ นี้ได้ทำการแยกส่วนมีมของซีดาน (เรียกได้ว่าเป็นการรีมิกซ์ภาพที่ถูกรีมิกซ์มาแล้วอีกครั้งหนึ่ง) โดยจินตนาการถึงเรื่องราวของชีวิตเขาขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่เรื่องพลังมนต์ดำและกรณีการใช้หัวโขกคู่แข่ง ไปจนถึงการที่เขาพักผ่อนอย่างสบายๆที่บ้านของเขาเอง

 

 

03

PRATEEP SUTHATHONGTHAI

 

Dusit Thani was like a parallel world. It was an escape from reality…

 

After years of studying the primary documents which are daily newspapers distributed only in Dusit Thani, Prateep sees Dusit Thani as an experimental ‘play’ for the creator to learn how to rule the country in a modern way. Which, for the time being, could not yet be realised in the real world due to the limitation of power.

The “Dusit Thani – Ban Nom Klao” series for the Bangkok Art Biennale 2020 was a study on “Dusit Thani” (1918), an experimental miniature city of future governance on a scale of 1:20.     It was created during the reign of King Rama VI. The purpose of Dusit Thani was to be a platform for an experimental approach to modern governance, giving its members the right to elect a leader or "Nakaraphiban" as the head of the state.

 

After the exhibition for the Bangkok Art Biennale 2020, Prateep continues to study and research various types of evidence such as documents/ stories/ newspapers/ photographs, in order to create new artworks (paintings/architectural blueprints). The series “Assuming the City of Dreams: Dusit Thani” consists of several oil paintings on black and white photographs of the buildings in Dusit Thani, and the Dusit Thani map which has been revised in 2023. The artist envisioned the artworks as an extension of the lost historical evidence, and the inspiration for the audience to imagine what would have been like in the miniature city of Dusit Thani.

 

Prateep still continues his study on the evidence related to Dusit Thani for his up-and-coming project - a book that will soon be published by the King Vajiravudh Memorial Foundation under Royal Patronage.

 

ดุสิตธานีเป็นเหมือนโลกคู่ขนาน ที่หลีกเร้นจากโลกแห่งความเป็นจริงได้…

 

จากการศึกษาผ่านเอกสารชั้นต้น คือ หนังสือพิมพ์รายวันในดุสิตธานี ประทีปมองว่าดุสิตธานีเป็นการสร้างวิธี “เล่น” ในเชิงทดลอง เพื่อเรียนรู้วิธีการปกครองแบบทันสมัย ซึ่งยังมิอาจเกิดขึ้นได้จริงในเงื่อนไขของการมีอำนาจอันจำกัด

 

ชุดผลงาน “ดุสิตธานี – บ้านน้อมเกล้า” ในโครงการศิลปะ Bangkok Art Biennale 2020 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ “ดุสิตธานี” (พ.ศ. 2461) เมืองทดลองการปกครองในอนาคต สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรูปแบบเมืองย่อส่วน 1:20 เพื่อเป็นฉากให้กับการทดลองวิธีการปกครอง ให้สมาชิกมีสิทธิ์เลือกหัวหน้าหรือ “นคราภิบาล” เป็นหัวหน้าคณะผู้ปกครอง ซึ่งยังไม่ทันได้นำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง 

 

ภายหลังนิทรรศการในโครงการ Bangkok Art Biennale 2020 ประทีปยังคงศึกษาและค้นคว้าหลักฐานประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (เอกสาร/ เรื่องเล่า/ หนังสือพิมพ์/ ภาพถ่าย) เพื่อสร้างงานผ่านวิธีการและตัวสื่อ (จิตรกรรม/ งานพิมพ์เขียวอาคาร) งานชุด “ผลงานสันนิษฐานเมืองในฝัน : ดุสิตธานี” ประกอบด้วยงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนภาพถ่ายขาวดำของอาคารบ้านเรือนในดุสิตธานี และผลงานแผนที่ดุสิตธานีที่นำมาปรับปรุงอีกครั้งใน พ.ศ. 2566 เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นส่วนต่อเติมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สูญหายไป หรือให้คิดต่อถึงสิ่งที่อาจจะเคยมีในเมืองจำลองที่มีทุกอย่างเหมือนจริงในขนาดย่อส่วน

 

ประทีปยังสืบค้นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับดุสิตธานีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียบเรียงเป็นหนังสือที่อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์โดยมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

04

NARAPHAT SAKARTHORNSAP

 

The development of my previous series, 'THE OTHER SIDE OF FLOWER ARRANGEMENT,' involved research into vintage Japanese flower arrangement photographs. It included refining text compositions created with flowers, aiming for greater rawness and clarity to convey messages more directly than in my previous works.Additionally, I incorporated household items from middle to lower-class people as primary vessels for flower arrangements, symbolizing class equality and everyday life.

 

This approach also raised questions about the exclusivity of flower arranging knowledge, traditionally reserved for the upper class, questioning whether these barriers stem from unequal opportunity or, ultimately, serve as a means of maintaining exclusivity.

 

การพัฒนาผลงานชุดก่อน “The Other Side of Flower Arrangement” ทำโดยรีเสิร์ชภาพถ่ายการจัดดอกไม้ญี่ปุ่นโบราณ และพัฒนาข้อความที่ถูกจัดเรียงด้วยดอกไม้ให้มีความดิบและสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสื่อสารข้อความออกมาอย่างตรงไปตรงมามากกว่าผลงานในชุดก่อนหน้านี้ และนำเอาข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านของผู้คนจากชนชั้นกลางที่ค่อนไปทางล่างเป็นภาชนะหลักในการนำมาจัดดอกไม้ สื่อสารถึงความไม่เท่าเทียมด้านชนชั้นและความเป็นอยู่ 

 

รวมไปถึงเรื่องการปิดกั้นองค์ความรู้ด้านการจัดดอกไม้ที่ถูกดำรงไว้สำหรับชนชั้นสูง ที่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และใช้การจัดดอกไม้หรูหราเพื่อแสดงถึงฐานะมาตั้งแต่ในสมัยอดีตกาลมาอย่างยาวนาน และตั้งคำถามกลับไปยังสังคมว่า สิ่งที่ถูกปิดกั้นเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาจากเงื่อนไขของความไม่เท่าเทียมทางโอกาส หรือในท้ายที่สุดมันคือการจำกัดความเป็น “Exclusive” หรือความพิเศษเฉพาะเหล่านี้เอาไว้ให้แก่ผู้รากมากดีที่มีฐานะในสังคมเพียงเท่านั้น

 

 

05

KANCHALEE NGAMDAMRONK

 

My art practice blends tradition and modernity through collaborative projects with skilled artisans, exploring how the identities of traditional objects and age-old techniques can evolve in today’s landscape. Central to my exploration is my interest in how objects wield the power to shape our interaction with the world around us and the connections we share with others.

 

I am drawn to the allure of remnants and fragments, whether they be from my own past experiments, artisanal works or industries. Remnants carry stories and memories, and I infuse them with new life and meaning in my work. By recontextualizing fragments, I invite viewers to reconsider imperfections and the artistry that resides in embracing the old and the discarded to create the new.

 

Beyond aesthetics, my work delves into the tapestry of self-identity and relationships. My journey of material exploration and working with others is also a journey of self-discovery and transformation. Shaping materials molds my perceptions, relationships, and understanding of both the inner and outer worlds. Through this process, I explore the symbiotic dance of creation and creator, incorporating elements of fluidity and chance while revealing the interconnection of identity and human experience.

 

Moving forward, I aim to explore how objects can go beyond their conventional meanings, taking on new roles and challenging established perceptions. Through my creation process, I am excited to delve into dimensions of self-discovery, transformation, connections with others, and our dynamic relationship with the modern world.

 

กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะของกรรณชลีเปรียบเสมือนการหลอมรวมวัฒนธรรมดั้งเดิมผนวกกับความร่วมสมัย ผสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและช่างฝีมือท้องถิ่น เพื่อร่วมกันหาวิธีแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของวัตถุและเทคนิคการสร้างสรรค์ให้ร่วมสมัยมากขึ้น ในปัจจุบัน ศิลปินมีความสนใจเฉพาะในการพินิจถึงปฏิสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกันและกัน ผ่านการใช้วัตถุเป็นสื่อกลางในการเชื่อมหากัน

 

กรรณชลีมีความหลงใหลในเศษเสี้ยวที่หลงเหลืออยู่ของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษของเหลือที่ผ่านกระบวนการทดลอง วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรม หรือส่วนเกินจากการสร้างสรรค์งานของช่างฝีมือ เศษเสี้ยวเหล่านี้ล้วนโอบอุ้มเรื่องราวและความทรงจำเก่าๆ ที่ศิลปินหยิบยกมาตีความหมายใหม่ในผลงานของตัวเอง กระบวนการปรับบริบทให้กับเศษเสี้ยวของวัตถุเหล่านี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ชื่นชมความไม่สมบูรณ์แบบ และความเป็นงานฝีมือที่ซ่อนอยู่ในเศษของวัสดุเก่าๆ เหล่านั้น ให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

 

นอกเหนือจากสุนทรียะเชิงทัศนะแล้ว ผลงานของกรรณชลียังเปรียบได้กับผ้าทอผืนใหญ่ที่โยงใยเอาอัตลักษณ์และความสัมพันธ์ของผู้คนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน หนทางในการสำรวจวัสดุและการทำงานร่วมกับช่างฝีมือต่างๆ ยังเปรียบเป็นการเดินทางเพื่อสำรวจตัวตนและการเปลี่ยนแปลงของตัวศิลปินเอง และการขึ้นรูปวัตถุต่างๆ ยังช่วยหล่อหลอมมุมมองและความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นสำหรับศิลปินอีกด้วย กระบวนการนี้ทำให้กรรณชลีเข้าใจโลกภายนอกและภายในของตัวเองมากขึ้น เปรียบเสมือนกับท่าทีอันถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างผู้สร้างและสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งนำเอาความยืดหยุ่นและความบังเอิญมาใช้ เพื่อให้เห็นถึงจุดเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์และความเป็นมนุษย์

 

กรรณชลีมีความตั้งใจที่จะสำรวจหาความหมายใหม่ๆ ให้กับวัตถุรอบตัว และท้าทายต่อมุมมองที่เรามีต่อสิ่งเหล่านั้น กระบวนการนี้จะส่งผลให้ศิลปินสามารถสะท้อนกลับมาวิเคราะห์ตัวเอง และสำรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้าใจพลวัตของความสัมพันธ์ที่เรามีต่อยุคสมัยใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี

 

 

06

KITIKONG TILOKWATTANOTAI

 

Is simplicity truly the opposite of complexity, or do these two coexist on the same path from the very beginning? Perhaps, it's a cycle with no fixed formula or pattern, just like the inevitable progression.

 

My current series speaks of simple shapes that are not as straightforward as they seem. They define the meaning of colors and surfaces that differ, reflecting a hidden complexity born from the experience of seeing something that might have a simple appearance.

 

In reality, are we living with complexity in simplicity or simplicity in complexity all along?

This is a question that I pose not only to the viewers but is also seeking answers for myself.

 

แท้จริงแล้ว ความเรียบง่าย (Simplicity) เป็นขั้วตรงข้ามกับความซับซ้อน (Complexity) รึเปล่า หรือว่าสองอย่างนี้อยู่ร่วมบนเส้นทางเดียวกันมาแต่แรก? เพียงเป็นวัฏจักรที่ไม่มีสูตรและรูปแบบตายตัว

 

งานชุดปัจจุบันจึงพูดถึงรูปทรงที่เรียบง่ายซึ่งไม่เรียบอย่างที่เห็น ทว่าซ่อนความหมายภายใน โดยการนิยามความหมายของสีสันและพื้นผิวที่แตกต่างกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความซับซ้อนอันเกิดจากประสบการณ์การมองเห็นสิ่งที่อาจมีภาพลักษณ์เรียบง่าย

 

โดยจริงๆ แล้วเราอยู่กับความเรียบง่ายที่ซับซ้อน (Complex Simplicity) หรือความซับซ้อนที่เรียบง่าย (Simple Complexity) มาโดยตลอดรึเปล่า

 

นี่เป็นคำถามที่ศิลปินไม่เพียงตั้งต่อคนดู แต่กำลังหาคำตอบให้ตัวเองเช่นกัน

 

 

07

JULI BAKER AND SUMMER

 

Juli Baker and Summer is mostly known for her writing as well as being an artist with colourful paintings, but filled with political notions between the lines. Her works are often portrayed in figurative manner, often of people engaged in various lively postures and activities.

 

After her trip to Japan over the summer, Juli Baker and Summer was able to contemplate the landscape in front of her from various locations - the forms on the trees and the movements of the air that were unfamiliar to her - and made her record those sights with quick strokes of brushes. Some of her sketches from there almost become abstract paintings in one go. 

 

The artworks in Recent Works are like the artist’s “diary of her summer” that she brought back Japan’s warmth, humidity and sometimes stuffiness back to Thailand. It is as though the viewers are invited to sit next to her while she felt the sceneries. 

 

ศิลปิน Juli Baker and Summer มักเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักเขียน และศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานอันประกอบด้วยลวดลายและสีสันอันสดใส แต่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวการขับเคลื่อนทางการเมืองที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดของภาพวาดสไตล์ศิลปะรูปลักษณ์ (figurative painting) ที่มักเน้นบุคคลในท่วงท่าอิริยาบถต่างๆ 

 

แม้จะไม่ค่อยได้วาดภาพทิวทัศน์ แต่ภายหลังจากที่ศิลปินได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อน เธอได้มีเวลาพินิจถึงทิวทัศน์ในธรรมชาติรูปแบบต่างๆ การมองเห็นรูปทรงของต้นไม้ หรือการเคลื่อนไหวของอากาศที่ไม่คุ้นตา ทำให้ศิลปินเกิดแรงบันดาลใจอยากบันทึกภาพที่อยู่ตรงหน้าไว้อย่างรวดเร็ว จนบางครั้งฝีแปรงที่ฉับไวนั้นส่งผลให้ภาพเกือบจะกลายเป็นภาพศิลปะแบบนามธรรมไปเลยทีเดียว ดังเช่น ผลงานในชุดนี้ ที่เป็นป่าที่ Hakone บึงบัวที่ Kyoto ทะเลและดอกไม้ตอนกลางคืนที่ Yokosuka

 

ผลงานใน Recent Works เปรียบได้กับ “บันทึกการเดินทางช่วงฤดูร้อน” ของศิลปิน ที่ได้เก็บเอาความอบอุ่น ความชื้น ความอบอ้าวของฤดูร้อนญี่ปุ่น กลับมาให้ผู้ชมได้ร่วมสัมผัสกับความรู้สึกของเธอ ณ ช่วงเวลานั้น 

 

 

08

JEON GI-OK

In this exhibition, I will showcase art pieces created using Lego and cardboard. Cardboard was introduced in my solo exhibition "Apollo and Daphne," held at SAC Gallery in 2022, and has since remained a material of continued interest. In this new body of work, I have embarked on using Lego for the first time to explore new possibilities.

 

In my previous works, I applied the technique of weaving paper on hanji (traditional Korean paper) and incorporated abstract images using Chinese ink to explore my own identity while focusing on the fusion of Eastern and Western aesthetics. Additionally, I poured ink onto cardboard surfaces, collaged geometric patterns, and employed various materials and techniques within a single frame to express the ambiguous and uncomfortable emotions experienced as an immigrant dwelling within an unfamiliar culture.

 

With this new series, I maintain the themes and techniques of my previous works while capitalizing on the three-dimensional effects inherent in Lego and cardboard. Lego and cardboard are materials commonly used by modern individuals for their practicality, and the fact that they can be stacked to construct structures resembling buildings intrigued me.

 

Lego's small pieces are systematic and precise, allowing for the linear stacking of elements. While assembling three-dimensional blocks using Lego, I observed that many surrounding buildings are characterized by straight lines. This observation resonated with the lives of modern individuals, living within cities defined by vertical and horizontal lines, similar to the artificial cityscapes of Lego.


Contemporary architecture emphasizes both functionality and aesthetics, often valuing the harmony between human-made structures and nature. Despite their simple, linear, and sharp appearance, these buildings incorporate elements of nature such as swaying branches, uneven grass, sunlight, and shadows.

 

A friend who visited Bangkok once remarked that if only the monorail tracks were removed, the city would look even more beautiful. This notion carries the implication that the continuous lines and curves of buildings, prioritizing convenience and speed, to some extent restrict the city's aesthetic appeal. Similarly, the buildings concealed by the monorail tracks are also constructed in a simple and practical form, reminiscent of stacking Lego blocks, which can amplify such a sensation.

 

In contrast to Lego, cardboard's torn surfaces and sides showcase a coexistence of straight lines and curves, forming irregular surfaces. This sense of imperfection and disorder arising from the gaps and voids within these lines and curves struck a chord with me. Contrasting Lego's precise, complete, orderly, and artificial feel, the comparison evokes a sense of balance and naturalness achieved through emptiness—imagining that this space could encapsulate the desired natural environment for contemporary individuals.

 

The deconstructed scene created by tearing and splattering cardboard with ink gives rise to a space that acts as a canvas for exploring questions and narratives about my identity as an immigrant, an artist, and a woman. Through the process of assembling Lego on this space to compose its form, I aim to metaphorically depict the urban landscape of modern life, embracing diversity such as the harmony between artificial and natural elements, imperfection and completeness, order and disorder, construction and deconstruction. This, in turn, allows for the reflection of the lives of each individual, including myself, within the cityscape, presented allegorically.

 

ในนิทรรศการนี้ศิลปินจะนำเสนอผลงานศิลปะที่สร้างด้วยเลโก้และกระดาษแข็ง กระดาษแข็งถูกนำเสนอในนิทรรศการส่วนตัว "Apollo and Daphne" ที่จัดขึ้นที่หอศิลป์ SAC ในปี 2022 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มันก็เป็นวัสดุที่ศิลปินสนใจอย่างต่อเนื่อง และในชุดงานใหม่นี้ เป็นครั้งแรกที่ศิลปินเริ่มต้นการใช้เลโก้เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ

 

ในงานก่อนหน้า ศิลปินใช้เทคนิคการทอกระดาษบนฮันจิ (กระดาษเกาหลีแบบดั้งเดิม) โดยใช้หมึกจีนเพื่อสำรวจตัวตนของศิลปินเอง ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นไปที่การผสมผสานระหว่างสุนทรียภาพแบบตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ การเทหมึกลงบนพื้นผิวกระดาษแข็ง ลวดลายเรขาคณิตที่ต่อกัน และใช้วัสดุและเทคนิคต่างๆ ภายในเฟรมเดียวเพื่อแสดงอารมณ์ที่ไม่ชัดเจนและกระอักกระอ่วนที่ประสบในฐานะผู้อพยพที่อาศัยอยู่ภายในวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย

 

ด้วยซีรีส์ใหม่นี้ ศิลปินยังคงรักษาธีมและเทคนิคจากงานก่อนหน้า พร้อมทั้งใช้ข้อได้เปรียบของเลโก้และกระดาษแข็งในการสร้างเอฟเฟกต์สามมิติ เลโก้และกระดาษแข็งเป็นวัสดุที่คนยุคใหม่นิยมนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และการที่พวกมันสามารถซ้อนกันเป็นชั้นๆ เพื่อสร้างโครงสร้างที่คล้ายกับอาคารได้ ก็เป็นความน่าทึ่งของตัววัสดุเหล่านี้

 

ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของเลโก้มีระบบและความแม่นยำ ทำให้สามารถเรียงลำดับองค์ประกอบในลักษณะของเส้นตรง ในขณะที่ประกอบบล็อคสามมิติด้วยเลโก้ ศิลปินพบว่าอาคารรอบตัวมีคุณสมบัติที่เป็นลักษณะของเส้นตรง สิ่งนี้ตรงกันกับชีวิตของบุคคลสมัยใหม่ที่มีชีวิตในเมืองที่ถูกกำหนดโดยเส้นตรงและแนวนอน คล้ายกับทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นโดยเลโก้

 

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยเน้นทั้งฟังก์ชันและความสวยงาม มักให้ความสำคัญกับความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์และธรรมชาติ แม้ว่ามีลักษณะไม่ซับซ้อนที่เป็นเส้นตรง ลักษณะภายนอกที่คมชัด อาคารเหล่านี้ก็สามารถรวมองค์ประกอบของธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ที่เคลื่อนไหว หญ้าที่สูงไม่เท่ากัน แสงแดด และเงา

 

เพื่อนคนหนึ่งที่เคยมาเยือนกรุงเทพมหานครกล่าวว่า ถ้าลานรถไฟโมโนเรลถูกเอาออก กรุงเทพฯ จะดูสวยงามยิ่งขึ้น ความคิดนี้นำพาไปสู่การคิดที่ว่าเส้นตรงและเส้นโค้งต่อเนื่องของอาคารที่เน้นความสะดวกและความเร็ว เป็นส่วนหนึ่งที่จำกัดความน่าสนใจทางสถาปัตยกรรมของเมือง เช่นเดียวกัน อาคารที่ถูกซ่อนไว้โดยทางรางรถไฟโมโนเรลก็ถูกสร้างในรูปแบบที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ คล้ายกับการสะสมบล็อคเลโก้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่เข้มข้นขึ้น

 

ในทางกลับกันกับเลโก้พื้นผิวของกระดาษแข็งที่ถูกฉีกขาดแสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของเส้นตรงและเส้นโค้ง สร้างพื้นผิวที่ไม่สมมาตร ความไม่สมบูรณ์ และความสับสน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากช่องว่างและช่องโพรงภายในเส้นตรงและเส้นโค้งเหล่านี้ได้กระทบความรู้สึกของศิลปิน ซึ่งขัดแย้งกันกับความแม่นยำและความสมบูรณ์ที่มีในเลโก้ การเปรียบเทียบนี้สร้างความสมดุลและความเป็นธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นผ่านความว่างเปล่า - จินตนาการว่าพื้นที่นี้สามารถครอบคลุมสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่ต้องการสำหรับบุคคลในสมัยปัจจุบันได้

 

กระดาษแข็งที่ฉีกขาดและถูกสาดด้วยน้ำหมึก ทำให้เกิดพื้นที่ที่ทำหน้าที่เป็นผืนผ้าใบสำหรับการสำรวจและตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนของศิลปิน ในฐานะผู้อพยพ ศิลปิน และผู้หญิง ผ่านกระบวนการประกอบบล็อคเลโก้บนพื้นที่นี้ เพื่อสร้างรูปแบบเป็นพื้นผิว ศิลปินมุ่งมั่นที่จะพรรณนาภูมิทัศน์เมืองของชีวิตสมัยใหม่ในเชิงเปรียบเทียบ โดยยอมรับความหลากหลาย เช่น ความกลมกลืนระหว่างองค์ประกอบที่ประดิษฐ์ขึ้นและเป็นธรรมชาติ ความไม่สมบูรณ์และความสมบูรณ์ ความเป็นระเบียบและความยุ่งเหยิง การก่อสร้างและการรื้อโครงสร้าง ในทางกลับกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดภาพสะท้อนชีวิตของแต่ละบุคคล รวมถึงตัวศิลปินเอง ภายในทิวทัศน์ของเมือง ที่นำเสนอในเชิงเปรียบเทียบ

 

 

09

jiratchaya pripwai

 

I spend the whole day in the garden, from the moment I wake up, observing it at various times of the day. This translates into intricate details in the use of colors in our artworks. It's almost like meditating each day. The garden thus serves as a bridge to connect me deeply to nature, allowing me to appreciate the small things, leading to a greater understanding and awareness of the surrounding life.

 

The concept of my art is inspired by the time that I spend in my garden. Each stroke of blue on the canvas is a pathway to a meditative state, a portal to mindfulness and profound contemplation. As I paint, I channel the same mindfulness that guides my gardening practice, allowing the creative process to become a form of meditation, a spiritual journey guided by the rhythm of nature.

 

In our daily lives, we face numerous challenges. My artistic work is akin to an experiment to discover my inner self. For me, it's a journey that continues from previous exhibitions, not knowing where it will lead. Sometimes, artistic techniques may lead me to encounter something different, or life experiences may lead me to something new.

 

เราใช้เวลากับสวนทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนการได้เฝ้ามองสวนในหลายๆ ช่วงเวลาของวันแปลงมาเป็นความละเอียดลออในการใช้สีต่างๆ บนงานศิลปะ กระทั่ง เหมือนการได้ทำสมาธิในแต่ละวันนั้นๆ สวนจึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมให้เข้าถึงธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ให้ชื่นชมสิ่งเล็กๆ ทำให้เข้าใจและเห็นสรรพสิ่งรอบตัวมากขึ้น 

 

คอนเซปต์งานศิลปะของเราได้แรงบันดาลใจจากเวลาที่เราใช้ในสวน แต่ละฝีแปรงสีน้ำเงินบนผืนผ้าใบ เปรียบเป็นหนทางสู่สมาธิ เป็นประตูเชื่อมต่อไปสู่สติและสมาธิ ขณะที่เราวาดภาพ เราก็ใช้การเจริญสติเช่นที่ใช้ตอนทำสวน ทำให้กระบวนการสร้างสรรค์กลายเป็นรูปแบบของการทำสมาธิ เป็นการเดินทางทางจิตวิญญาณซึ่งถูกนำทางด้วยจังหวะของธรรมชาติ

 

ในชีวิตแต่ละวัน เรามีโจทย์มากมาย การทำงานศิลปะของเรา จึงเทียบเท่าการทดลองเพื่อหาสติของตัวเอง สำหรับเรา นี่คือการเดินทางที่เป็นรอยต่อจากนิทรรศการก่อน แค่ยังไม่รู้ว่ามันจะพาไปทางไหน บางทีเทคนิคก็อาจพาเราไปเจออย่างอื่น หรือประสบการณ์ชีวิตก็อาจพาเราไปเจออย่างอื่น 

 

 

10

Aor suthiprapha

 

Breathing with me, I am inside you.

For many years of the COVID-19 disease, humans were afraid of creatures that the naked eye could not see. It is called a germ. Because of how many times I've looked It only creates negative effects on the way of life. Whether it was created by humans or by mutations from another species, These are all difficult questions to summarize. However, over many years, humans have adjusted their way of life, change their attitude for survival. On the way to this change, besides the germs that want to reveal themselves rashly. But if we look more broadly than that, We may be able to see what is hidden with our own eyes trying to reveal itself.

My interest during that time was to try to see the changes within myself that were affected by the news and environment around me. After the Covid period, It's not just about being careful about health, But there are also other economic factors. There are many things that move us to respond in ways that sometimes leave us shocked by our own decisions.

 

Another Half

Half of that may or may not exist. Many times I try to look for things that fill me up. Just because I thought it would create a more complete picture. It could have been prettier, better than this.

Living up to middle age, thinking when young has changed. What was called half transformed into what was seen as such. It's been like that from the beginning. Never being the other half of anything, Never belonging to anyone, It's free like that.

 

Breathing with me, I am inside you.

ช่วงเวลาหลายปีของโรคโควิด 19 ที่มนุษย์ต่างหวั่นกลัวจากสิ่งมีชีวิตที่ตาเปล่ามองไม่เห็น มันถูกเรียกว่าเชื้อโรค เพราะมองกี่ที มันก็สร้างแต่ผลลบกับวิถีชีวิต ไม่ว่ามันจะถูกสร้างจากน้ำมือ คนด้วยกันเองหรือเกิดจากเชื้อกลายพันธุ์จาากสิ่งมีชีวิตอีกสปีชี่ย์ ล้วนเป็นคำถามที่ยากจะสรุป หากแต่ว่าผ่านมากหลายปี มนุษย์ได้ปรับการดำรงชีพ เปลี่ยนทัศนคติเพื่อการอยู่รอด แต่ระหว่างทางของการเปลี่ยนแปลงนี้สิ นอกจากเชื้อโรคที่เผยตัวเองออกมาอยากอุอาจ แต่มองให้กว้างไปกว่านั้น เราอาจจะไดเ้ห็นสิ่งที่รอดเร้นตาเปล่าของตัวเองพยายามจะเผยตัวเองออกมาก็เป็นได้

ความสนใจในช่วงนั้นคือ พยายามเห็นการเปลี่ยนแปลงข้างในตัวเองที่ส่งผลจากข่าวสาร และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว พ้นช่วงโควิดมา ไม่ใช่เพียงความระวังเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ยังมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ และอีกหลายอย่าง ที่กระตุ้นใหเ้ราตอบสนองในแบบที่บางครั้งเราก็ตกใจกับการตัดสินใจของตัวเราเอง

 

Another Half

ครึ่งนึงของสิ่งนั้น อาจจะมีอยู่ หรืออาจจะไม่อยู่ หลายครั้งที่พยายามมองหาสิ่งที่เติมตัวเองให้เต็ม เพียเพราะคิดว่า มันจะเกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์ขึ้นได้ มันน่าจะสวยกว่า ดีกว่านี่สิ ใช้ชีวิตมาจนถึงวัยกลางคน ความคิดเมื่อยังวัยเยาว์ได้เปลี่ยนไป สิ่งที่ถูกเรียกว่าครึ่งเดียว เปลี่ยนเป็นของที่เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นของมันมาแบบนั้นตั้งแต่ต้น ไม่เคยเป็นอีกครึ่งของอะไร ไม่เคยเป็นของของใคร เป็นอิสระอยู่แบบนั้น

 

 

11

VIPOO SRIVILASA

 

 

Vipoo Srivilasa is a Thai born, Melbourne-based artist known for his distinct aesthetics breathed into his ceramics sculptures. Srivilasa often incorporates elements of Thai culture into many projects that he embarks upon. In recent years, he looks towards Thai literature and folk tales for his source of inspiration. 

 

In the piece Room for Spirit and Time (2022), one of Srivilasa’s unusually large scale sculpture works, he explores the idea of youthfulness and immortality - themes often explored in many tales, great or small. While the original source story involved an evil king deceived into leaping into a bonfire in pursuit of regained youth, Srivilasa takes a more contemplative path. He offers a spiritual approach through meditation as a means to soothe the mind and rejuvenate the soul.

 

Despite drawing upon Thai literature for his recent works, Srivilasa's series provides viewers with a unique window into how Thai morals, values, and society have evolved over centuries. Beyond the narrative context of these literary inspirations, Srivilasa remains committed to addressing contemporary issues such as gender identity, queerness, and multicultural dialogue through his art.

 

วิภู ศรีวิลาศ ศิลปินไทยซึ่งพำนักอยู่ที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงเป็นที่จดจำด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นผ่านงานประติมากรรมเซรามิค ศิลปินมักใช้เค้าโครงของวัฒนธรรมไทยในหลากหลายโครงการศิลปินที่ได้ดำเนินการ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา วิภูมีความสนใจในวรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านของไทย 

 

ยกตัวอย่างเช่นผลงานชุด Room for Spirit and Time (2022) ซึ่งเป็นผลงานขนาดใหญ่พิเศษซึ่งมักไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจากวิภู ศิลปินนำเสนอเรื่องราวการค้นหาความเยาว์วัยและความเป็นอมตะ ซึ่งเป็นอรรถบทที่มักจะถูกกล่าวถึงในนิทานและวรรณกรรมต่างๆอยู่เสมอ แม้ในเรื่องราวของหลวิชัยคาวี ท้าวสันนุราชจะกระโดดลงกองไฟเพื่อหวังชุบตัวให้กลับมาเป็นหนุ่มอีกครั้ง ในผลงานของวิภู ศิลปินนำเสนอห้องขนาดกระทัดรัดที่เป็นพื้นที่เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าไปทำสมาธิเพื่อชะลอวัยผ่านการผ่อนคลายทางจิตใจและทางกลิ่นสัมผัสแทน 

 

ถึงแม้ว่าผลงานในช่วงที่ผ่านมาของวิภู ศรีวิลาศจะมีภูมิหลังมาจากวรรณกรรม แต่แท้จริงแล้วงานของวิภูเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างเพื่อให้เราได้สำรวจวิพากษ์วิเคราะห์ขนบ ธรรมเนียม คุณค่า และศีลธรรมของสังคมไทยตลอดช่วงเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ผ่านการเชื่อมโยงถึงปัญหาในสังคมร่วมสมัย อาทิเช่น เพศสภาพ วัฒนธรรมเควียร์ (queer) รวมไปถึงการถกถึงพหุวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์อีกด้วย 

 

 

12

THANATHORN SUPPAKIJJUMNONG

 

A popular Thai word of encouragement “Su Su” (Fighting) is a word that Thai people often use to encourage each other in everyday life, in every difficult situation. It is such a small word with great power - Small but Mighty

 

Thai people always encourage each other in every situation. The four artworks in this series were inspired by the unfavorable situation from the time when we had to deal with the recent epidemic. But for the works being developed in the next series, there will be more variety of many different situations.

 

The meaning of the colours used in the works:

White = light, hope, safe space

Red = love and danger at the same time

Black = darkness, dreadful situation

 

Thanathorn is interested in Text Art, using text or words to create works of art. 

There are 3 series in continuous development. Series 1 – “Typewriter”, which was exhibited in 2018. And the 3rd series – "Life Like Light", the artist will talk about the impact of using digital media through the concept that we live (Life) on the trend (Like) to seek light (Light) in the online world.

 

The 2nd series, which is the work exhibited this time, is the "Su Su" series. The artworks are inspired by the words Su Su, which is a popular phrase that Thai people use to encourage each other in everyday life. The words Su Su, even though small and very simple, are full of good wishes to encourage everyone. The phrase ‘Su Su’ generates such immense power and encouragement. In this series, we can see the change in the technique, the tone is brighter, but still using letters to communicate. The change in this series is the experimentation of new techniques that can respond to feelings and no limitation in creativity.


For example, in the Bubbly Feelings, the text is inflated. It is like adding energy (inflated with air) into the letter, which causes a feeling of euphoria. At first, the word Su Su may not be visible. When looking at the overall picture, you may see a vision – depending on the imagination of each person. Some people see it as popcorn. Some people see a field of flowers. Some see rabbits. But upon careful inspection, the words will appear and give a positive feeling. The artist intends to develop this series further due to the fact that everybody needs encouragement. Thanathorn is enthusiastic about the notion that small words possess great power - Small but Mighty

 

การให้กำลังใจจากคำพูดยอดนิยม ซึ่งเป็นสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว โดยใช้คำพูด “สู้ๆ” ซึ่งเป็นคำพูดที่คนไทยมักใช้พูดเพื่อให้กำลังใจกันในชีวิตประจำวัน เป็นคำพูดเล็กๆ ที่มีพลังยิ่งใหญ่ - Small but Mighty

 

คนไทยเราให้กำลังใจกันเสมอในทุกสถานการณ์ สำหรับงานสี่ชิ้นในชุดนี้ เกิดจากสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากช่วงที่มนุษย์เราต้องผจญกับโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่สำหรับงานที่กำลังพัฒนาในชุดต่อๆ ไป จะมีความหลากหลายของสถานการณ์มากยิ่งขึ้น

 

ความหมายของสีที่ใช้ในผลงาน

สีขาว = แสงสว่าง ความหวัง พื้นที่ปลอดภัย

สีแดง = ความรัก และอันตรายในเวลาเดียวกัน 

สีดำ= ความมืดมิด สถานการณ์ที่เลวร้าย

 

ธนธรมีความสนใจในเรื่องของ Text Art การนำข้อความหรือคำพูดมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยมีผลงานภายใต้แนวความคิดที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 – “พิมพ์ดีด” ได้จัดแสดงไปเมื่อปี ค.ศ. 2018

และผลงานชุดที่ 3 – "Life Like Light" จะพูดถึงผลกระทบในการใช้สื่อดิจิทัล ผ่านแนวความคิดว่า เราใช้ชีวิต (Life) อยู่บนกระแสความชอบ (Like) เพื่อแสวงหาแสงสว่าง(Light) ในชีวิตบนโลกออนไลน์

 

ชุดที่ 2 ซึ่งเป็นผลงานจัดแสดงในครั้งนี้ คือ งานชุด “สู้ๆ” เป็นแนวความคิดที่อยากจะให้กำลังใจทุกคน จากคำพูดสั้นๆ หรือสิ่งเล็กๆ และเป็นสิ่งใกล้ตัวที่สร้างพลังและกำลังใจอย่างมหาศาล โดยเลือกใช้คำพูด "สู้ ๆ" ซึ่งเป็นคำพูดยอดนิยมที่คนไทยใช้ให้กำลังใจกันในชีวิตประจำวัน โดยเปลี่ยนเทคนิคให้มีความสดใสมากขึ้น แต่ยังคงใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงของงานชุดนี้คือการได้ทดลองเทคนิคใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความรู้สึก และไม่มีข้อจำกัดในการสร้างสรรค์งาน


ตัวอย่างเช่น ในงานชุด Bubbly Feelings ตัวหนังสือมีความพองลม เป็นเหมือนการเติมพลัง (เติมลม) เข้าไปในตัวอักษร ทำซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอิบใจ ซึ่งตัวหนังสือ สู้ๆ นี้ เมื่อมองภาพรวม อาจทำให้เห็นจินตภาพ แล้วแต่จินตนาการของแต่ละบุคคล บางคนก็มองเห็นเป็นป๊อปคอร์น บางคนมองเห็นทุ่งดอกไม้ บางคนมองเป็นกระต่าย ในครั้งแรกอาจมองไม่เห็นคำว่า สู้ๆ แต่เมื่อพิจารณาให้ดี คำจึงจะปรากฏ และให้ความรู้สึกในทางบวก ศิลปินมีความตั้งใจที่จะพัฒนางานชุดนี้ต่อไป เนื่องจากใครๆ ก็ต้องการกำลังใจกันทั้งนั้น และคำนี้ก็ใช้ได้ทุกสถานการณ์ ภายใต้แนวความคิดว่า คำพูดเล็กๆ ที่มีพลังที่ยิ่งใหญ่ - Small but Mighty

 

 

13

trevor foster

 

Presenting four distinct pieces in an upcoming group show, I reveal the evolution of my recent work. The first two pieces emerged from my immersion in overglaze painting under the tutelage of master painter Tsang Lang in Jingdezhen, China. These porcelain interpretations elevate my commercial skull cup designs. Also hailing from Jingdezhen, the second piece, a small high-fire porcelain jar, became a canvas for experimenting with underglaze cobalt and overglaze techniques.

 

The third piece is an intricately hand-knotted wool Tibetan meditation rug, a reimagining of my previous themes, yet rooted in my exploration of cultural narratives. This laboriously crafted hand-knotted piece features a Sokushinbutsu scene—an embodiment of transcendence—depicting a serene skeleton in the lotus position. This juxtaposition of mortality and meditation encapsulates the intersection of life and contemplation, a theme that has woven throughout my earlier artworks. 

 

The second piece—a vase that exemplifies a harmonious fusion of historical Chinese artistry with contemporary elements. Inspired by the imperial blue and white style, I've painted a bat, a symbol of good fortune, near Wuhan, an acknowledgment of our interconnected world. The moonflask shape further harks back to classic Chinese porcelain while integrating a modern theme. These two latest pieces aim to reflect on a journey of pushing boundaries, bridging cultures, and celebrate the intricate interplay between life, spirituality, and our shared human experience.

 

ในนิทรรศการกลุ่มนี้ ชิ้นงานศิลปะหน้าตาแตกต่างกันทั้งสี่ชิ้น จะแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในผลงานล่าสุดของผม งานสองชิ้นแรกเกิดขึ้นจากการได้ไปฝากตัวเรียน Overglazed Painting กับจิตรกรชั้นครูชาวจีน Tsang Lang ที่จิ่งเต๋อเจิ้น (Jingdezhen) ประเทศจีน ซึ่งการได้ทำความเข้าใจเครื่องเคลือบเหล่านี้ก็ช่วยเพิ่มคุณภาพให้งานออกแบบแบรนด์ถ้วยหัวกะโหลกของผมด้วย อีกชิ้นที่มาพร้อมกันจากจิ่งเต๋อเจิ้นคือ กระปุกดินเผาขนาดเล็กเผาไฟแรงสูง ซึ่งกลับกลายเป็นเหมือนผืนผ้าใบให้ผมได้ทดลองเทคนิค Underglaze Cobalt และ Overglaze

 

งานชิ้นที่สาม พรมนั่งสมาธิทิเบตขนสัตว์ถักมือ เป็นการมองงานชุดก่อนใหม่ แต่ยังคงไว้ด้วยรากฐานในการสำรวจเรื่องราวทางวัฒนธรรม ชิ้นงานหัตถกรรมที่พึ่งความอุตสาหะนี้แสดงให้เห็นการบำเพ็ญเพียรรูปแบบหนึ่งของพระญี่ปุ่นจนมรณภาพและร่างกลายเป็นมัมมี่ หรือการทำมัมมี่ตัวเอง (Sokushinbutsu) อันเป็นภาวะที่พ้นจากโลกียวิสัย ด้วยภาพโครงกระดูกที่ดูสงบสุขในท่าดอกบัว (ปัทมาสนะ) 

 

การจัดวางความตายกับการเข้าฌานไว้ด้วยกัน ช่วยสรุปให้เห็นจุดที่ชีวิตและการเข้าฌานมาบรรจบกัน เป็นธีมที่มีมาตลอดในงานศิลปะที่ผ่านมาของผม ชิ้นที่สี่ แจกันซึ่งเป็นตัวอย่างของการผสมผสานอย่างลงตัวของศิลปะจีนโบราณกับองค์ประกอบร่วมสมัย ได้แรงบันดาลใจจากสไตล์ Imperial Blue and White ผมวาดรูปค้างคาว สัญลักษณ์ของความโชคดี ตอนอยู่ไม่ไกลจากอู่ฮั่น เป็นการรับรู้ถึงโลกที่เชื่อมโยงกันของเรา รูปทรงจันทราของแจกันชวนให้นึกถึงเครื่องเคลือบเซรามิกสีน้ำเงินและขาวสไตล์จีนดั้งเดิม ขณะที่ก็ผสมผสานความสมัยใหม่เข้าไปด้วย 

 

ชิ้นงานสองชิ้นสุดท้ายนี้มีเป้าหมายเพื่อสะท้อนการเดินทางในการขยายขอบเขตการสร้างงานศิลปะ การเชื่อมระหว่างวัฒนธรรม และการเฉลิมฉลองความเกี่ยวข้องอันซับซ้อนระหว่างชีวิต จิตวิญญาณ และประสบการณ์มนุษย์ที่เราแบ่งปันกัน

 

 

14

PICHAI PONGSASAOVAPARK

 

Through a process of capturing carbon fumes from exhaust pipes, from the Poison Flowers series until Poison Flowers Redux, the works reflected an understanding of the pain felt by people who inhale small carbon particles greater than 2.5 microns. 

 

In Poison Flowers Redux, Pichai presented a trompe l'oeil to create a surface similar to the Japanese byobu partition that was made of several interlocking panels with decorative paintings. The byobu is believed to have originated during the Chinese Han Dynasty and exported to Japan during the 7th or 8th century.

 

The function of a byobu partition is to hide the sight between one space and another space for privacy, so that the space cannot be seen by others. The same is true for air pollution that is hidden in the air. We cannot see it with the naked eye, and it is as if you and the pollution are in different spaces. However, you and the pollution are actually in the same space, separated by a byobu partition, which is only a space barrier and not a real barrier.

 

Pichai believes that recording aesthetics on the byobu partition allows us to learn to expand the boundaries of art and reference the cultural aesthetics of another country or artistic tradition. While this is sometimes referred to negatively as “copy culture” or “cultural appropriation”, he sees it as more about the culture of industrial expansion where a country often copies another country until it’s the source of pollution all over the world.

 

โดยผ่านกระบวนการดักจับควันคาร์บอนมอนนอกไซด์จากท่อไอเสีย ตั้งแต่ชุดงาน “Poison Flowers” กระทั่งถึง“Poison Flowers Redux” ผลงานที่ศิลปินสร้างขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจถึงความเจ็บปวดที่ผู้คนหายใจเอาอนุภาคคาร์บอนขนาดเล็กที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมครอนเข้าไป

 

ใน “Poison Flowers Redux” พิชัยได้นำเสนอ trompe l'oeil - จิตรกรรมลวงตา เพื่อสร้างพื้นผิวที่คล้ายกับฉากกั้น เบียโอบุ (byobu) ของญี่ปุ่น ซึ่งทำจากแผ่นวัสดุหลายแผ่นที่เชื่อมต่อกัน พร้อมภาพวาดตกแต่ง เชื่อกันว่า เบียโอบุ มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน และส่งออกไปยังญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 7 หรือ 8

 

ประโยชน์ใช้งานของ เบียโอบุ ช่วยซ่อนการมองเห็นระหว่างพื้นที่หนึ่งกับอีกพื้นที่หนึ่งเพื่อความเป็นส่วนตัว เพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นพื้นที่นั้นได้ เช่นเดียวกันกับมลพิษทางอากาศที่ซ่อนอยู่ในอากาศ เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เหมือนกับว่ามนุษย์และมลภาวะอยู่คนละที่กัน  อย่างไรก็ตาม ตัวเราและมลพิษนั้น จริงๆ แล้วอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยคั่นด้วยฉากกั้น เบียโอบุ ซึ่งเป็นเพียงกำแพงอากาศ ไม่ใช่ฉากกั้นที่แท้จริง

 

พิชัยเชื่อว่าการบันทึกสุนทรียภาพบนฉากกั้น เบียโอบุ ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะขยายขอบเขตของศิลปะ  และอ้างอิงถึงสุนทรียภาพทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นหรือประเพณีทางศิลปะอื่นๆ แม้ว่าบางครั้งเราจะเรียกสิ่งนี้ในเชิงลบว่า "วัฒนธรรมการลอกเลียนแบบ" หรือ "การจัดสรรวัฒนธรรม" แต่พิชัยกลับมองว่ามันเป็นวัฒนธรรมของการขยายตัวทางอุตสาหกรรมมากกว่า ซึ่งแต่ละประเทศมักจะลอกเลียนแบบประเทศอื่น จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษไปทั่วโลก

 

 

15

phannapast taychamaythakool

 

Born as a Boy, Girl at heart (2023)

 

"Born as a Boy, Girl at Heart" perfectly captures my journey.

Have you ever felt like your existence doesn't align with your true identity?

Society's expectations can confine us, but I've broken free from that cage.

For years, I yearned to express my femininity, to wear skirts and have flowing locks. 

Societal paths limit the perception of who you are and the imagination of you can become. 

Yet, society's narrow view of transgender individuals portrayed only one path to fulfillment.

 

But what if I wanted to explore my own unique way?

 

I’ve learned that there is always room for improvement and that perfection doesn’t define the worthiness of love and acceptance. It’s the journey of self-discovery that matters. So, I made a choice to embrace who I truly am, without hesitation. I’m still learning and growing every day

 

I painted a picture of my desires and aspirations with a true palette, showing the world my authentic self

 

On Tinder, I describe myself as "Born as a Boy, Girl at heart." This platform became my starting point, allowing me to engage in authentic conversations with authentic individuals, holding diverse opinions and preferences.

 

This allowed me to break free from the confines of limited thinking, leading to my liberation at the age of 30.

 

Now, six years have swiftly passed, but "Born as a Boy, Girl at Heart" remains a powerful declaration of my authentic self.

 

I am your Lucky Star (2022)

 

When I look up at the sky

It is like all the stars were nearby 

 

I always make the sweetest wishes

To bring me the greatest blissfulness 

 

I know I can't just wait and let it be

So I work as hard as the soldier bees 

 

How to get the key for the crown,

If my feet are still sinking into the ground? 

 

My eyes catch the moon for hours and hours

I fly fastly through the cloud round and round 

 

I feel like we are trapped in a bowl

I can wish for the moon, but I can't go

It seems like when the sun melts, the snow

It's nothing at the end of the show 

 

All the causes lead to the effects 

All the dreams and life connected

Break the bowl with our consciousness

Let our soul fly free through the darkness. 

 

... I follow my lucky star...

..you follow your lucky star...

...We all have our own lucky stars..

 

The Endless Swimming Pool (2022)


"Who looks outside, dreams; who looks inside, awakes." - Carl Jung

About the author

SAC Gallery

Add a comment