The Unexpected Visitors: A Look Inside Giacomo De Pass' Unconventional World Where Disney Meets Ganesha

Article : Phafan Nokaeo Photo : Marisa Srijunpleang
March 28, 2024
The Unexpected Visitors: A Look Inside Giacomo De Pass' Unconventional World Where Disney Meets Ganesha

(English is below)

 

ผ้าใบสีขาวสามารถสะท้อนพลังและความคิดที่ไร้ขอบเขต ตามแต่ศิลปินจะรังสรรค์ บางคนเป็นสถานที่แสดงตัวตน จุดยืน สำนึกคิด บางคนเป็นที่หลีกหนีจากโลกแห่งความจริง หรือบางคนเป็นสถานที่คงไว้ซึ่งความทรงจำ

 

 

ผลงานศิลปะของ จีอาโกโม เดอ ปาซซ์ ในนิทรรศการล่าสุด “The Visitors” คล้ายจะทำงานในหลายรูปแบบ นอกจากเป็นบันทึกการเดินทาง ความทรงจำที่เขามีต่อประเทศไทยแล้ว งานศิลปะเหล่านี้ยังสะท้อนความนึกคิด ตัวตน แง่มุมที่ทรงพลังและไร้ขอบเขตของเขาได้เป็นอย่างดี 

 

อย่างที่เขาอธิบายกับเราว่า ผลงานศิลปะที่ปรากฎในนิทรรศการนี้ เป็นการเยี่ยมเยียนของเทพในโลกตะวันออกอย่างพระพิฆเนศ และตัวละครจากโลกตะวันตกอย่าง Donald Duck ที่มาเดินเล่นด้วยกันบนผืนผ้าใบ ดังชื่อนิทรรศการที่มีความหมายว่า “แขกผู้มาเยือน”

 

เอส เอ ซี แกลเลอรี ชวนรู้จักจิตรกรและประติมากรอายุ 85 ปี ตำนานแห่งปารีสผู้โลดแล่นอยู่ในวงการศิลปะมากว่า 70 ปี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการทำงานศิลปะ ไปจนถึงแนวคิด งานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประเทศไทย ที่เขากล่าวว่ามีเป้าหมายบอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทย สู่สายตาทั่วโลกผ่านงานศิลปะของเขา

 

จุดเริ่มต้นของศิลปินจีอาโกโม เดอ ปาซซ์ หน้าตาเป็นยังไง

 

ศิลปะเป็นความต้องการ เป็นสัญชาตญาณของผม เป็นนิสัยที่เริ่มและติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ผมเริ่มวาดรูปลงในสมุดเรียนและสมุดวาดภาพ แค่รู้สึกว่าต้องการวาดรูป เหมือนกับว่าการวาดคือทุกอย่างในชีวิต จนวันนี้กลายเป็นสิ่งที่ผมขาดไม่ได้

 

ศิลปะเหมือนการบำบัดที่ผมปลดปล่อยตัวเองได้ เป็นสิ่งรักษาสมดุลในชีวิต ผมไม่ได้ระบายสีในฐานะศิลปิน แต่ผมสร้างงานศิลปะเพราะความต้องการส่วนตัว บางครั้งผมแค่อยากระบายสี เพราะอยากหลีกหนีจากโลกที่น่ากลัว 

 

โลกที่น่ากลัวนั้นคืออะไร ช่วยเล่าถึงโลกศิลปะปารีสในยุค 60 - 70 ให้เราฟังหน่อยได้มั้ย

 

ยุคนั้นมีคนจ่ายเงินให้ผมวาดรูป ตอนนั้นผมยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตผมขาดศิลปะไม่ได้ ช่วงแรกที่มีคนมาชื่นชมผลงาน ผมก็ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร เนื่องจากมันไม่ได้วิเศษ แต่จู่ๆ ผมก็ประสบความสำเร็จ มีคนชวนไปจัดแสดงงานศิลปะในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก 

ตอนนั้นผมยังหนุ่มๆ อยู่เลย ได้พบปะศิลปินหลายคนตามแกลเลอรี จัดแสดงงานศิลปะที่เดียวกับ Pablo Picasso ได้เซ็นสัญญากับอาร์ตแกลเลอรีที่มีชื่อเสียง

 

ก็ฟังดูเป็นความสำเร็จที่ศิลปินหลายคนฝันหา

 

แต่งานของผมเริ่มกลายเป็นสินค้า เป็นเรื่องของธุรกิจ ซึ่งมันขัดกับตัวผมมาก

เพราะสำหรับผม งานศิลปะเป็นความต้องการแสดงออกอะไรสักอย่าง ผมเลยรู้สึกไม่ชอบ และมองว่าการประสบผลสำเร็จไม่ใช่เรื่องดี เป็นสิ่งอันตราย ไม่ใช่ของขวัญ 

ความสำเร็จทำลายความเป็นศิลปินของเราลงได้

 

นี่คือเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจออกมาเป็นศิลปินไร้สังกัด?

 

ใช่ ตอนนั้นผมเซ็นสัญญากับแกลเลอรีมีชื่อเสียงอย่าง Galerie Félix Vercel และ Madison Gallery ที่นิวยอร์ก ผมอยู่กับพวกเขามา 20 ปี สิ่งที่พวกเขาบอกผมอยู่เสมอคือ เขาขายภาพของผมไปหมดแล้ว และอยากได้ภาพแบบเดิมเพิ่ม 

 

ปัญหาคือผมไม่รู้ว่าจะทำภาพแบบเดิมได้ยังไง ผมทำไม่ได้ เพราะผมวาดรูปตามอารมณ์ ตามความรู้สึกของตัวเอง เช่นเวลาผมรู้สึกดีก็จะวาดภาพที่มีความสวยงาม วาดภาพดอกไม้ วาดเกี่ยวกับเด็ก เพราะตอนนั้นผมเพิ่งมีลูก หรืออย่างตอนผมเศร้าก็ไม่สามารถวาดภาพดอกไม้ได้ จะบอกให้วาดรูปสวยงามก็ทำไม่ได้ 

 

แต่ผมไม่สามารถวาดภาพเหล่านี้ไปได้ตลอดชีวิต  ผมเลยตัดสินใจเลิกทำงานกับพวกเขา 

 

การเอาตัวเองออกจากวงโคจรนั้น ทำให้คุณเสียอะไรไปหรือได้อะไรคืนกลับมาบ้าง

 

นั่นคือช่วงเวลาที่เปลี่ยนชีวิตและทำให้ผมกลายเป็นผมในทุกวันนี้ กลายเป็นศิลปินชายขอบ ไม่เป็นศิลปินในสังกัดแกลเลอรี แต่ผมก็ยังจัดแสดงงานตามพิพิธภัณฑ์ ตามแกลเลอรีอยู่เรื่อยๆ แค่ไม่มีสัญญา ผมเป็นศิลปินอิสระที่ไม่มีใครมาบอกให้ทำนู่นทำนี่ เพราะพวกเขามองว่ามันสวย ผมจะวาดแค่สิ่งที่อยากวาด นี่คือจุดเปลี่ยนของผมในโลกทุนนิยมและการเก็งกำไรจากงานศิลปะ

 

แล้วอะไรไปสะกิดใจให้คุณสร้างงานในนิทรรศการล่าสุด “The Visitors” 

 

มันเหมือนรักแรกพบระหว่างที่ผมอยู่ประเทศไทย ผมมาเมืองไทยครั้งแรกประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว เพราะหลานที่อยู่ที่นี่ชวนมาเที่ยว 

 

ตอนมาถึงผมชอบและถูกจริตกับประเทศไทยมาก เพราะรู้สึกว่าที่นี่มีความเป็นมนุษย์ มีความละเอียดอ่อนทางจิตใจ ประกอบกับผู้คนที่อ่อนโยนเป็นมิตร พอได้ฟังเรื่องราวของเทพที่อยู่ร่วมกับศิลปะ ก็ยิ่งทำให้ชอบขึ้นไปอีก พร้อมๆ กับความประทับใจในวัฒนธรรมไทย ท้ายที่สุดผมก็รู้สึกว่าตัวเองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนี้

 

กำลังอยากรู้เลยว่า คุณไปรู้จักตำนานต่างๆ ของไทยได้ยังไงกัน

 

ช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่ผมเดินทางไปวัดหลายที่ แถมยังตักบาตรทำบุญตอนเช้าตลอด และพูดคุยกับชาวบ้าน คนในท้องที่ แล้วผมมีสร้อยพระที่เพื่อนให้ไว้เป็นของขวัญด้วยนะ 

ผมมองว่ามันไม่ใช่แค่ของขวัญจากเพื่อน แต่คือของขวัญจากเมืองไทย 

 

การท่องเที่ยวซึมซับศิลปวัฒนธรรมและมุขปาฐะท้องถิ่น มันกลายมาเป็นงานศิลปะของ “The Visitors” ยังไงบ้าง

 

หากลองมองแต่ละภาพนี้ให้ดี คุณจะเห็นพวกเขา เหล่า Visitors ของผม 

 

มีตัวการ์ตูนจากตะวันตกของ Walt Disney อย่าง Donald Duck พร้อมกับมีพระพิฆเนศเปล่งรัศมีอยู่ และบางรูปก็มีตัวผมปรากฏอยู่ด้วย 

 

ดังนั้น ในงานแต่ละชิ้นจะมีอะไรซ่อนอยู่เสมอ แต่ละภาพมีเรื่องราวต่างกันออกไป ซึ่งผมจะไม่ให้ความหมายหรือให้นิยาม แต่จะปล่อยให้ผู้ชมได้ตีความ เพราะทุกคนมีเรื่องราวเป็นของตัวเอง

 

วิธีการทำงานของจีอาโกโม เดอ ปาซซ์ เป็นยังไง 

 

หากให้อธิบายวิธีการทำงานของผมอาจจะยากนิดหน่อย เพราะขณะที่ผมหยิบพู่กันขึ้นมา กางขาตั้งผ้าใบวาดรูป หลังจากนั้นผมก็ไม่รู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่าจะมีอะไรดลใจให้วาดรูปออกมาบ้าง เช่นผมอยากลงสีน้ำเงินตรงนี้ผมก็ลง อยากวาดรูปเต่า กบ หนู หรืองูตรงไหนผมก็วาด กระบวนการสร้างงานศิลปะจะเป็นแบบนี้ไปตลอด เป็นไปตามสิ่งที่ดลใจ 

 

ผมไม่มีภาพในหัว ไม่ได้มองเห็นหรือคิดอะไรมาล่วงหน้า ผืนผ้าใบสีขาวเป็นสีที่สวยที่สุดแล้วสำหรับผม จากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการสร้างร่องรอย เป็นเพียงการเยี่ยมเยียนบนผืนผ้าใบนี้ นิทรรศการครั้งนี้จึงมีชื่อว่า “The Visitors” ไม่ว่าจะเป็นเทพในโลกตะวันออก หรือตัวละครจากโลกตะวันตกที่มาพบและเยี่ยมเยียน มาเดินเล่นบนผ้าใบผืนนี้

 

ยากไหมกับการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ที่คุณบอกว่าต่างจากผลงานศิลปะที่ผ่านมา

 

อุปสรรคคือสิ่งที่กระทบกับความรู้สึกผม ถ้าช่วงไหนชีวิตมีปัญหา หรือเจอสิ่งที่กระทบอารมณ์ สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงผลงานศิลปะของผมไปเลย เช่นเวลาผมโกรธงานก็จะแสดงออกมาอีกแบบ หากผมอารมณ์ดีงานก็จะแสดงออกมาอีกแบบ 

 

อย่างที่ผมบอกไป ผมไม่มีภาพในหัวมาก่อน ดังนั้น จึงไม่เห็นผลงานของตัวเองในตอนสุดท้าย 

ความยากอีกอย่าง คือการบอกให้ตัวเองหยุดวาด เพราะภาพมันเรียกหาเราอยู่เสมอ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วภาพจะบอกเราเองว่าต้องหยุด ภาพจะไม่อยากให้เรายุ่งกับมันอีก 

 

ผมตื่นมาเพื่อทำงานเท่านั้น เมื่อทำเสร็จก็ต้องปล่อยงานไป งานศิลปะของผมคล้ายกับการเลี้ยงลูกและรายล้อมไปด้วยเด็ก คุณต้องสอนให้ลูกๆ ออกไปใช้ชีวิตของตัวเอง เขาไม่สามารถอยู่กับเราได้ตลอดเวลา 

 

คุณใช้เวลาทำงานศิลปะในนิทรรศการครั้งนี้นานเท่าไร

 

ประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ไม่นานเลยใช่ไหม ทำงานเสร็จ พอมีคนชวนมาจัดแสดง ผมก็ตอบตกลงทันที มันเลยไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ดังนั้น มันจึงเหมือนเป็นลมหายใจของผม และจัดแสดงครั้งแรกในประเทศไทย

 

มันอาจฟังดูเชย แต่รู้สึกยังไงบ้างกับการจัดแสดงผลงานครั้งแรกที่ประเทศไทย

 

ผมรู้สึกยินดีมากกับการเปลี่ยนแปลงในงานศิลปะของผม ซึ่งคนที่ผมจะแลกเปลี่ยนได้มากที่สุดคือคนไทย หลังจากนี้ผมมีแผนจะไปจัดแสดงที่ตะวันตกเพื่อชวนคนมาเที่ยวประเทศไทย มาดูเหล่าเทพต่างๆ ว่ามีความน่าสนใจมากแค่ไหน ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนมุมมอง 

 

นี่คือสาเหตุที่ผมสร้างผลงานเหล่านี้ออกมา เพราะอยากชวนชาวตะวันตกที่ไม่รู้จักเมืองไทยมาเที่ยวที่นี่ ให้เกิดความเข้าใจในประเทศไทยและเอเชียมากขึ้น

 

เราถามคุณมาเยอะแล้ว มีอะไรที่คุณอยากพูดถึงงานตัวเองมั้ย

 

หากให้ผมพูดอะไรถึงนิทรรศการครั้งนี้ ก็คงไม่มีอะไรมากกว่า ขอบคุณทุกสิ่งที่เมืองไทยมอบให้ ทั้งจิตวิญญาณ ความรู้สึก วัฒนธรรมล้ำลึก ทำให้ผมได้มีพลังสร้างสรรค์ผลงาน และทุกอย่างปรากฏอยู่บนรูปภาพของผม แม้ว่าผมจะไม่รู้ว่าผลงานศิลปะชิ้นต่อไปจะมีหน้าตาเป็นยังไงก็ตาม แต่แน่นอนว่าจะมีแสงสว่างของประเทศไทยซ่อนอยู่ในนั้นเสมอ

 

__________

 

The white canvas can reflect boundless power and explode with creativity, as the artist creates. For some, art is a place to express identity, standpoints, and reflections. For some artists, art is an escape from the reality of the world. For some, art is a place for cherished memories.
 
The artwork of Giacomo de Pass in the latest solo exhibition “The Visitors” can reflect many angles. Apart from documenting his travels and memories of Thailand, it effectively mirrors his thoughts and boundless perspectives.
 
As de Pass said, The artworks presented in this exhibition are described as a visitation of god from the Eastern world like Ganesha, as well as characters from the Western world such as Donald Duck, who come together to walk on a canvas, as the name of the exhibition “The Visitors”.
 
SAC Gallery invites you to acquaint yourself with the legendary Parisian painter and sculptor, aged 85, who has been a prominent figure in the art world for over 70 years. Discover his artistic career, how he develops his conceptual art, and explore his latest solo exhibition inspired by Thailand that he aims to share the stories of Thailand with the world through his artworks.
 
How does Giacomo de Pass appear at the beginning of his career as an artist?
 
Art is a desire; it's the soul of mine. It's a habit that started and stuck with me since childhood. I began drawing in notebooks and sketchbooks, just feeling the need to draw. It's like drawing is everything in my life, and it has become something I cannot live without.
 
 
Art is like therapy, where I can release myself. It's a way to maintain balance in life. I don't paint as an artist; I create art because of my personal desire. Sometimes, I just want to paint to escape from the terrifying realities of the world.
 
What is that terrifying world? Could you tell us about the Parisian art world in the 60s to 70s?
 
In those days, people paid me to draw, but at that time, I didn't realize yet that art was something I couldn't live without. At first, when people came to admire my work, I didn't understand why. It didn't seem extraordinary to me, but as I found success as an artist, I was invited to exhibit my artworks in various places around the world.
 
During that time in Paris, I was still young. I met many artists at galleries and even exhibited at the same place with Pablo Picasso. Later on, I signed contracts with famous art galleries.
 
It sounds like the success that many artists aspire to achieve.
 
 But my art became a product, a business, which conflicted with my own beliefs. Art is my expression, not a product, so I didn't like it. 
 
I began to think that success is not always a good thing. Success could be dangerous; it's not a gift. It can destroy our identity as artists.
 
This is the reason why you decided to become an independent artist?
 
Yes, at that time, I had contracts with renowned galleries like Galerie Félix Vercel and Madison Gallery in New York City. 
 
I worked with them for 20 years. They always told me that they had sold all my paintings and wanted more of the same style. 
 
The problem is that I don't know how to paint the same picture again. I can't do it because I draw based on my emotions and feelings. For example, when I feel good, I paint beautiful pictures, draw flowers, or draw children because I had just had a child at that time. However, when I'm sad, I can't paint pictures of flowers. I can't force myself to paint beautiful pictures.
 
However, I can't continue to paint these images for the rest of my life, so I made the decision to stop working with them.
 
Stepping out of the cycle, what do you lose or gain in return?
 
That period marked a transformative phase in my life, leading me to become the artist I am today—a marginal artist. Although I am no longer affiliated with a gallery, I continue to exhibit my work regularly in museums and galleries. Free from contractual obligations, I am now an independent artist. No one dictates my work based solely on aesthetics. I paint only what I want to paint, representing a significant shift in my approach to art within the realm of commercialism and profit-driven motives.
 
What motivated you to create works for the latest exhibition 'The Visitors'?
 
It's like the first love I experienced while in Thailand. I first came to Thailand about 6-7 years ago because my nephew, who lives here, invited me to visit. 
 
When I arrived, I fell in love and was deeply impressed with Thailand because I felt that it has a sense of humanity, delicate emotional intricacies, and gentle, friendly people. 
Hearing stories about deities intertwined with art further increased my fondness. Along with my admiration for Thai culture, I ultimately felt that I had become a part of this culture.
 
I'm curious to know, how did you come to learn about the various legends of Thailand?
 
During my time here, I visited several temples and also participated in almsgiving ceremonies in the mornings. I engaged in conversations with locals and people from the area. As a gift, a friend gave me an amulet necklace, which I cherish. 
 
To me, it's not just a gift from a friend but also a gift from Thailand.
 
In what ways did the immersion in local culture and oral tradition during travels contribute to the artwork of 'The Visitors' exhibition?
 
If you take a closer look at each of these images, you'll notice them – my 'visitors'. They feature Western cartoon characters like Walt Disney's Donald Duck alongside radiant Ganesha. Some pictures also depict myself. As such, every piece in the exhibition holds hidden elements. 
 
Each image tells a unique story, and I won't provide interpretations or definitions. I'll leave it to the viewers to interpret them, as everyone has their own story.
 
What is Giacomo de Pass’s working method like?
 
Explaining my creative process can be challenging because when I pick up my brush and set up the easel to begin drawing, I enter a state of uncertainty about what will unfold next. There's no predetermined inspiration that guides my brush to canvas. For instance, if I feel inclined to use blue, I apply it without hesitation. Whether it's a turtle, frog, mouse, or snake that captures my imagination at any given moment, that's what I sketch. This organic approach persists throughout the art creation process, following wherever inspiration leads.
 
I don't hold a fixed image in my mind, nor do I preconceive or plan anything. A blank white canvas holds the greatest allure for me as it invites the unexpected. Consequently, the resulting creation is akin to forging paths or exploring on this canvas. That's why the exhibition is aptly titled 'The Visitors', encompassing entities from the East or characters from the West that come to visit and engage on this canvas.
 
How long did you take to create artworks for this exhibition?
 
Approximately 1 year to 1.5 years, not long at all, right? When the work was completed and I was given the opportunity to exhibit, I readily agreed. It had never been exhibited anywhere before, so it felt like a breath of fresh air for me, and it marked my first exhibition in Thailand.
 
It might sound cliche, but how do you feel about your first exhibition in Thailand?
I feel extremely delighted about the transformation in my art, with the people I can exchange ideas with the most being the Thai. Going forward, I have plans to exhibit in the Western world to invite people to visit Thailand, to see how fascinating various deities are and to exchange perspectives. 
 
This is the reason I create these artworks—to invite Westerners who are unfamiliar with Thailand to come and visit here, fostering a deeper understanding of Thailand and Asia.
 
We've asked you a lot of questions already. Is there anything you'd like to talk about regarding your own work?
 
If there's one thing I must express about this exhibition, it is this: My heartfelt gratitude for everything Thailand has granted me. From the profound spirit to the deep-seated emotions and rich culture, these have fueled my creative power, shaping every piece of art I create. As I move forward, uncertain of what the next masterpiece will entail, one thing remains undoubted: the radiant essence of Thailand will forever be interwoven within every stroke of my art.

Add a comment