OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
(English is below)
“ดุสิตธานี” ในแบบเรียนไทย คือเมืองต้นแบบระบอบประชาธิปไตยของรัชกาลที่ 6 ที่คนไทยรู้จักผ่านภาพเมืองจำลองย่อส่วน พร้อมเรื่องราวการทดลองระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ได้อิทธิพลมาจากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม หากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่า เมืองจำลองดุสิตธานีไม่ได้เป็นเพียงแค่เมืองตัวอย่างที่มุ่งหมายในด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 SAC Gallery เปิดวงสนทนา “Club / Cult / Community : ดุสิตธานี คลับสยาม โลกเสมือน” ที่ Soho House Bangkok ชวนจำลองบรรยากาศ “คลับ” ของผู้สนใจเรื่องราวดุสิตธานีในแง่มุมต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์และงานศิลปะ โดยมี ประทีป สุธาทองไทย ศิลปินและอาจารย์ที่ค้นคว้าเรื่องราวของดุสิตธานีเพื่อมาสร้างเป็นงานศิลปะ นักรบ มูลมานัส ศิลปินผู้มีประวัติศาสตร์เป็นวัตถุดิบในการสร้างงาน และ ดร.พีรพัฒน์ อ่วยสุข เจ้าหน้าที่แผนกพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันเป็นสปีกเกอร์แลกเปลี่ยนความรู้
นอกเหนือการเรื่องการเมืองการปกครองหรือความเป็นโมเดลประชาธิปไตยที่คนไทยคุ้นเคย ดร.พีรพัฒน์ ช่วยเปิดประเด็นน่าสนใจว่า ดุสิตธานีถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนภาพบริบทสังคมตะวันตกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่แพร่เข้ามาในประเทศไทยผ่านชนชั้นสูง ดังเช่น รัชกาลที่ 6 ซึ่งจบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
หากย้อนไปพิจารณาเนื้อหาในหนังสือจดหมายจางวางหร่ำ พระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. จะพบว่า รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชนิยมส่วนพระองค์อยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การเล่นสโมสร การละคร และการออกหนังสือพิมพ์ ดังนั้น องค์ประกอบที่ปรากฏในดุสิตธานี จึงเป็นสิ่งที่นำเสนอความนิยมชมชอบของพระองค์ได้เป็นอย่างดี เพราะเมืองจำลองแห่งนี้มีการรวมตัวทำกิจกรรม ไม่ต่างจาก “คลับ” ที่มีความนิยมมาก่อนแล้วในอีกซีกโลกหนึ่ง
“ดุสิตธานีคือการเล่นคลับที่พิเศษ เป็นการรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมบางอย่างที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านประสบการณ์ที่สมาชิกของดุสิตธานีไม่เคยได้รับมาก่อน” ดร.พีรพัฒน์กล่าว พร้อมเสนอต่อว่า วัฒนธรรมคลับอาจมีต้นกำเนิดจากอังกฤษ โดยบริบทของคลับในโลกตะวันตกสามารถย้อนไปได้ไกลถึงยุคกลาง ที่เกิด “กิลด์” (Guild) หรือหอการค้า เพื่อเป็นสโมสรของพ่อค้า สำหรับขยายอิทธิพลของตัวเองในด้านการค้าขาย รวมถึงเป็นการรวมตัวกันด้วยผลประโยชน์หรือเพิ่มมิติในระดับสังคม หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือวัฒนธรรม “ซาลง” (Salon) ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้มีอันจะกินในบ้านหรือคฤหาสน์ คนเหล่านี้มีความสนใจร่วมกัน จึงมักมารวมตัวเพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์บางอย่างร่วมกันในตอนกลางคืน
ขณะเดียวกัน การเล่นหรือรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการลักษณะนี้ เมื่อกลับไปดูประเทศต้นแบบอย่างอังกฤษ จะพบว่าการสร้างคลับอาจเกี่ยวพันกับเจ้านายด้วย ยกตัวอย่างบรรดาคลับเก่าแก่ในลอนดอนที่ย้อนอายุไปได้ถึงศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเซนต์เจมส์ (St. James’s Palace) วัฒนธรรมคลับจึงดูมีความใกล้ชิดกับอำนาจและผู้มีอำนาจ
“สิ่งที่มีในวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเก่าๆ ของอังกฤษ คือการมีสโมสรนักศึกษา มีรูปแบบที่เจอใน Gentleman Club เช่น ห้องบิลเลียด ห้องสันทนาการ หรือห้องนั่งเล่นรวม” ดร.พีรพัฒน์ ให้ความเห็นว่า การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของผู้คนเช่นนี้นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรบางอย่าง ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็ยังปรากฏอยู่ตามที่ต่างๆ ในโลก และรวมถึงอยู่ในดุสิตธานีด้วย นอกจากนี้ คลับวิชาการในโลกตะวันตกยังมักมีหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ในสมาคมที่เรียกว่า House Magazine ซึ่งก็อาจเทียบได้กับ “ดุสิตสมิต” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของเมืองดุสิตธานีได้เช่นกัน
คอนเซปต์เรื่องคลับในสมัยรัชกาลที่ 6 เฟื่องฟูมาก จนเกิดคลับต่างๆ มากมายในสยามตอนนั้น โดยในดุสิตธานีมี “โฮเต็ลเมโตรโปล” อาคารที่เป็นเหมือนคลับเฮาส์สำหรับรวมตัวกันอยู่ข้างเมืองจำลอง เพราะแม้บ้านหลังน้อยทุกหลังในดุสิตธานีจะมีเจ้าของ แต่ดุสิตธานีก็เป็นแค่เมืองจำลองที่ไม่สามารถอยู่ได้จริง จึงจำเป็นต้องมีสถานที่รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมหลังเลิกงาน ภายในมีห้องประชุมเลือกตั้งนคราภิบาล เป็นผู้บริหารเมืองนี้ มีภัตตาคาร และห้องบิลเลียด คล้ายกับคลับมหาวิทยาลัยในอังกฤษ
อิทธิพลของความเป็นคลับถูกนำมาใช้ในบริบทแบบไทย ตัวอย่างเช่น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ที่สืบมาจาก Royal Society จนกลายเป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐ หรือวรรณคดีสโมสรและโบราณคดีสโมสรที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 6 ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบการรวมตัวของคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์องค์ความรู้เรื่องนั้นๆ
เช่นกัน กับการเกิดขึ้นของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Siam Society Under Royal Patronage) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของชาวต่างชาติในไทย ซึ่งทำงานเป็นที่ปรึกษาของราชวงศ์ชั้นสูงในกระทรวงต่างๆ ซึ่งมาจากบริบทในเวลานั้น ยังไม่มีองค์กรที่ใช้ประชุมอย่างจริงจัง ในด้านข้อมูลอักษรศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และธรรมชาติวิทยา เพื่อนำเสนอสู่สาธารณะ หรือในอีกแง่หนึ่ง อาจเพราะกรุงเทพฯ ในเวลานั้น ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ความบันเทิง ทัดเทียมมหานครหรือประเทศที่พวกเขาจากมา การเกิดขึ้นของสยามสมาคมจึงมีเพื่อพบปะกันของชาวยุโรปในไทย ดังที่ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ นิยามว่านี่คือ “คลับฝรั่งเหงา”
ขณะที่ Gentleman Club เฟื่องฟูจนอาจถูกมองว่าเป็นการรวมตัวกันเฉพาะกลุ่มผู้ชาย ในไทยก็ยังมี ห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ (Neilson Hays Library) ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงหรือภริยาทูต-ชาวต่างชาติ มาทำกิจกรรมอ่านหนังสือร่วมกันด้วย
ท้ายที่สุดนี้ การเล่นคลับที่ติดตามมาจากเมืองฝรั่งเมื่อกว่า 100 ปีก่อน แม้มาถึงต่างบ้านเมือง แต่คอนเซปต์ก็ไม่ได้จางหายเหลือเพียงแค่การเล่นสนุกเท่านั้น เพราะความคลับยังเป็นสถานที่สร้างและส่งผ่านกิจกรรมแก่กลุ่มคนที่ทำให้เกิดแนวคิดและ Cult ที่ส่งแรงกระเพื่อมไปสู่สังคม ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ดุสิตธานีคือหนึ่งในคลับที่กำลังทดลองทำหลายสิ่งหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นกับสังคมสยามในอนาคตอันใกล้
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวของดุสิตธานี ผ่านมุมมองศิลปะของ ประทีป สุธาทองไทย สามารถชมได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประทีป สุธาทองไทย, นักรบ มูลมานัส และดร.พีรพัฒน์ อ่วยสุข
__________
"Dusit Thani" appears in Thai textbooks as a model city for democracy under King Rama VI. While many are familiar with the image of a miniature city, reflecting an experiment with a new, Western-influenced system of government, a deeper look reveals that Dusit Thani was more than just a political prototype.
On March 20, 2024, SAC Gallery, in collaboration with Soho House Bangkok, hosted a discussion titled "Club / Cult / Community: Dusit Thani, Siam Club, A World Reimagined". The event aimed to recreate a "club" atmosphere for those interested in exploring various aspects of Dusit Thani, including its history and artistic legacy. The discussion featured prominent figures: Prateep Suthatongthai, an artist and lecturer whose research on Dusit Thani has inspired his artwork; Nakrob Moonmanus, another artist known for incorporating historical themes into his work; and Dr. Peerapapat Ouysook, an officer at the Siamese Heritage Trust of The Siam Society Under Royal Patronage.
Beyond politics and governance or the democratic model that Thais are familiar with, Ouysook raised an interesting point that Dusit Thani reflects the context of Western society in the early 20th century that spread to Thailand through the upper class, such as King Rama VI, who graduated from Oxford University in England.
Looking back at the book of Prince Bidyalongkorn's "The Letters of Changwang Rum", we discover three personal passions of King Rama VI: club activities, theater, and publishing newspapers. Therefore, the features present in Dusit Thani remarkably reflect these interests. This model city facilitated gatherings for various activities, mirroring the "clubs" already popular in other parts of the world.
"Dusit Thani was a special kind of club," Ouysook said. "It was a gathering of people who came together to do specific activities, and it provided experiences that the members of Dusit Thani had never had before."
Ouysook then went on to discuss the origins of club culture. He noted that clubs originated in England, and that the context of clubs in the Western world can be traced back as far as the Middle Ages. At that time, "guilds" were formed as clubs for merchants to expand their influence in trade. Clubs also served as a way for people to come together for mutual benefit or to enhance their social status.
Another example of club culture is the "salon", which was a gathering of wealthy people in a home or mansion. These people shared common interests, and they would often come together in the evening to engage in creative activities.
At the same time, when we look back at the model country of England, we find that the creation of clubs may also be related to the nobility. For example, many old clubs in London that date back to the 17th century are located near St. James's Palace. Therefore, club culture seems to be closely related to power and the powerful.
"In the ancient cultural traditions of old universities in England, there exists the concept of student clubs, reminiscent of Gentleman Clubs, such as billiard rooms, recreational rooms, or lounges," commented Ouysook. He further elaborated that coming together as a group of individuals like this leads to the creation of certain organizational cultures.
These components are still evident in various aspects of the world and are also present in Dusit Thani. Moreover, academic clubs in the Western world often have publications like House Magazine, which can be compared to "Dusit Smith", the weekly newspaper of Dusit Thani miniature city.
The club concept during the reign of King Rama VI was flourishing, resulting in numerous clubs in Siam at that time. In Dusit Thani, there was the "Hotel Metropole", a building that resembled a club house for gathering beside the miniature city. Despite every house having its owner in Dusit Thani, it was merely a miniature city where real residence was not possible. Hence, there was a necessity for a gathering place to engage in activities after work hours. Inside, there were meeting rooms for municipal elections, the city's administration, banquet halls, and billiard rooms, resembling university clubs in England.
The influence of club culture has been utilized in a Thai context, such as in Royal Society of Thailand, which traces its origins to the Royal Society and has evolved into a state agency. Similarly, literary and archaeological societies that emerged during the reign of King Rama VI are examples of gathering people with shared interests to collaborate and create knowledge in those respective fields.
Similarly, the emergence of the The Siam Society Under Royal Patronage, formed by the gathering of foreigners in Thailand, who served as consultants to the high-ranking nobility in various ministries, stemmed from a context where there were no formal organizations for serious meetings in disciplines such as literature, archaeology, history of art, and natural sciences to present to the public.
Alternatively, it could be because Bangkok at that time lacked the conveniences and entertainment comparable to major cities or countries they came from. The formation of The Siam Society Under Royal Patronage was thus aimed at providing a meeting ground for Europeans in Thailand, as described by Professor Tongthong Chandransu as the "Lonely Expat Club".
While Gentleman Clubs thrived and could be perceived as exclusive gatherings for men, in Thailand, there is also the Neilson Hays Library that provides space for women or wives of diplomats and foreigners to engage in reading activities together.
Eventually, the concept of clubbing, which originated from Western cities over 100 years ago, hasn't faded away despite reaching different corners of the world. However, the concept is not just about having fun but also about creating and transmitting activities to groups of people, leading to the formation of ideas and cultures that strongly influence society. It's undeniable that Dusit Thani is one of those clubs experimenting with various things that could shape the future of Thai society in the near future.
For those interested in the story of Dusit Thani through the artistic perspective of Prateep Sutthathongthai, you can watch it here.
Thank you for the information from Prateep Suthathongthai, Nakrob Moonmanus, and Dr. Peerapapat Ouysook.
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.