OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
(English is below)
คำชะโนดห้ามขอเรื่องอะไร
คำชะโนดต้องขออะไรบ้าง
คำชะโนดหวย
คำชะโนดตำนาน
คำชะโนดพญานาค
ข้อความเหล่านี้ปรากฏขึ้นเป็นอันดับแรกหากคุณลองพิมพ์คำว่า “คำชะโนด” ในช่องการค้นหา หรือ Search Engine นอกจากความเชื่อบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ดูจะเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว สิ่งเหล่านี้ยังตามติดมาในชีวิตจริงคล้ายกลับเป็นนามสกุลของคนบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่หากใครทราบว่าเป็นคนในพื้นที่ของป่าคำชะโนดหรือวังนาคินทร์แล้ว ประโยคสนทนาต่อมามักจะเริ่มด้วยเรื่องราวของการขอหวย หรือไม่ก็ตำนานในพื้นที่
ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อตำนานพญานาค การเป็นหนึ่งในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ 108 แห่งทั่วประเทศไทยที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 2562 ที่มาของเกาะลอยน้ำที่ไม่เคยจม กระแสนาคีฟีเวอร์ มากไปจนถึงตำนานเรื่องผีจ้างหนัง
จากความเชื่อของคนในพื้นที่ ไปสู่เรื่องศาสนาและพิธีกรรมใหม่ๆ จนกลายเป็นกระแสขึ้นในสังคม และกลายเป็น “สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม” ที่หลายครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ถูกสร้างขึ้นมาเป็นภาพแทนให้ผู้คนเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น
“สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมในงานของผม หมายถึงสิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งเร้าให้ทุกคนเชื่อในสิ่งเหล่านั้น เชื่อในสิ่งเดียวกัน รับรู้ในสิ่งเดียวกันและใช้ความรับรู้เหล่านี้นำไปแสวงหาประโยชน์อีกที”
คำอธิบายเบื้องต้นมาจาก “สุรสิทธิ์ มั่นคง” เจ้าของผลงานชุด “จักรวาลนฤมิต” ในนิทรรศการกลุ่ม “the Frozen-ธาราพันลึก” ที่จะพาทุกคนไปสำรวจป่าคำชะโนดที่รายล้อมไปด้วยความเชื่อเรื่องผี พราหมณ์ พุทธ และการสร้างความหมายใหม่ ที่เรียกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม
จากเดิมป่าคำชะโนดเคยเป็นพื้นที่ส่วนรวมของชุมชน แต่ ณ วันนี้กลายเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินมหาศาล แต่เงินเหล่านี้กลับไม่กระจายกลับสู่ชุมชน ซ้ำร้ายยังส่งผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการจัดสรรทรัพยากรและพื้นที่ทำกินจากรัฐอีกด้วย
เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) ชวนสำรวจป่าคำชะโนด ผ่านมุมมองและความเชื่อของสุรสิทธิ์ ผู้เติบโตและเห็นการเปลี่ยนผ่านในพื้นที่ป่าคำชะโนด ตั้งแต่ที่มาแนวคิดของผลงาน มุมมองต่อความเชื่อ มากไปจนถึงการตั้งคำถามเชิงนโยบายของภาครัฐที่หลายครั้งไม่เหมาะสมต่อชีวิตและความต้องการของคนในพื้นที่
สุรสิทธิ์เล่าที่มาจุดเริ่มต้นของผลงานชุด “จักรวาลนฤมิต” ว่า เป็นประเด็นที่ต่อยอดมาจากนิทรรศการเดี่ยวก่อนหน้าอย่าง “UN-EARTH Provenience Unfold” ที่พูดถึงเรื่องดินและการจัดการพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ที่รัฐบาลมักโยนนโยบายลงมาผ่านโครงการต่างๆ แต่หลายครั้งไม่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่ ดังนั้นเมื่อจบโปรเจกต์ของดินเขาจึงศึกษาต่อในประเด็นของ “น้ำ”
นั่นทำให้พบว่าแหล่งน้ำที่บ้านเกิดของเขามีความพิเศษ โดยปกติแล้วแหล่งน้ำที่อยู่กับชุมชนหรือพื้นที่ส่วนใหญ่ มักมีไว้เพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค แต่แหล่งน้ำในพื้นที่ของป่าคำชะโนดแตกต่างออกไป เพราะมีการจัดสรรความเชื่อ ตำนาน และเรื่องเล่าลงไป เช่น การดื่มบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ช่วยรักษาโรค สามารถไล่เสนียดจัญไร รวมไปถึงตำนานประตูขึ้นลงโลกใต้บาดาล และการเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของประเทศไทย
“จากการสัมภาษณ์ชาวบ้าน ก่อนหน้านี้คำชะโนดเป็นป่าดงดิบที่ทุกคนสามารถเข้าไปยิงนกตกปลาเป็นสถานที่เลี้ยงชีพในชีวิตประจำวัน พูดง่ายๆ เป็นพื้นที่สาธารณะ ใครเข้าไปทำอะไรก็ได้ หลังจากนั้นเริ่มมีการตั้งศาลเพียงตา เป็นผีบรรพบุรุษที่คอยปกป้องพื้นที่ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์มาตลอด”
สุรสิทธิ์อธิบายต่อว่า ภายหลังจากการสร้างศาลเพียงตา ก็เกิดตำนานของปู่คำตาที่มาพร้อมกับเรื่องราวอภินิหารของพญานาค โดยท่านเล่าว่า ถูกลักพาตัวไปเมืองบาดาลเพื่อประกวดชายงามจนเกิดการสร้างวัดภายหลัง ประกอบกับที่ตั้งของป่าคำชะโนดตรงกับตำนาพญานาคของ พญาศรีสุทโธนาคราช และที่ตั้งของ “พรหมประกายโลก” ที่เรียกกันว่าประตูขึ้นลงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกบาดาล
ประกอบกับตำนานผีจ้างหนัง และกระแสนาคีฟีเวอร์ ที่นำตำนานบางส่วนของป่าคำชะโนดไปถ่ายทำ ใช้เป็นพื้นที่บวงสรวง และต่อมาบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในป่าคำชะโนด ก็ถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 2562 จนภายหลังกลายเป็นสถานที่ที่มีเม็ดเงินมหาศาลจากการท่องเที่ยว
“สิ่งเหล่านี้ชัดเจนว่าเริ่มจากความเชื่อของชาวบ้าน จากแต่เดิมเป็นดงผี กลายเป็นวัด และพัฒนาเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ความเชื่อของฮินดูพราหมณ์ ผมจึงมองว่าพื้นที่แห่งนี้มีวิวัฒนาการเริ่มต้นจาก ผี ศาสนาพุทธ และพิธีกรรมของพราหมณ์ฮินดู”
“ผมมีทั้งความเชื่อและไม่เชื่อในป่าคำชะโนด ผมเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้จะปกป้อง คุ้มครองรักษา แต่พอสิ่งเหล่านี้พัฒนาไปเป็นอย่างอื่นความไม่เชื่อของผมก็คือ ทำไมชาวบ้านถึงยังจนอยู่ ยังต้องเก็บขยะอยู่ ต้องเป็นผู้รักษาความปลอดภัยอยู่ ทำไมคนภายนอกมากราบไหว้ถึงถูกหวยเป็นล้านๆ บาท แต่คนที่อยู่ในพื้นที่จริงๆ กลับไม่ได้อะไรเลย จากคำถามเหล่านี้นำไปสู่ความไม่เชื่อ สุดท้ายแล้วความศักดิ์สิทธิ์ความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นของใครกันแน่ มันเป็นของคนที่ได้ผลประโยชน์หรือเปล่า”
สุรสิทธิ์ตั้งคำถามต่อไปว่า หากสังเกตวิวัฒนาการของพื้นที่ป่าคำชะโนดจะพบว่า “ความเชื่อ” เปลี่ยนไประหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ คนในชุมชนมีความเชื่อร่วมกันว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จะช่วยอนุรักษ์พื้นที่ทำมาหากิน พญานาคเป็นเทพที่คอยปกปักษ์รักษา ให้ ดิน น้ำ และพื้นที่อุดมสมบูรณ์ แต่ ณ ปัจจุบันมันแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่า กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้โชคลาภ ให้หวย เพียงอย่างเดียว ซึ่งเขามองว่าเรื่องราวเหล่านี้ทำให้ความเป็นพญานาคได้ตัดขาดกับคนในพื้นที่อย่างชัดเจน จากคำถามและการตั้งข้อสังเกตต่างๆ นำไปสู่นิทรรศการกลุ่มครั้งนี้
“ทำไมนิทรรศการครั้งนี้ถึงชื่อจักรวาลนฤมิต ผมมองว่าพื้นที่ในป่าคำชะโนด ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวมีความเหนือจริง มีความเวอร์ คำว่านฤมิตอีกแง่หนึ่งมันแสดงให้เห็นถึงคำว่าเทพมาจุติอะไรแบบนี้ แต่ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่าใครก็ตามที่ได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าว ก็สามารถนฤมิตดลบันดาลความสำเร็จทุกอย่างได้”
ชฎาที่ถูกแช่แข็งมีเกล็ดน้ำแข็งปกคลุมคือหนึ่งในผลงาน ที่ดึงดูดความสนใจเราเป็นอย่างมาก โดยจัดแสดงคู่กับภาพถ่ายฟิล์มสองชุด และทั้งสองสิ่งมีวัตถุดิบหลักร่วมกันคือ “น้ำ” จากบ่อศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด
“ผมมองว่าชฎาพญานาคเป็นสิ่งใหม่ในพื้นที่ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มาพร้อมกับพิธีกรรม ความเชื่อใหม่ๆ จากการเข้ามารำแก้บนของละครนาคี จนมีการกระทำซ้ำเลียนแบบมาเรื่อยๆ จนทำให้เกิดพิธีกรรมแก้บนที่ต้องจ้างนางรำเข้ามา ผมสนใจชฎา จึงนำมาจัดแสดงคู่กับน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่”
สุรสิทธิ์อธิบายต่อว่า เขานำน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่มาแสดงคู่กับชฎา โดยเกล็ดน้ำแข็งที่เราเห็นในผลงานชิ้นนี้มาจากการเปลี่ยนผ่านของน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่เขาพยายามจะทำให้สิ่งที่มองไม่เห็นกลายเป็นสิ่งที่ปรากฏรูปได้
“อีกชิ้นคือภาพถ่ายฟิล์ม ผมก็ตั้งคำถามง่ายๆ อยากรู้ว่า น้ำศักดิ์สิทธิ์กับน้ำธรรมดามีความแตกต่างกันอย่างไร จึงเอาฟิล์มสองชุดไปแช่ระหว่างน้ำธรรมดาและน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะแตกต่างกันหรือไม่ ปรากฏว่าผลไม่ต่างกันเลย
“สิ่งที่จะทำให้สองภาพนี้ต่างกันคือตัวแปรเรื่องอุณหภูมิ เวลา และสิ่งเจือปนที่มาจากน้ำ จนนำไปสู่กระบวนการต่อมาคือนำฟิล์มทั้งสองชิ้นมาประกบกัน และแช่น้ำ เมื่อฟิล์มโดนน้ำก็เกิดกระบวนการหลุดร่อนถ่ายเทระหว่างกันและกัน จึงทำให้ภาพที่เกิดขึ้นมีความผิดเพี้ยนบิดเบือนออกไปโดยมีสาเหตุมาจากน้ำ”
เขาอธิบายต่อว่า งานภาพฟิล์มชิ้นนี้มาจากความต้องการสะท้อน และอุปมาอุปไมยส่วนตัวว่า การที่ฟิล์มทั้งสองถูกนำมาประกบกันก็คล้ายการถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่าภาพที่เราเห็นมันคือการถูกบังคับมาก่อนแล้ว จนหลายครั้งทำให้ไม่เกิดการตั้งคำถามถึงที่มาของภาพที่บิดเบี้ยว จนนำไปสู่ความเชื่อ และกลายเป็นสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง
หากเรามองย้อนกลับไป ณ ป่าคำชะโนด นอกจากตำนาน ความเชื่อ พิธีกรรมที่ค่อยๆ เปลี่ยนผ่านแล้ว อีกสิ่งที่พื้นที่แห่งนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนั่นคือ ‘สิ่งประดิษฐ์’ ต่างๆ ที่ปรากฏมากมายและมากขึ้น เช่น แต่เดิมบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นบ่อกว้างประมาณ 3 เมตร มีไม้กั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แต่ปัจจุบันมีรูปปั้นพญานาคเจ็ดเศียร ล้อมรอบด้วยหินขัด
“หากใครเคยเดินทางไปที่ป่าคำชะโนดจะพบทางเข้าที่มีพญานาคเจ็ดเศียรสองตัว ตลอดการเดินข้ามสะพานก็จะมีลำตัวของพญานาคนำทางเราไปสู่ป่าคำชะโนด สำหรับผมที่ทั้งเชื่อและตั้งคำถามพอไปเจอก็ขนลุก เพราะข้างนอกอากาศร้อนมาก พอไปถึงป่าคำชะโนดจะมีความเย็น ความชื้นของป่า หากไปโดยไม่มีอคติใดๆ จะทำให้เราหมือนหลุดเข้าไปอีกโลก มันเย็นสงบ ศักดิ์สิทธิ์ โดยพื้นที่มีความขลังอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มสิ่งประดิษฐ์พวกนี้เข้าไปยิ่งทำให้คนเชื่อมากขึ้น”
จากพื้นที่ดำรงเลี้ยงชีพของคนในชุมชน สู่หมุดหมายปลายทางนักท่องเที่ยวที่มากถึง 5 หมื่นคนต่อวัน และมียอดบริจาคราวๆ 1 ล้านบาทต่อวัน แต่หากหันมาดูจะพบว่าคนในชุมชนกลับมีส่วนร่วมจากสถานที่ที่เคยเป็นพื้นที่สาธารณะน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายในพื้นที่ป่าคำชะโนด ก็ต้องผ่านการประมูล ดังนั้นคนในชุมชนส่วนใหญ่จึงรับจ้างเก็บขยะ หรือเป็นคนโบกรถ
จึงนำไปสู่คำถามเช่นที่สุรสิทธิ์ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมคนที่อยู่ในพื้นที่ถึงไม่ได้รับประโยชน์ แต่คนนอกพื้นที่กลับได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโชคลาภ หรืออะไรก็ตาม จนนำไปสู่บทสรุปเช่นที่เขาว่า สุดท้ายแล้วความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นของใคร และใครกันที่ได้ประโยชน์
“ผมอยากให้คำชะโนดเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาที่สร้างขึ้น นอกจากจะแช่แข็งทางความคิดแล้ว ในขณะเดียวกันยังกระทบกระเทือนไปถึงพื้นที่เดิม ความเป็นธรรมชาติของมัน จากก่อนหน้านี้คนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ช่วยกันรักษา แต่ ณ ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ผ่าน รูปปั้น ศาลา หรือพื้นที่จัดแสดงที่อยู่ในพื้นที่ ใช้ประโยชน์จากความเชื่อเหล่านี้ จนกดทับและทำให้พื้นที่จริงเสียหาย” สุรสิทธิ์ทิ้งท้าย
Kam Chanot: What is forbidden to ask for?
Kam Chanot: What to ask for?
Kam Chanot Lottery
Kam Chanot Legends
Kam Chanot the Naga
These phrases prominently appear when you search 'Kam Chanot' on a search engine. Beyond the consistent beliefs found on the internet, these concepts resonate deeply in real life, almost like a surname for those from Ban Dung, Udon Thani. When someone knows you are from Kam Chanot Forest or Wang Nakin, conversations often start about the lottery or legends.
Whether it's belief in the Naga legend… Being one of the 108 sacred wells used in the 2019 coronation ceremony, the enduring myth of the unsinkable floating island, the phenomenon of Nakee fever, or The Screen at Kamchanod tale, these beliefs have evolved into new rites, becoming a societal phenomenon and serving as 'cultural artefacts' that represent and instil belief in the unseen.
“In my work, cultural artefacts mean creations that compel everyone to believe in the same things, perceive the same truths, and harness this new belief to seek further benefits”, Surasit Mankong said.
Artist Surasit Mankong, creator of 'The Creative Universe' series exhibited at 'the FROZEN', invites everyone to explore Kam Chanot Forest, immersed in beliefs of ghosts, spirits, Buddhism, and the creation of new cultural artefacts.
Once a communal space, Kam Chanot Forest has transformed into a lucrative hub, yet the wealth generated seldom returns to the community, exacerbating social, cultural, and environmental impacts resulting from state-sanctioned resource allocation and land use.
SAC Gallery encourages an exploration of Kam Chanot through the evolving perspectives and beliefs of Mankong, who has witnessed firsthand the area's transformation. Inspired by his artworks and reflections on beliefs, his journey prompts profound policy questions that often neglect the local community's livelihoods and needs.
Mankong narrates the inception of his 'The Creative Universe', which builds upon themes explored in his previous solo exhibition, 'UN-EARTH Provenience Unfold'. That exhibition delved into the topics of soil and land management practices among local communities, highlighting how governmental policies often imposed through various projects were frequently ill-suited to the specific needs of these areas.
After the soil project, Mankong shifted his focus to the topic of 'water', embarking on a new journey of artistic exploration. This led him to discover that the water sources in his hometown are unique.
Typically, water sources in most communities are primarily used for agriculture and daily consumption. However, the water sources in the Kam Chanot Forest area are different. They are surrounded by beliefs, legends, and stories. For example, drinking from the sacred well is believed to cure illnesses, ward off evil, and there is a myth that it serves as a gateway to the underworld.
These sacred water sources hold a special place in Thai tradition and belief systems. “From interviews with locals, Kam Chanot was once a dense jungle where people could hunt birds and fishes, a common ground for daily sustenance. It was a public area where anyone could go and do as they pleased. Later, a shrine named San Phiang Ta was established”, Mankong explains.
Mankong continues, “After the shrine was built, legends about Pu Khum Ta emerged, intertwined with miraculous tales of the Naga. According to myths, Pu Khum Ta was abducted to the underworld for a beauty pageant, which led to the construction of a temple. Additionally, the location of Kam Chanot aligns with the myth of the Naga King Phaya Sri Sutho, and the Kam Chanot area is known as Prom Prakayalok, the gateway between the human world and the underworld.”
The area gained further renown through local legends and the 'Nakee Fever' phenomenon, where parts of the Kam Chanot legends were filmed, and the area was used for rituals, transforming the site into a lucrative tourist destination.
“These are clearly stemming from local beliefs. What started as a haunted forest evolved into a temple and then into a sacred land influenced by Hindu-Brahmin beliefs. I see this area as having undergone an evolution from ghostly origins to Buddhist sanctity and finally to Brahmin-Hindu rituals.”
“I hold both belief and disbelief regarding Kam Chanot. I believe that these sacred entities protect, preserve, and nurture, but my disbelief arises when I consider why local residents must still collect rubbish and provide security while outsiders receive millions in lottery winnings. Those living here gain nothing. From these questions, disbelief emerges. Ultimately, whose belief in the Naga myth is this, for personal gain or someone else's benefit?” Mankong asks.
Locals believe that various sacred entities help preserve their livelihoods, with the Naga revered as a deity safeguarding the land's fertility. However, it's clear today that these sacred entities are primarily associated with luck and lottery wins, distancing them from local residents. From these observations and questions, this exhibition group was born.
“Why the Creative Universe? I perceive Kam Chanot as a place where everything transcends reality and holds power. 'The Creative Universe' reflects another aspect—it signifies a divine entity or something similar. Another view shows that anyone who controls such areas can shape everything.”
“The frozen Thai theatrical crown is among the works that captivate my attention greatly, showcased alongside two sets of film photographs. Both elements share a common material: 'water' from the sacred well of Kam Chanot.
“I see the Naga theatrical crown as something new in Kam Chanot area, sparking transformations along with new beliefs and ceremonies derived from the Nakee. This has led to repeated imitations and the establishment of rituals requiring hired dancers. I found the Naga theatrical crown, hence their pairing with the sacred water of the area.” Mankong explains how he juxtaposes the sacred water with the Naga theatrical crown, where the ice crystals we see in this piece stem from the transformational properties of the sacred water. He tries to make something we can't see to form.
“Another piece is film photography. I asked a simple question like What are the differences between sacred water and regular water? To explore this, I immersed two sets of film in regular and sacred water to see if the outcomes would differ, but there was no discernible difference in the results. What differentiates these two images are variables like temperature, time, and impurities in the water. This led to the next process of placing the two films together and immersing them in water. When the films were exposed to water, a process of mutual detachment and transfer occurred, causing the resulting images to distort by the water itself.” Surasit explains that this film piece reflects his personal metaphor for forced transformation.
The films being placed together and immersed in water symbolise an imposed change, often without awareness of the coercion behind it. This process distorts the images, leading to unquestioned beliefs and symbols. Reflecting on Kam Chanot Forest, apart from the legends, beliefs, and gradually evolving rituals, the area has significantly changed with numerous new 'artefacts'. For instance, the sacred well, initially a 3-metre wide open well with a wooden barrier for safety, now features a seven-headed Naga statue surrounded by polished stones.
“Anyone who has visited Kam Chanot Forest will notice the entrance by two seven-headed Naga statues. Along the way, as you cross the bridge, the Naga bodies guide you into the forest. For someone like me, who holds both belief and scepticism, outside the weather is hot, but inside Kam Chanot Forest, it is cool and humid. If you approach it without bias, it feels like stepping into another world—cool, calm, and magical. The place is amplified by these new artefacts, reinforcing people's beliefs even more.”
From being a sustenance area for the local community to a tourist destination attracting up to 50,000 visitors daily and generating around 1 million baht in donations each day, locals have minimal involvement in what was once a public space. Commercial activities within Kam Chanot require bidding, leaving most locals to take on jobs like rubbish collection or directing traffic. This situation raises questions, like those posed by Mankong, about why locals do not benefit while outsiders gain from the area, whether through luck or other means. It raises the crucial question: whose belief in the Naga myth is this, and who truly benefits from it?
“I want Kam Chanot to serve as a case study on constructed belief and faith. These beliefs not only freeze thought processes but also impact the original space and its natural state. Previously, people shared and maintained the area collectively. Now, it has turned into a cultural artefact through statues, exploiting these beliefs to the detriment of the real environment”, Mankong said.
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.