OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
(English is below)
สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน หรือแม่สี ถูกนำมาใช้และถ่ายทอดผ่านรูปร่างรูปทรงต่างๆ ที่สามารถอยู่เดี่ยวๆ หรือประกอบสร้างร่วมกันได้ (Brackets) คือชุดผลงานใหม่ที่กิติก้องได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเฝ้าสังเกตและเล่นกับลูกชาย โดยเขามองว่าทุกการเรียนรู้ รวมถึงตัวเขาก็เริ่มมาจากการเล่นและการลอง จึงเป็นที่มาของการหยิบยกของเล่นต่างๆ เช่น บล็อก เลโก้ เกมตัวตัวต่อ รวมถึงการใช้แม่สีในนิทรรศการครั้งนี้
งานศิลปะของเขาแต่ละชิ้นในนิทรรศการ (Brackets) เปรียบดั่ง Alphabet ที่สามารถประกอบสร้างเป็นข้อความแล้วส่งต่อความหมายอื่นๆ และแน่นอนว่าในแต่ละบริบท แต่ละมุมมอง ความรู้สึก ณ เวลานั้นก็อาจทำให้ความหมาย ความสำคัญของข้อความแตกต่างกันออกไปในมุมมองของแต่ละคน
ในบางครั้งการสื่อสารด้วยคำพูดอาจไม่เพียงพอที่จะถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก บางครั้งการสื่อสารโดยไม่ต้องใช้คำพูดก็สามารถส่งต่อความรู้สึกได้ลึกซึ้งและละเอียดมากกว่า เช่นเดียวกันบางครั้งความเงียบงันหรือการละไว้ ก็อาจเป็นกุญแจสำคัญของข้อความ และบางครั้งสิ่งที่อยู่ในวงเล็บหรือ (Brackets) ก็อาจเป็นใจความสำคัญที่เราไม่สามารถขาดได้
“ตั้งแต่จำความได้ก็ขีดเขียนกำแพง โดนตีก็ไม่เคยเข็ดหลาบ ทาสีทับกำแพงอีกเราก็เขียนอีก”
กิติก้องเกิดในจังหวัดลำปาง เติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเรียนรู้ศิลปะ แต่ด้วยความสนใจในการวาดรูปที่มีตั้งแต่เด็ก ผ่านการขีดเขียนกำแพง ดึงสมุดเรียนหนังสือหน้ากลางมาวาดรูป เขียนหนังสือเรียน จนคุณครูเห็นแววและส่งประกวดวาดภาพ
“ได้รางวัลบ้างไม่ได้รางวัลบ้าง ผมก็ไม่สนใจ ตอนนั้นสนใจแค่ว่าผมได้วาดรูป”
ต่อมาเขาสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยแอบเลือกคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอันดับแรก ซึ่งขัดกับความต้องการของครอบครัว และใช่ เขาสอบติดมหาลัยวิทยาลัยและคณะที่อยากเข้า ต่อมากิติก้องเลือกลงเรียนภาควิชาศิลปะภาพพิมพ์ เพราะชอบและคิดว่าเหมาะกับตัวเองมากที่สุด เมื่อเรียนจบการศึกษาปริญญาตรีจึงตัดสินใจไปเรียนต่อด้านภาพพิมพ์ที่ University of New South Wales Arts and Design ประเทศออสเตรเลีย โดยทำข้อตกลงลับกับญาติพี่น้องและแจ้งคุณแม่เพียงหนึ่งวันก่อนการเดินทางไปเรียนต่อ
กิติก้องมีความสนใจในเรื่องภาพพิมพ์, Abstract, Alphabet และความหมายของการสื่อสาร รวมไปถึงความงดงามที่สอดแทรกซ่อนอยู่ในข้อความ โดยเขามองว่า Abstract เป็นงานศิลปะที่จะช่วยย้ำเตือนให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการสื่อสารมากขึ้น แม้ทุกวันนี้เทคโนโลยีเรื่องการสื่อสารจะล้ำสมัย แต่กิติก้องมองว่าการสื่อสารกลับดูคล้ายจะสวนทาง บางข้อความพิมพ์ผิด ส่งไปไม่มีความหมาย ไม่มีความรู้สึกแฝงอยู่ในตัวอักษรเหล่านั้น
นิทรรศการ (Brackets) เกิดขึ้นภายใต้การทดลองตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่กิติก้องผสมผสานความรู้สึก บทบาทความเป็นพ่อ ความอยากรู้อยากเห็น การเฝ้าสังเกตลูกชาย จนนำมาถ่ายทอดผ่านงานนิทรรศการที่มีความหมายว่าสิ่งที่อยู่ในวงเล็บ
เพราะสิ่งที่อยู่ในวงเล็บของหลายคนอาจเป็นข้อความที่สำคัญ ขาดไม่ได้ เป็นการย้ำเตือน หรือบางคนก็มองว่าไม่มีความสลักสำคัญ ขึ้นอยู่กับบริบทการมอง และอารมณ์ของแต่ละบุคคล ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการย้ำเตือนว่าเราไม่ควรลืมสิ่งเหล่านี้
ส่วน (Brackets) ในมุมของกิติก้องเขามองว่าเป็นหัวใจหลัก ประโยคที่ขาดไม่ได้หรือเน้นย้ำว่าอย่าลืมสิ่งนี้ หรืออย่าคิดไปเอง นิทรรศการครั้งนี้จึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจความหมายที่อยู่ในวงเล็บช่องว่างเหล่านั้น ช่วยให้เราเห็นความสลักสำคัญ หรือเน้นย้ำว่าเรากำลังลืมอะไรบางอยู่หรือเปล่า
“เวลาจะสอนน้อง (ลูก) ให้สอนด้วยการเล่นนะคะ อย่าสอนด้วยการบอกเขาว่าสิ่งนี้คืออะไร”
ข้อความจากคุณหมอ ส่งต่อมายังกิติก้องกลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจการสร้างนิทรรศการครั้งนี้ และช่วยให้เขาฉุกคิดว่าตัวเขาเองก็เติบโตมาจากการเล่น การขีดเขียนกำแพง สมุด และหนังสือเรียน นี่จึงเป็นหนึ่งใน (Brackets) ที่หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่าการเล่น การลอง คือสิ่งสำคัญของชีวิต เขาจึงนำของเล่นของลูกไม่ว่าจะเป็น บล็อก เลโก้ และตัวต่อ มาประกอบสร้างเป็นงานศิลปะผ่านการใช้แม่สี เหลือง แดง น้ำเงิน มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน โดยมองว่าหลายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็มาจากการเล่นการเรียน รวมถึงของเล่นและสีพื้นฐานเป็นตัวแทนของความบริสุทธ์ และหากเด็กจะเรียนรู้ศิลปะก็ควรเริ่มจากสีขั้นพื้นฐานอย่างแม่สีก่อน
ที่กล่าวมาข้างต้นคล้ายกับเป็นปรัชญาชีวิตที่เขาได้รับจากการเลี้ยงลูกและนำมาส่งต่อถ่ายทอดผ่านงานศิลปะ โดยเน้นย้ำให้ทุกคนเห็นว่า ในทุกการสื่อสารมักจะมี (Brackets) สำคัญซ่อนอยู่ ตัวอย่างเช่นองค์ประกอบต่างๆ ในนิทรรศการครั้งนี้ สามารถจัดแสดงเดี่ยวๆ หรือมาประกอบสร้างกันได้ โดยเขาเปรียบผลงานศิลปะแต่ละชิ้นเป็นหนึ่ง Alphabet หากอยู่เดี่ยวๆ ก็มีความหมาย แต่หากนำ Alphabet เหล่านั้นมาประกอบสร้างก็จะได้เป็นข้อความที่สมบูรณ์และถ่ายทอดได้มากขึ้น เมื่อรวมกับสีสันของงานศิลปะแต่ละชิ้น เช่น สีแดงทาบทับกับสีเหลืองก็จะกลายเป็นสีส้ม ที่ถ่ายทอดผ่านความรู้สึกที่เน้นย้ำให้เห็นว่า การสื่อสารที่ดีควรมีความรู้สึกร่วมด้วย
อีกทั้งการหยิบของเล่นและแม่สีมาใช้ก็เป็นการย้ำเตือนว่า กว่าทุกคนจะเติบโตมาทุกวันนี้ หรือกว่าโลกใบนี้จะมีเครื่องบินใช้ สิ่งเหล่านี้ก็มาจากจินตนาการและความฝันมาก่อนทั้งนั้น
“ของผมมันย้อนแย้งนิดหน่อย คือกลายเป็นว่าผมเอาเวลาไปทำงานเยอะเกินจนลืมสิ่งที่อยู่ใน (Brackets) นั่นคือลูกของเรา คือมันก็ถูกต้อง มันช่วยเน้นย้ำให้เราตระหนักว่าอย่างน้อยที่สุดเราต้องไม่ลืมว่าต้องชดเชยเวลาให้เขา ซึ่งความจริงเวลามันชดเชยไม่ได้ แต่ (Brackets) ก็เตือนเราว่าอย่าลืมนะ ต้องจดจำสิ่งนี้ไว้” กิติก้องบอก
แล้วข้อความใน (Brackets) ของคุณล่ะ คืออะไร?
__________
Red, yellow, and blue, the primary colors, are used and expressed through various shapes that can stand alone or be combined
(Brackets) is a new exhibition by Kitikong inspired by his observations and playtime with his son. He believes that all learning, including his own, starts with play and experimentation, which is why he incorporates toys like blocks, Legos, and puzzle games, as well as primary colors, into this exhibition.
Each piece of art in the (Brackets) exhibition serves as an alphabet that can be assembled into messages, conveying different meanings. Naturally, in each context and perspective, feelings at that moment can alter the significance and interpretation of the message for each individual.
At times, verbal communication may not be sufficient to convey thoughts and feelings. Sometimes, communicating without words can express emotions more deeply and intricately. Similarly, silence or omission can be the key to a message, and occasionally, what lies within the brackets—or (Brackets)—may be the essential essence that we cannot overlook.
“Since I can remember, I have been scribbling on walls. Even after being beaten, I never learned my lesson and they would paint over the walls, but I would draw again.”
Born in Lampang, Tilokwattanotai grew up in a household that discouraged artistic pursuits. Undeterred, he expressed his creativity by defacing walls and filling his school books with drawings, much to the dismay of his teachers. However, his talent was undeniable, and his teachers eventually recognised his potential, encouraging him to enter art competitions.
“Whether I won a prize or not, I didn't care. At that time, I was only interested in the fact that I was able to draw.”
Defying his family's expectations, he secretly applied to Chiang Mai University's Fine Arts program and, to his family's surprise, was accepted. True to his artistic inclinations, he chose printmaking as his specialisation, feeling a deep connection to the medium. After completing his undergraduate studies, he embarked on a clandestine journey to Australia to pursue a postgraduate degree in printmaking at the University of New South Wales Arts and Design, informing his mother only a day before his departure.
Tilokwattanotai is deeply interested in printmaking, abstract art, and the alphabet, exploring the nuances of communication and the hidden beauty within language. He believes that abstract art can serve as a powerful reminder of the importance of meaningful communication, especially in our technologically advanced world where the essence of communication often seems lost. With so many typos and meaningless messages, he argues that we have forgotten the emotional depth that can be conveyed through the written word.
The exhibition (Brackets) is the culmination of a five-year exploration during which Tilokwattanotai blended his emotions, his role as a father, his curiosity, and his observations of his son. The resulting artwork invites viewers to contemplate the significance of what lies 'between the brackets' of life.
The content within brackets can hold profound significance for some, serving as essential reminders or crucial details. Yet, for others, it may seem insignificant or even superfluous. The interpretation of bracketed material is highly subjective, influenced by individual perspectives and emotions. Ultimately, brackets serve as a reminder that we should not overlook the subtleties and nuances of language.
For Tilokwattanotai, the 'brackets' serve as the heart and soul of his work. They represent essential phrases, emphatic reminders, or cautions against assumptions. Through this exhibition, he invites viewers to explore the significance hidden within these parentheses, to uncover the vital details we may often overlook, and to ponder the things we may be unconsciously forgetting.
"When teaching your child, remember to prioritise play over direct instruction. Instead of simply telling them what something is, encourage them to learn through hands-on experiences and exploration."
A note from his doctor, which became a catalyst for this exhibition, ignited a profound reflection in Tilokwattanotai. He realised that his own creative journey had begun with simple acts of play, such as doodling on walls, notebooks, and textbooks. This realisation led him to incorporate one of the exhibition's central themes: the often-overlooked significance of play and experimentation. By transforming his child's toys—building blocks, Lego, and construction sets—into vibrant artworks using primary colours, Tilokwattanotai sought to highlight the power of play and creativity. He believes that the simplicity of these toys and colours represents the purity of childhood and that a foundational understanding of art begins with these basic elements.
The preceding reflections encapsulate a life philosophy that Tilokwattanotai has developed through his experiences as a father and that he now expresses through his art. He believes that every form of communication contains hidden 'brackets' that hold profound significance. The individual components of this exhibition, for instance, can stand alone or be combined to create new meanings. He likens each artwork to a letter of the alphabet: individually meaningful, but capable of forming powerful messages when combined. Furthermore, the interplay of colours, such as the juxtaposition of red and yellow to create orange, underscores the importance of emotion in effective communication.
Furthermore, by incorporating toys and primary colours into his work, Tilokwattanotai reminds us that all of our achievements, from personal growth to technological advancements, originate from the seeds of imagination and dreams.
"It's a bit of an irony”, Tilokwattanotai admitted. "I've been so focused on work that I've neglected the most important thing in those parentheses: my child. It's a harsh reminder that I need to make up for lost time, though I know you can't truly replace it. But those brackets serve as a constant reminder to never forget that."
And what about you? What hidden depths lie within your own personal 'brackets'?
Click here to view more works.
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.