OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
A group exhibition curated by Kukasina Kubaha, Trithida Trising and Panod Srinual from Start! Art Curator Season 2.
Labour, a two-syllable word that may ring a bell to many people, has a meaning that fluctuates according to personal experience. Although we come across a variety of labour every day, very few understand the meaning of labourers and see other labourers as those who are in the same situation. Often we have forgotten that we are labourers, as well.
In this exploitative capitalist society where money reigns our lives, workers are slowly demarcated from each other: be it from different salary ranges, different taxes, hierarchy in the workplace, being on a freelance contract, or receiving a daily wage. Apart from that, we have also been barred from each other by other ‘lines’ that have been written over and over. These lines have become bold and effective in keeping us apart that sometimes, we forget and lose our empathy towards other labourers. These lines that border us from each other range from geographical boundaries to public-private space, gender, race, and belief.
For the 99%, labour, in its general sense, means the action of exchanging time, thought and force for economical return. Payment sometimes is a strong incentive to wake up early and return home late in the evening after grinding work for 8 hours, but for some, working hours have no limit, no guaranteed security or are not protected under the law since their work is not regarded as ‘work.’ These problems in Thai society have been swept under the rug rather than discussed and fixed in clear light so that citizen’s wellbeing is protecteed.
Undeniably, the mainstream media is also another factor that affects public recognition of the definition of labourers. Repetitively, labourers have been portrayed through the media as only male blue-collar workers. With this limited portrayal, the understanding among the public is also restricted to only what has been aired, even though, all work contributes to the betterment of society.
For the aforementioned reasons, “Crossing the Lines” therefore underlines the saying that we are all labourers. However, this does not mean that all labourers are the same or are replaceable. We firmly believe that all labourers have gone through the experience of injustice, exhaustion, and hopelessness from being exploited. In this exhibition, the word labour will be redefined through stories, words, and life experiences that are not easily found in mainstream media or historical documents. These art pieces, meticulously crafted by contemporary female and LGBTQ+ artists, will plunge viewers into the lives of labourers that have been pushed to the margin and made unfamiliar by non-inclusive media.
The exhibition “Crossing the Lines” forces us to interrogate the categorization of gender and social class among other things. The artworks are tied loosely into two groups: crossing physical lines and crossing abstract lines. Here lie in the first group –crossing physical lines –three artists; Jureeporn Pedking’s Chinese: Place of Diasporas (2018-2022) which takes us into the memoryscape of Chinese immigrants of the early Rattanakosin era, while Samak Kosem’s collection of Ethnography of the House (2019), Aliens in Adam’s Apple (2020), The Blue Guy (2020) and Animal Man Show (2022) extrapolates on Shan male sex workers in Chiangmai, and lastly, Duangtawan Sirikoon’s Nannies (2022) takes us into the negotiation of a worker’s identity in their employer’s house.
The following group threads together abstract lines. This starts with Yosita Panitcharoen’s Homemaker Creed (2020) which revolves around the aforementioned unpaid labour, housewife, but with such a different lens as gender framework, which will make us understand the feelings of women whose destinies have been framed solely into being a wife and a mother. Like Panitcharoen, Phanlert Sriprom the only transgender person featuring in the exhibition crticises the process of spiritual transcendence through clothes have been governed by monastery institutions and restricted only for cis-males. Last but not least, the performance art ‘A Bloody Business’ (2022) co-crafted by Sasapon Siriwanij and the curator team reflects the daily life of labourers who have to cover the expense related to ‘period’ by themselves while struggling with making ends meet.
With these physical and abstract lines combined, we realise that all labourers are strung together by certain aspects; either by gender or class issues. Societal recognition or exploitation may differ but one thing we have in common is the status of being a labourer. Considering the ongoing situation where various political movements are calling out for the country to become a welfare state, this issue could not be more “urgent.” By connecting viewers with labourers who have rarely been represented in mainstream media, this exhibition therefore also posits itself as a simulated utopia. Joining the exhibition is thus not different from joining a political protest; screaming and shouting against the government’s failure to take care of its citizens. Lastly, the ultimate goal of the curators is to pass on Karl Marx’s message; everyone is a labourer—to be as inclusive as possible so no one could ever be left behind due to any differences drawn by any “line.”
The exhibition “Crossing the Lines” will be held on the second floor of SAC Gallery from 4 June until 16 July 2022. The official opening ceremony will be held on 4 June 2022.
Hashtag: #sacbangkok #SACCrossingtheLines
นิทรรศการกลุ่มที่ออกแบบและพัฒนาโดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Start! Art Curator รุ่นที่ 2 ได้แก่ กูกสิณา กูบาฮา, ตรีธิดา ไตรสิงห์ และ ปณต ศรีนวล โครงการส่งเสริมภัณฑารักษ์รุ่นใหม่เรียนรู้การสร้างสรรค์นิทรรศการ ผ่านประสบการณ์ทำงานร่วมกันกับทีมงานมืออาชีพ
แรงงาน คำประสมสองพยางค์สั้น ๆ ที่หลายคนคงเคยได้ยินจนคุ้นหู แต่อาจตีความแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ส่วนบุคคล แม้เราจะประสบพบเจอกับแรงงานหลากหลายรูปแบบในชีวิตประจำวัน แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจความหมายและมองผู้อื่นในสถานะผู้ใช้แรงงานเท่ากัน และบ่อยครั้ง ผู้ใช้แรงงานอาจเผลอลืมไปว่าตนก็เป็นแรงงานอีกคนหนึ่งเช่นเดียวกัน
ในโลกทุนนิยมที่มีเงินเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนหลายชีวิตไปข้างหน้า สถานะของคนทำงานค่อย ๆ ถูกขีดแบ่งให้ต่างกันที่ละเล็กละน้อย ไม่ว่าจะเป็นฐานเงินเดือนที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลไปถึงลำดับขั้นในการเสียภาษี ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันระหว่างผู้บริหาร พนักงานประจำ ฟรีแลนซ์ ไปจนถึงลูกจ้างรายวัน รายสัปดาห์ และในกลุ่มแรงงานที่ว่ามานั้น ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ขีดเส้นแบ่งความแตกต่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเส้นนั้นค่อย ๆ ชัดขึ้น และแบ่งแยกให้คนทำงานเหล่านั้นแตกต่างกันมากขึ้นกว่าเดิม จนบางทีอาจขาดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เส้นเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางกายภาพที่พอมองเห็นได้ เช่นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ เส้นแบ่งพื้นที่ในบ้าน-นอกบ้าน หรือเส้นแบ่งทางนามธรรม ที่แฝงอยู่กับอัตลักษณ์ของแรงงานแต่ละคน เช่น เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ความเชื่อ หรือชนชั้น ต่างล้วนแต่กลายเป็นเครื่องกั้นความเป็นพวกพ้องในฐานะผู้ใช้แรงงานทั้งนั้น
แม้คำว่าแรงงานในความหมายกว้างจะหมายถึงแค่การกระทำที่ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่แลกมาด้วยแรงกาย สติปัญญา และเวลาว่างของมนุษย์จำนวนกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ และในโลกทุนนิยม ค่าจ้างเป็นเหมือนเปลวไฟปลุกพลังให้แรงงานหนึ่งคนตื่นก่อนรุ่งสางและกลับบ้านมาพักผ่อนหลังพระอาทิตย์ตกดินในฐานะแรงงาน แต่ในความเป็นจริง ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกแรงกาย แรงใจ หรือสละเวลาว่างเท่ากับหรือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันเพื่อกระทำการใดการหนึ่ง แต่กลับไม่ได้รับค่าจ้าง หรือไม่ได้รับการคุ้มครองที่ชอบโดยกฎหมาย เพียงเพราะงานของเขาไม่ได้ถูกมองว่าเป็นงาน การเรียกร้องสวัสดิการหรือความคุ้มครองใด ๆ จึงถูกซุกไว้ใต้พรม มากกว่าถูกนำมาชี้ให้เห็นปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานเหล่านี้ให้ดีขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อกระแสหลักก็เป็นอีกกลไกสำคัญในการสร้างการรับรู้ความหมายของคนหมู่มากในสังคม ภาพของแรงงานในสื่อมักถูกฉายด้วยภาพจำเดิม ๆ โดยจำกัดความเป็นแรงงานไว้กับชนชั้นรากหญ้า และแรงงานเพศชาย ที่มักใช้แรงกายแบกหามเป็นหลัก เมื่อภาพแทนในสื่อไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนำเสนอภาพแรงงานที่หลากหลาย ความเข้าใจของคนส่วนมากจึงจำกัดอยู่แค่ที่แรงงานดังกล่าว ทั้งที่จริงแล้ว การมีบทบาทในทางใดทางหนึ่งที่ต้องอาศัยแรงกาย แรงใจของบุคคลหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีผลตอบแทนเป็นเม็ดเงิน แต่ถ้าผลของการกระทำเหล่านั้นส่งผลต่อสังคมไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ก็หมายความว่าแรงงานนั้นเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนสังคมได้เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ นิทรรศการ “Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น” ต้องการตอกย้ำคำพูดที่ว่า ทุกคนเป็นแรงงาน แน่นอนว่าเราไม่ได้กำลังเหมารวมว่าแรงงานทุกคนเหมือนกันและสามารถทดแทนกันได้ แต่เราเชื่อว่าผู้ใช้แรงงานทุกคนต้องเคยรู้สึกถึงความอยุติธรรม ความเหนื่อยล้า ท้อแท้ ที่เป็นประสบการณ์ร่วมอันเกิดจากการถูกระบบและนายจ้างขูดรีดไม่ต่างกัน ในนิทรรศการนี้ คำว่าแรงงานจะถูกตีความใหม่ผ่านคุณค่าที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่มูลค่าทางเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน แรงงานจะถูกนำเสนอผ่านเรื่องราว คำบอกเล่า ประสบการณ์ชีวิต ที่อาจจะไม่ปรากฎในสื่อกระแสหลักตลอดจนหน้าประวัติศาสตร์ งานศิลปะโดยศิลปินไทยร่วมสมัยเพศหญิงและ LGBTQ+ จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการพาเราไปตั้งคำถามในระหว่างการสำรวจเรื่องราวของแรงงานที่สังคมไม่คุ้นชินอันเกิดจากการบกพร่องในการนำเสนอของสื่อ
นิทรรศการ “Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น” เน้นย้ำไปที่การสำรวจเส้นแบ่งที่เป็นประเด็นในการแบ่งแยก ‘หมวดหมู่’ อย่าง ‘เพศ’ และการแบ่งแยก ‘ระดับ’ อย่าง ‘ชนชั้น’ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งแยกผลงานของศิลปินที่ถูกนำเสนอจะแบ่งผ่านเส้นในเชิงกายภาพและเส้นในเชิงนามธรรม โดยหมวดหมู่แรกหรือเส้นในเชิงภายภาพ จะประกอบไปด้วยผลงานของ จุรีพร เพชรกิ่ง ชุด จีนนอกนา ที่สำรวจเรื่องราวของชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาหาเงินจุนเจือปากท้องในสยาม งานสื่อผสมของ สมัคร์ กอเซ็ม ชุด Ethnography of the House, Aliens in Adam’s Apple, The Blue Guy และ Animal Man Show (2022) ที่บอกเล่าการเคลื่อนย้ายของชายไทใหญ่ที่ต้องพลัดถิ่นมาค้าบริการในเชียงใหม่ และภาพถ่ายชุด Nannies (2022) ของ ดวงตะวัน ศิริคูณ จะพาผู้ชมไปพิจารณาถึงความพร่าเลือนของอัตลักษณ์คนทำงานจากต่างจังหวัดเมื่อต้องก้าวเข้าไปสู่พื้นที่ที่เป็นบ้านของ ‘คนอื่น’
ถัดจากเส้นในเชิงกายภาพ ก็จะเข้าสู่โลกที่ถูกกางกั้นด้วยเส้นในเชิงนามธรรม โดยงานของ โยษิตา พานิชเจริญ ชุด Homemaker Creed (2020) จะเชื่อมกับประเด็น ‘แม่บ้าน’ จากงานศิลปะที่ผ่านมา แต่ใช้วิธีการวิพากษ์ผ่านคอนเซ็ปต์ที่ตาจับต้องไม่ได้อย่าง ‘กรอบเพศ’ ที่ทำให้เราเข้าใจถึงอารมณ์ของผู้หญิงที่ถูกกรอบทางเพศกำหนดไว้ให้เป็นเพียง เมีย และ แม่ จนกลายเป็นคำถามที่สังคมไม่เคยให้คำอธิบาย คล้ายกับวิธีการนำเสนองานของ พันเลิศ ศรีพรหม ศิลปินข้ามเพศหนึ่งเดียวในนิทรรศการ ที่วิจารณ์กระบวนการการก้าวข้ามทางจิตวิญญาณผ่านเครื่องนุ่งห่ม ที่ถูกควบคุมโดยสถาบันสงฆ์และสงวนไว้ให้เพียงเพศชายตามกำเนิดเท่านั้น ผ่านชุดงานประเภทภาพถ่ายของเธอ และปิดท้ายด้วยศิลปะการแสดงชุด A Bloody Business (2022) จาก ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ และทีมงาน ที่ฉายให้ผู้ชมเห็นถึงชีวิตประจำวันของแรงงานที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจากผลิตภัณฑ์ ‘ประจำเดือน’ ที่สวนทางกับค่าครองชีพ
เมื่อผสานเส้นทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงนามธรรม ก็จะพบว่า แรงงานทั้งหมดที่นำเสนอถูกยึดโยงกันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเส้นกางกั้นด้านเพศหรือเส้นกางกั้นทางชนชั้น และแม้จะเหมือน จะต่าง จะถูกยกย่อง หรือจะถูกกดทับอย่างไรก็ตามแต่ สิ่งหนึ่งที่ทุกผู้ใช้แรงงานมีร่วมกันก็คือ สถานะการเป็นแรงงาน เมื่อเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเด็นเรื่องรัฐสวัสดิการถูกเรียกร้องให้เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ก็ยิ่งขับเน้นถึง ‘ความเร่งด่วน’ ของวิกฤตดังกล่าวไปอีก เมื่อการนำเสนอภาพผู้ใช้แรงงานในนิทรรศการที่ไม่เคยปรากฏอย่างชัดเจนมาก่อนในสื่อกระแสหลักเป็นเสมือนการจำลองโลกในอุดมคติ การเข้าร่วมงานนิทรรศการนี้จึงไม่ต่างอะไรกับเสียงก่นร้องและการประท้วงตามท้องถนนที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนของความล้มเหลวในการโอบอุ้มประชาชนโดยรัฐบาล ท้ายที่สุด ความมุ่งหวังของกลุ่มภัณฑารักษ์ก็คือ การส่งต่อประเด็นของ ‘คาร์ล มาร์กซ์’ ที่เชื่อว่า “มนุษย์ทุกคนต่างคือแรงงาน” เพื่อไม่ให้มีใครคนใดคนหนึ่งถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพียงเพราะความแตกต่างจาก ‘เส้น’ ใด
นิทรรศการ “Crossing the Lines” มีกำหนดจัดแสดงระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหอศิลป์ ชั้น 2 เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 15:00 น. เป็นต้นไป
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.