Polychrome: by Kanchalee Ngamdamronk

20 August - 19 November 2022

Materiality appears as an object and responds in the sense of searching for meaning with human beings conscious of their existence.

Dont rush on giving meaning to it.
Once your eyes are off for a second, those meanings will instantly vanish.

Experimenting and using other materials such as plastic as a central material in the artists creations enables plastic to become a weaving material. The artist has experimented with a simple process of testing several times that shatters the inherent nature of plastic. The process allowed us to express normality in the state of textures, colors, and interactions with the space in which it existed at different times. Once your eyes eluded and the second changes, the light hits a spectrum differently. All of the creation’s sense of understanding the meaning of each piece of work is volatile.

Kanchalee Ngamdamronk has tried cutting, sewing, and forming through plastic weaving to use it as a medium for talking to you. She transforms textiles into a universal language for exchanging experiences through the work of two-dimensional woven fabrics arising from the process of trading and experimenting with artisans from the Lisu ethnic community while letting the outcome come naturally. The surface of the work becomes a space that reflects the experiences accumulated over generations and is not attached to the material for weaving with colorful geometric patterns through the faithful use of color from the texture and color of the plastic, cutting, and stitched together.

The exchange is part of the learning process through the artists work. Altering the experience with the traditional pillow by artisanal workers in Lamphun Province, it becomes an experience that does not depend on the function of being used as a pillow, instead transcends into a state that raises questions about the independence of objects through the three-dimensionality of the workpiece like a shape borrowed from a pad but does not function as a pillow—formed by the process of exchange between artists, artisans, and materials.

With these conditions, there is an exchange between one thing and another. Considering back and forth, Ngamdamronk traced back the origin of her creative process through hand weaving, creating a cycle of linguistic expression with patterns formed by cutting lines and colors that make patterns. Including the fun experimenting with plastic in weaving, it had become a new language that had new roles when textile art created the tactile language of painting while still being able to read in all directions. The same touch as a sculpture and, ultimately, materiality affects the works perceived experience with a thoughtful touch from contact with the materials.

The perceived and tactile experiences of what we see always differ from what we expected.

Visual features and the resulting touch changed the meaning of the material, freeing the object independently from its object-to-function semantics. In some places, it might just be a luxury, and in some areas, it is genuinely unknown that invites questioning to human beings who are conscious of the existence of things, not just to create answers to existing questions. Whether its for walking, sitting, or even wearing, those are all just functions that make a collective experience of the existence of objects. However, leaving the moment for the eyes to absorb as a part of the scrutiny process to feel the different touches and put them together within the workpiece. Instead, it allows us to experience the natural features and get to know it as it is, enjoying, simple, and sincere.


The exhibition “Polychrome” will be held on the third floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 20 August until 19 November 2022. The official opening ceremony will be held on 20 August 2022, 4:00PM onward.


Hashtag: #SACKanchalee


 

ความเป็นวัสดุ ปรากฏอยู่ในความเป็นวัตถุ และตอบสนองในเชิงของการค้นหาความหมายกับมนุษย์ผู้มีสำนึกคิดต่อการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น

อย่าเพิ่งรีบให้ความหมายกับมัน เมื่อคุณละสายตาความหมายเหล่านั้นจะอันตรธานไปทันที

ด้วยการทดลองและนำเอาวัสดุอื่นๆ อย่างพลาสติก มาใช้เป็นวัสดุกลางในการสร้างสรรค์งานของศิลปิน ทำให้พลาสติกกลายเป็นวัสดุเพื่อการถักทอ ศิลปินได้ทดลองด้วยกระบวนการทดสอบที่เรียบง่าย หลายครั้งที่ทำให้ความเป็นปกติวิสัยของพลาสติก ได้ถูกปล่อยให้ได้แสดงออกถึงความเป็นปกติในสภาวะของผิวสัมผัส สีสัน และการทำงานร่วมกันกับพื้นที่ที่ตัวของมันเองดำรงอยู่ในแต่ละช่วงเวลา เพียงแค่ชั่วจังหวะหลบสายตา การเปลี่ยนแปลงของเวลาและแสงที่กระทบ ล้วนทำให้สัมผัสต่อการทำความเข้าใจความหมายของงานแต่ละชิ้นเปลี่ยนแปลงไป 

กรรณชลี งามดำรงค์ ได้นำเอาพลาสติกมาทดลองตัด ทดลองเย็บ ขึ้นรูปผ่านการถักทอ ไปจนถึงการนำเอาพลาสติกมาเป็นวัสดุกลางในการพูดคุยกับกลุ่มคน ทำให้สิ่งทอกลายเป็นภาษาสากลที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ผ่านผลงานผ้าทอสองมิติ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแลกเปลี่ยนและทดลองร่วมกันกับช่างฝีมือจากชุมชนชาติพันธุ์ลีซู โดยไม่คาดการณ์ถึงผลลัพธ์ พื้นผิวของงานกลายเป็นพื้นที่สะท้อนประสบการณ์ที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น และการไม่ยึดติดอยู่กับความเป็นวัสดุเพื่อการถักทอ ด้วยลวดลายเรขาคณิตสีสันสดใสผ่านการเลือกใช้สีอย่างซื่อตรงจากพื้นผิวและสีของพลาสติกมาตัดเย็บและร้อยเรียงเข้าด้วยกัน

การแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ผ่านการทำงานของศิลปิน เปลี่ยนให้ประสบการณ์ที่มีต่อหมอนปล่อง โดยช่างฝีมือจังหวัดลำพูน กลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่อ้างอิงกับฟังก์ชั่นของการใช้งานในฐานะหมอน กลายเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นอิสระของวัตถุ ผ่านความเป็นสามมิติของชิ้นงาน เหมือนรูปทรงที่หยิบยืมมาจากหมอนปล่อง กลับไม่ได้ทำงานในฟังก์ชั่นของการเป็นหมอน ที่ประกอบขึ้นมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปิน ช่างฝีมือ และวัสดุ  

ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้เองทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งหนึ่งถึงสิ่งหนึ่ง พิจารณากลับไปกลับมา กรรณชลี ย้อนกลับไปหาต้นทางของของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง ผ่านการทอมือ ที่สร้างกระบวนการแสดงออกทางภาษาด้วยลวดลายที่เกิดขึ้นจากการตัดของเส้นและสีที่ทำให้เกิดลวดลาย และการทดลองเล่นสนุกกับการนำพลาสติกมาใช้ในการทอ เกิดเป็นภาษาและท่าทีที่แปลกใหม่ เมื่องานศิลปะสิ่งทอ (textile art) สร้างภาษาสัมผัสของงานศิลปะจิตรกรรม (painting) ขณะเดียวกันก็ยังสามารถอ่านได้รอบทิศ ในผัสสะแบบเดียวกันกับประติมากรรม และท้ายที่สุดความเป็นวัสดุซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์การรับรู้ของงาน พร้อมผัสสะที่แหลมคมจากการสัมผัสกับวัสดุ

ประสบการณ์การรับรู้และสัมผัสที่มีต่อสิ่งที่เรามองเห็น ล้วนแตกต่างจากที่เราคาดการณ์เสมอ

คุณสมบัติทางสายตา และสัมผัสที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนให้ความหมายของวัสดุ ในการสร้างวัตถุ ให้เป็นอิสระจากความหมายในเชิงวัตถุเพื่อฟังก์ชั่น ในบางแห่งอาจเป็นเพียงแต่สิ่งฟุ่มเฟือย และในบางแห่งก็เป็นสิ่งที่ยังไม่รู้โดยแท้ ที่ชวนให้เกิดการตั้งคำถามต่อมนุษย์ผู้มีสำนึกต่อการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ ไม่ใช่เพียงเพื่อสร้างคำตอบต่อคำถามที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเดิน การนั่ง หรือแม้กระทั่งการสวมใส่ สิ่งเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเพียงฟังก์ชั่น ที่สร้างประสบการณ์รวมต่อการมีอยู่ของวัตถุ หากแต่การปล่อยช่วงเวลาให้สายตาได้ซึมซับ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการพินิจ เพื่อสัมผัสถึงผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น และประกอบเข้าด้วยกันภายในชิ้นงาน กลับทำให้เราได้สัมผัสถึงคุณลักษณะที่แท้จริง และทำความรู้จักกับมันอย่างที่มันเป็น ความสนุกสนาน เรียบง่าย และจริงใจ


นิทรรศการ “Polychrome” จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม - 19 พฤศจิกายน พ.. 2565 ณ ชั้น 3 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 20 สิงหาคม .. 2565 ตั้งแต่เวลา 16:00 . เป็นต้นไป