Twilight of the Icons : by Uttaporn Nimmalaikaew

10 September - 3 December 2022

When history requires a ‘face’ of its own to be remembered, monuments are erected based on a longing for the past. People endeavor to intertwine themselves with history, even though history can often be obscure or even fabricated. It is a desire that spurs us to fear the loss or disappearance of something, or that proof of our existence will cease to exist, and so the construction of monuments as a form of historical remembrance is done around the world, even though the object itself is foreign, or even conflicting in its own origins.

 

The “Twilight of the Icons” exhibition by Uttaporn Nimmalaikaew is the first time these critical sculptures are presented in the form of a mixed-media work upon layers of gauze, producing a result not-unlike three-dimensional holograms. Upon closer inspection, these images are the product of shadows cast in the gap between its status as paintings, and the original sculptures they are based upon, many of which have been developed into monuments. With the artist’s signature techniques, which reveal the vagueness and clarity from certain perspectives. Uttaporn makes an important observation of the likeness sculptures that once existed as works of artisanry, before ultimately becoming tools for the ruling class.

 

These images of the original sculptures Uttaporn has chosen are an important representation of an important chapter of Thai history, related to the changing times through the changing ideologies regarding politics and governance. These works of remembrance paint an image of a war for recognition, and it is often impossible to determine with any certainty what these people truly look like. The importance, perhaps, isn’t the passing on of a likeness, but the stories, legends, and histories require a face, to allow the people to remember the ideals that nurtured us, giving it a form to look upon. 

 

As such, the appearance of a monument isn’t merely significant as a person’s likeness, as memories can often become deceiving with time. As representations of ideals (even though those ideals are entirely made up), the existence of these monuments pertain to art in the sense of attributing significance. As such, art can never be detached from certain ideologies. It is this exhibition’s objective to take us back to the days when master sculptor from Florence, Italy, Silpa Bhirasri entered into service in the Thai Royal Court in the days of King Mongkut. Throughout Silpa’s lifetime, Thailand’s central authority has changed hands often. In many cases, when we are called upon to study history, we cannot fail to question the creations of Silpa Bhirasri and his peers. The creation of sculptures as a tool for governance based on the state’s policies are their direct responsibilities, with those works still existing today, when the war for recognition is being fought through various monuments more intensely than ever before.

 

Uttaporn’s most recent mixed-media installation takes advantage of the current situation within the contemporary art scene, with its purpose derived from the objects of worship from the past, or the definition of ‘aestheticization’. This shows that some objects are created using artistic concepts, though their significance may have been “twisted” into that of worship and history, or any other use imaginable. The same can be said of many tools created for practical use, though the removal of purpose can be interpreted as a critique by way of turning it into art. As such, this fluidity of the meaning of images and objects in the way Uttaporn has conceived can be considered an attempt to remove the sculptures’ purpose as items of worship. To remove the person from the surface, leaving only the transience of memory and history. The raiments of ideals become new sources of interest for those in the present, as many monuments long displayed in public are made to disappear with no trace in the last several years.

 

Uttaporn’s works highlight how the thought processes of contemporary art can give rise to new interpretations of criticism through the creation of art. Something as simple as repeating the same thing at a different place, at different times. Often the aesthetics of contemporary art appear through acts “at the right place and time”. Do monuments possess any purpose? Or are they merely repositories of time and memories? We currently live in a time where everything is aestheticized, meaning that we are approaching a historical boundary. Aestheticization itself has political connotations, from art to representations of celebration, veneration, and in some cases can give rise to revised histories, whether deliberate or not. Uttaporn has brought the images of these monuments back in the form of a contemporary art exhibition, which further imbues these sculptures with questions regarding the significance of their existence and creation.

 

If monuments exist on a crossroads between art and tools of political celebration, sculptures receive a new role as objects of worship. Monuments become things that are built with no connection to the community. The existence of state agencies that are responsible for building these monuments raises intriguing questions, further giving the impression of a factory, churning out memories that are confused and conflicting, as time goes on. 

 

The “Twilight of the Icons” exhibition leaves many remarkable questions concerning history, and the monuments that ancient innovators have left. These things work with the thoughts of humans for hundreds of years. In today’s context, Uttaporn invites us to critique these likeness portraits alongside the workings of time. While we forget, the ambiguity gives rise to new recollections. We may simply be among those who are following the “shadow” of history, vague and fragile. It bears remembering that authority and ideals have direct relations to us. Many monuments in public places are vanishing. Iconoclasm, whether it be in the form of statues or monuments, is an act that deprives history from our memories. And once enough time has passed for us to forget, something else will take their place. Not only our memories, but our entire identities can be systematically and inevitably reconstructed. 

 

The exhibition “Twilight of the Icons” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 10 September until 3 December 2022. The official opening ceremony will be held on 10 September 2022, 5:00PM onwards.

 
Hashtag: #SACUttaporn
 

 
เมื่อประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมี “หน้าตา” ของตัวเองเพื่อให้ถูกจดจำได้ อนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นจากการโหยหาอดีต ผู้คนพยายามเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับประวัติศาสตร์ ถึงแม้บางครั้งประวัติศาสตร์นั้นจะคลุมเครือหรือกระทั่งไม่มีอยู่จริง มันคือการโหยหาที่กระตุ้นให้เรารู้สึกกลัวว่าบางสิ่งจะสูญหายหรือหลักฐานบางอย่างจะหายไป ทำให้การสร้างอนุสรณ์เพื่อเป็นรูปแบบของสำนึกทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งนิยมไปทั่วโลก แม้วัตถุนั้นจะเต็มไปด้วยความแปลกแยก หรือขัดแย้งกันเองในเรื่องเล่าก็ตาม
 
นิทรรศการ “Twilight of the Icons” โดย อัฐพร นิมมาลัยแก้ว เป็นครั้งแรกที่ภาพประติมากรรมสำคัญได้รับการถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบผลงานสื่อประสมบนผ้าโปร่งที่ทับซ้อนกันเสมือนภาพสามมิติ หากสังเกตภาพเหล่านี้คือ เงา ที่ติดอยู่ตรงกลางระหว่างสภาวะของจิตรกรรม และประติมากรรมต้นแบบที่หลายๆ ชิ้นได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นอนุสาวรีย์ ด้วยเทคนิคเฉพาะตัวของศิลปินที่เผยทั้งความพร่าเลือนและแจ่มชัดในบางมุมมอง อัฐพรตั้งข้อสังเกตสำคัญของประติมากรรมภาพเหมือนที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสถานะงานช่าง และนำไปสู่การเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครอง
 
ภาพประติมากรรมต้นแบบที่อัฐพรนำเสนอเหล่านี้คือตัวแทนจากฉากสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจากแง่มุมของการเมืองและการการปกครอง ความเป็นอนุสาวรีย์เหล่านี้สะท้อนภาพการช่วงชิงพื้นที่ทางความทรงจำ และหลายๆ ครั้งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าบุคคลในประวัติศาสตร์เหล่านั้นมีรูปร่างหน้าตาที่แท้จริงอย่างไร ความสำคัญอาจไม่ใช่การถ่ายทอดความเหมือน แต่เรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ก็จำเป็นที่จะต้องมีหน้าตาเพื่อสื่อสารให้ผู้คนได้จดจำว่าอุดมการณ์ที่หล่อหลอมเรานั้นปรากฏตัวในลักษณะไหน มีรูปร่างให้มองอย่างไร
 
หน้าตาของอนุสาวรีย์จึงไม่ได้อยู่ในรูปแบบของประติมากรรมบุคคลเพียงอย่างเดียว เพราะหน้าตาของความทรงจำเปลี่ยนไปได้เสมอ ในฐานะของสิ่งที่เป็นตัวแทน เป็นรูปร่างทางอุดมการณ์ (แม้อุดมการณ์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นก็ตาม) การมีอยู่ของอนุสาวรีย์เกี่ยวของกับศิลปะในแง่มุมของการสร้างความหมาย ศิลปะกับอุดมการณ์บางอย่างจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นความจงใจของนิทรรศการนี้ที่ชวนให้เราย้อนกลับไปนับแต่วันที่ ศิลป พีระศรี ประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้าประจำการในฐานะข้าราชการไทยที่ต้องใช้ทักษะของตนในการสร้างภาพสนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมือง ในช่วงชีวิตของศิลป พีระศรี การปกครองถูกถ่ายอำนาจไปมาหลายครั้ง หลายๆ กรณีเมื่อเราต้องศึกษาประวัติศาสตร์ เราไม่สามารถละเว้นคำถามไปยังการสร้างสรรค์ของ ศิลป พีระศรี และกลุ่มบุคคลที่อยู่รอบๆ ตัวเขาได้ ประติมากรรมในฐานะเครื่องมือปกครองผ่านนโยบาย คือหน้าที่โดยตรงของพวกเขาที่ต้องสร้างประติมากรรมเพื่อชี้นำอุดมการณ์และความทรงจำ
 
ผลงานสื่อประสมจัดวางของอัฐพรในครั้งนี้ เรียกได้ว่าใช้สถานการณ์ความเป็นศิลปะร่วมสมัยถอดหน้าที่ใช้สอยจากวัตถุทางศิลปะในเชิงสักการะที่มีมาแต่เดิม หรือที่นิยามของ “aestheticization” แสดงให้เห็นว่าวัตถุบางชนิดเริ่มต้นสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดทางศิลปะ แต่หลังจากนั้นความหมายอาจถูก “บิด” และ เบือน ให้กลายเป็นวัตถุทางความเชื่อและประวัติศาสตร์ หรือหน้าที่อื่นๆ ที่พอจะจินตนาการได้ เช่นกับที่วัตถุบางชิ้นถูกสร้างมาเพื่อการใช้งาน แต่การถอดหน้าที่ใช้สอยออกไปก็เสมือนการวิพากษ์ด้วยการทำให้กลายเป็นงานศิลปะ ดังนี้การลื่นไหลทางความหมายของภาพและวัตถุ ในรูปแบบที่อัฐพรได้สร้างขึ้นครั้งนี้ จึงเป็นความพยายามที่จะถอดความเป็นวัตถุบูชาออกจากประติมากรรม ถอดภาพบุคคลสำคัญออกจากพื้นผิว เหลือเพียงความเบาหวิวของความทรงจำและประวัติศาสตร์ อาภรณ์ของอุดมการณ์ได้กลายเป็นความสนใจใหม่ๆ ของคนในยุคปัจจุบัน เมื่อพบว่าอนุสาวรีย์บางชิ้นในที่สาธารณะได้ถูกทำให้หายไปอย่างไร้ร่องรอยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
 
ผลงานของอัฐพรขับเน้นให้เห็นว่า กระบวนความคิดทางศิลปะร่วมสมัยสามารถสร้างนิยามของการวิพากษ์ ผ่านกระบวนการทำศิลปะอย่างไร สิ่งที่เรียบง่ายอย่างการนำเสนอซ้ำบนความแตกต่างของกาลเทศะ ในบางครั้งสุนทรียภาพแบบศิลปะร่วมสมัยปรากฏด้วยการกระทำอย่าง “ถูกที่ถูกเวลา” อนุสาวรีย์มีหน้าที่ใช้สอยหรือไม่? หรือเป็นเพียงเครื่องบรรจุเวลาและความทรงจำ เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่เรา aestheticization ทุกสิ่งทุกอย่าง ตีความได้ว่าเรากำลังเดินทางมาถึงเขตรั้วของประวัติศาสตร์ aestheticization มีนัยยะความเป็นการเมืองในตัวเอง จากศิลปะไปสู่ภาพแทนแห่งการเฉลิมฉลอง การสักการะ และในบางกรณีก็นำไปสู่บทบาทของประวัติศาสตร์ที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม อัฐพรได้นำภาพของอนุสาวรีย์เหล่านี้กลับเข้ามาในรูปแบบของนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ยิ่งกลับทำให้ประติมากรรมเหล่านี้เต็มไปด้วยคำถามต่อเป้าหมายของการมีอยู่และวัตถุประสงค์ของการสร้าง
 
หากอนุสาวรีย์คือวัตถุที่อยู่บนทางสองแพร่งระหว่างการเป็นศิลปะและการเฉลิมฉลองเพื่อการเมือง ประติมากรรมได้รับหน้าที่ใหม่ในฐานะสิ่งบูชาสักการะ อนุสาวรีย์ก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่ยึดโยงกับชุมชม การมีอยู่ของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบงานเหล่านี้สร้างคำถามที่น่าสนใจ และยิ่งดูราวกับโรงงานที่ผลิตความทรงจำที่สับสน ย้อนแย้ง เมื่อเวลาได้ผ่านไป
 
นิทรรศการ “Twilight of the Icons” ได้โปรยคำถามไว้มากมายที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ที่นวัตกรรม (Innovator) โบราณได้สร้างสรรค์ขึ้น สิ่งนี้ทำงานกับความนึกคิดของผู้คนมาหลายร้อยปี ในสถานการณ์ของวันนี้ ผลงานของอัฐพร นิมมาลัยแก้ว ชวนให้เราร่วมวิพากษ์ภาพบุคคลและการทำงานของเวลา ในขณะที่เรากำลังหลงลืม ความพร่าเลือนก็ได้สร้างความทรงจำใหม่ขึ้น เราอาจจะเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังเดินตาม “เงา” ของประวัติศาสตร์ที่เลือนลางและสั่นไหว อย่าลืมว่าอำนาจและอุดมการณ์เหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์กับเราโดยตรง มีอนุสาวรีย์ในพื้นที่สาธารณะอีกมากมายกำลังถูกทำให้หายไป การทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของรูปปั้น อนุสาวรีย์ ล้วนเป็นการพรากประวัติศาสตร์ออกไปจากความทรงจำของเรา และเมื่อนานพอที่ทำให้เราลืมได้ สิ่งใหม่จะมาแทนที่ ไม่ใช่เพียงความทรงจำแต่นั่นคือตัวตนของเราที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่อย่างเป็นแบบแผนและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 

นิทรรศการTwilight of the Iconsจัดแสดงระหว่างวันที่ 10 กันยายน - 3 ธันวาคม .. 2565  ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 10 กันยายน .. 2565 ตั้งแต่เวลา 17:00 . เป็นต้นไป