แผลเก่า / Old Wound: by Prateep Suthathongthai

8 October 2022 - 21 January 2023
Paintings are diverse, varying with eras and concepts; physically, painting in common knowledge is composed of layers of paint on the visible plane. No matter how the equipment, materials, or techniques change, the painting still needs a layer of paint on a two-dimensional surface. Even the body of knowledge or concepts will be an addition to the painting aesthetics, whether it is an illusion realism, depth simulation, or mechanism of storytelling in paintings. Intricate explanations have been devised to turn an image into a valuable art through the artists proficiency.
 
The “Old Wound” exhibition by Prateep Suthathongthai is another development of an artist who is interested in historical evidence through documents, publications, as well as telling stories. These are one of the key channels that allow us to access historical data. Direct copying of the painting signifies a different meaning than reproduction, especially when talking about “becoming” a work of art by transferring the physical object to another language system. Suthathongthai let the painting speak of its essential role as a medium by drawing things straight into pictures. As if his painting was a deliberation process, conveyed without prejudice or emotion or even showing signs of craftsmanship to suppress the manifestation of anything that is not involved in this simulation of the object.
 
Suthathongthai is not copied as a picture to a picture but instead copying the object to the image, translating historical objects into the form of paintings. Each trace communicates the antiquity of the object to the audience and what each defect appeared. If the process of drawing is to spend time staring, an elaborate reimagining of objects could also be called “revisited” with a different set of circumstantial understanding of time. Leaving a white border as the background of the painting indicates the intention to highlight those publications as physically visible. It was as if the image was a process of conveying the state of an object even more precisely than photography.
 
The paintings in this exhibition have become visible signs, clear and unmistakable. It can convey a message about the unseen. These newly copied objects are symbolic, possibly communicating to the audience with direction or without direction, from when publications are full of things perceived by the public and subjects of interest to the masses. Painting always conveys an essential such as the caption on the cover of the book. The viewers eye will be a significant variable that will help widen the wound. As aforementioned, if the physicality of painting is a layer of paint on a flat plane, it is even more interesting to think about how the objects we see as paintings are and how time interferes with the memories. “Old Wounds” may be evidence that does not provide a clear historical picture but hidden beneath is a story of expectation and curiosity that cannot resurface. We can only associate these paintings with fading memories or thoughts; however, this is perhaps the only and most obvious one in the history of this ridiculous country.
 
The exhibition “Old Wounds” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 8 October 2022 until 21 January 2023. The official opening ceremony will be held on 15 October 2022, 4:00PM onwards.
 
Hashtag: #SACPrateep
 

 
จิตรกรรมนั้นมีความหลากหลายแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและแนวคิด โดยกายภาพของจิตรกรรมที่ทุกคนต่างรู้ว่าเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นด้วยชั้นสีบนระนาบที่มองเห็นได้ ไม่ว่าอุปกรณ์ วัสดุ หรือเทคนิคจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่จิตรกรรมก็ยังคงอยู่บนเงื่อนไขที่ต้องมีชั้นสีอยู่บนพื้นผิวสองมิติ แม้องค์ความรู้หรือแนวความคิดต่างๆ จะเป็นส่วนเสริมให้จิตรกรรมเกิดสุนทรียภาพ ไม่ว่าจะเป็นความลวงตา ความเหมือนจริง การจำลองมิติความลึก กลไกการเล่าเรื่องในภาพเขียน คำอธิบายอันซับซ้อนได้ถูกคิดขึ้นเพื่อให้การวาดภาพกลายเป็นศิลปะที่มีคุณค่าด้วยการใช้ “ฝีมือ” ของจิตรกรเอง
 
นิทรรศการ แผลเก่า / Old Wound โดย ประทีป สุธาทองไทย คืออีกพัฒนาการหนึ่งของศิลปินที่สนใจในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ผ่านเอกสาร สิ่งพิมพ์ รวมถึงการบอกเล่า สิ่งเหล่านี้เป็นช่องทางสำคัญหนึ่งที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลในอดีต การคัดลอกด้วยจิตรกรรมอย่างตรงไปตรงมามีความหมายที่แตกต่างจากการผลิตซ้ำ โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพูดถึงการทำให้ “กลาย” เป็นงานศิลปะ ด้วยการถ่ายทอดกายภาพของวัตถุไปสู่อีกระบบภาษาหนึ่ง ประทีปเลือกที่จะให้จิตรกรรมได้พูดถึงหน้าที่อันสำคัญในฐานะสื่อ ด้วยการวาดวัตถุให้กลายเป็นภาพอย่างตรงไปตรงมา ราวกับว่าการวาดภาพของเขาคือกระบวนการพิจารณา ถ่ายทอด โดยไร้อคติ ไร้อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้กระทั่งการหลีกเลี่ยงที่จะแสดงให้เห็นรอยฝีมือ เพื่อกดทับการ “สำแดง” ของอะไรก็ตามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจำลองวัตถุในครั้งนี้
 
การ “แปล” วัตถุในประวัติศาสตร์ให้อยู่ในรูปแบบของจิตรกรรม ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าประทีปไม่ได้คัดลอกในฐานะภาพสู่ภาพ แต่ในทางกลับกันเป็นการคัดลอกวัตถุไปสู่ภาพ ไม่ว่าจะเป็นร่องรอยที่สื่อสารกับผู้ชมว่าวัตถุนั้นมีความเก่าแค่ไหน มีตำหนิอย่างไร หากการวาดภาพเป็นการใช้เวลากับการจ้องมอง การบรรจงถ่ายทอดวัตถุขึ้นมาใหม่ หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าเป็น การถูกทำให้ “มองเห็นอีกครั้ง” ด้วยความเข้าใจที่แตกต่างทางเวลาและสถานการณ์ การทิ้งขอบขาวให้เป็นพื้นของภาพวาด บ่งชี้ให้เห็นถึงความจงใจในการขับเน้นสิ่งพิมพ์เหล่านั้นในฐานะกายภาพที่ตาเห็น ราวกับว่าจิตรกรรมคือกระบวนการถ่ายทอดสภาวะของวัตถุเสียยิ่งกว่าการถ่ายภาพ
 
ภาพวาดในนิทรรศการครั้งนี้ได้กลายเป็นสัญญะที่มองเห็นได้ ทั้งชัดเจน ไม่ผิดเพี้ยน สามารถเชื่อมโยงสื่อความไปยังสิ่งที่มองไม่เห็น วัตถุที่ถูกคัดลอกขึ้นใหม่เหล่านี้คือสัญญะที่สื่อสารกับผู้ชมอย่างมีทิศทาง หรืออาจจะไม่มีทิศทางก็ย่อมเป็นไปได้ จากยุคสมัยที่สิ่งพิมพ์เต็มไปด้วยเรื่องที่ถูกรับรู้ในระดับสาธารณะ หรือเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนหมู่มาก จิตรกรรมทำให้สิ่งที่ถูกถ่ายทอดมีความสำคัญเสมอ ไม่เว้นแม้แต่คำกำกับภาพบนปกหนังสือ สายตาของผู้ชมในฐานะ “ตัวแปร” สำคัญ จะช่วยขยายบาดแผล และอย่างที่เกริ่นในตอนต้นถ้ากายภาพของจิตรกรรมคือชั้นสีบนระนาบแบนๆ ก็ยิ่งน่าคิดว่าวัตถุที่เราเห็นในฐานะภาพวาดนั้นจริงแท้แค่ไหน กาลเวลาทำงานกับความทรงจำอย่างไร “แผลเก่า” อาจเป็นหลักฐานที่ไม่ได้ให้ภาพทางประวัติศาสตร์ที่ชัดแจ้ง แต่ได้ซ่อนเรื่องราวภายใต้ความคาดหวัง ความใคร่รู้ ที่ไม่อาจจะแง้มเปิดได้อีกครั้ง เราได้เพียงแต่เชื่อมโยงจิตรกรรมเหล่านี้เข้ากับความทรงจำหรือความคิดที่ลางเลือน แต่ในทางกลับกัน นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่ชัดเจนที่สุดสำหรับประวัติศาสตร์ของประเทศสารขัณฑ์นี้
 
นิทรรศการ “แผลเก่า / Old Wound” จัดแสดงระหว่างวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 21 มกราคม พ.ศ. 2566  ชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 15 ตุลาคม .. 2565 ตั้งแต่เวลา 16:00 เป็นต้นไป