เมืองลับแล Invisible Town

27 January - 12 April 2024

Stunning embroidery and painting on black textile are aesthetics familiar in Thidarat Chantachua's, known as Mariem’s, works, deeply connected to her proud Islamic heritage. She extensively explores geometric patterns, using them to represent architectural elements and situational narratives. Her experimentation extends beyond traditional Arabesque motifs to include influences from Japanese, Chinese, and Roman designs. In this new solo exhibition, Invisible Town, she traces further back to her identity; the context of her surroundings and their issues.

 

Bangkok might be a paradise for some people. Nonetheless, to some extent, Bangkok is top-ranked in many issues, among which pollution is one. Most problems in Bangkok can be seen as caused by a deficiency in city planning. Due to corruption and the rapid expansion of the city, numerous areas lack proper structure, including the neighborhood where Mariem grew up and lives. While this location is typically regarded as one of the most convenient areas due to its good infrastructure, pleasant neighborhood, and thriving businesses, it also doubles as one of the city's largest dumpsites and industrial zones.

 

The Invisible Town series sophisticatedly addresses this issue by exhibiting Mariem's recognised artistic style, maturing concepts, and materials. Her body of work involves developing the use of trash and recycled materials fabricated into her works. Departing from her previous use of black cloth, Mariem now employs softer-colored tie-dye fabrics or prints of the locations surrounding her residence. These pieces evoke a sense of smog, symbolising the alarming air pollution that troubles the people of Thailand, Bangkok being no exception. Mariem explores various manifestations of found objects like smashed cans, mosquito wire screens, used cardboard, milk cartons, and wrought iron in her artistic practice. Through these materials, Mariem creates window-like and partition artworks resembling Thai and Southeast Asian housing elements. Utilizing recycled panels, she develops large-scale paintings and carved installations that carry her distinctive patterns and style.

 

Through Invisible Town, the experience is complex. The exquisiteness of Mariem’s artistic construction is lifted by the relationship between materiality and context. This exhibition resonates not only with individuals in Bangkok but also touches upon the situations of developing cities all over the world.

 

 

งานปักและการลงสีงามสะดุดตาบนผ้าสีดำ คือสุนทรียะที่คุ้นเคยกันในงานของ ธิดารัตน์ จันทเชื้อ หรือเป็นที่รู้จักในนามมาเรียม เธอเป็นศิลปินที่ภาคภูมิใจในการสร้างงานศิลปะที่สืบเนื่องมาจากมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาอิสลาม 

 

ในงานของมาเรียม ศิลปินได้ศึกษาเกี่ยวกับลวดลายเรขาคณิตอย่างจริงจัง และนำมา ใช้ในชิ้นงานเพื่อแสดงถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ และเพื่อเล่าเรื่องตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การทดลองของมาเรียมไม่จำกัดอยู่แค่ลวดลายแบบอารบิก แต่ยังรวมไปถึงงานแบบญี่ปุ่น จีน และโรมัน 

สำหรับ เมืองลับแล นิทรรศการเดี่ยวของมาเรียมครั้งนี้ ศิลปินได้มองย้อนกลับ ไปสู่ที่มาของตนเอง ในบริบทของสภาพแวดล้อมรอบตัวเธอ และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยรอบ

 

กรุงเทพมหานครอาจเปรียบเสมือนสวรรค์บนดินของบางคน แต่ในบางมุม กรุงเทพฯ จัดอยู่ลำดับต้นๆ ของหลายปัญหา มลภาวะคือหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น หลายปัญหาของ กรุงเทพฯ มองเห็นได้ชัดว่ามาจากความบกพร่องในการวางผังเมือง จากการคอรัปชั่น และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ทำให้ในหลายพื้นที่ไม่ได้มีการออกแบบจัดผังเมืองที่เหมาะสม รวมไปถึงย่านกลางเมืองซึ่งมาเรียมเติบโตขึ้นและยังอาศัยอยู่ ในขณะที่ย่านนี้ อาจถูกมองว่าเต็มไปด้วยความสะดวกจากสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี เป็นย่านพำนักอาศัยที่สะดวกสบาย และเป็นย่านธุรกิจที่มีความเจริญ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งทิ้งขยะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และยังมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทเกิดขึ้นในบริเวณนี้ 

 

ผลงานชุด เมืองลับแล ได้แสดงถึงปัญหาดังกล่าวอย่างแยบยล ผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ยังคงแสดงถึงสไตล์ที่โดดเด่นของมาเรียม แนวความคิดและการเลือกใช้วัสดุที่บ่งบอกความมีวุฒิภาวะของศิลปิน การสร้างสรรค์ผลงานของ มาเรียมในชุดนี้ มีการพัฒนานำสิ่งของเหลือใช้และวัสดุรีไซเคิลมาใช้ร่วมด้วย ขยับจากที่เคยใช้ผ้าสีดำเป็นหลัก มาใช้ผ้ามัดย้อมที่สีอ่อนลง หรือผ้าพิมพ์ลายภาพสถานที่ในบริเวณรอบที่พักอาศัยของเธอ ผลงานเหล่านี้ปลุกการตระหนักรู้เรื่องหมอกควัน แสดงให้เห็นถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาแก่ผู้คนในประเทศไทย และในกรุงเทพฯ 

มาเรียมนำเอาสิ่งของและเศษวัสดุที่หาได้ เช่น กระป๋องบุบ มุ้งลวดกันยุง กระดาษลังใช้แล้ว กล่องนม และเหล็กดัด มาใช้ร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะของเธอ จากวัสดุที่หามาได้เหล่านี้ ศิลปินได้สร้างงานที่มีลักษณะเหมือนช่องหน้าต่าง และฉากกั้นห้อง ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งภายในบ้านแบบไทย และบ้านในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น มาเรียมยังนำเอาผนังรีไซเคิลมาสร้างเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ และงานประติมากรรมจัดวางที่แสดงถึงลวดลายและสไตล์ของงานศิลปะที่เป็น เอกลักษณ์ของมาเรียม 

 

นิทรรศการ เมืองลับแล มอบประสบการณ์ที่มีความซับซ้อนให้แก่ผู้ชม ความวิจิตรในการสร้างงานศิลปะของมาเรียมได้ถูกยกระดับขึ้นโดยความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุและบริบท นิทรรศการนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงผู้คนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงสถานการณ์ของเมืองที่กำลังพัฒนาทั่วโลกอีกด้วย