Moulting Ensemble

1 February - 15 March 2025

(English is below)

 

แมลงเช่นผีเสื้อหรือจักจั่นมักถูกเปรียบเปรยให้เป็นดั่งภาพแทนของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านตามปรากฎในงานวรรณกรรมต่างๆ กระบวนการแปรสัณฐาน (metamorphosis) หรือ ลอกคราบ (moulting) ของเหล่าแมลงไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ยังสะท้อนถึงความงามและความลึกซึ้งในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน และความบากบั่นต่อสภาพแวดล้อม เฉกเช่นเดียวกับงานเขียน In Praise of Shadows โดยจุนอิจิ ทานิซากิ (Jun’ichirō Tanizaki) ที่เยินยอความงามในแสงและเงา ทั้งยังวิพากษ์และสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างอดีตและปัจจุบัน ทานิซากิพรรณาถึงคุณค่าของความมืด ความพร่ามัว และความไม่สมบูรณ์ สร้างมิติแห่งความลุ่มลึกและความสงบที่แสงสว่างไม่อาจมอบให้ได้ การเสื่อมสลายและการเกิดใหม่ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและชีวิตมนุษย์ ทั้งหมดจึงไม่ใช่จุดจบหรือจุดเริ่มต้น แต่คือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่แฝงไปด้วยพลังและสัญญะที่รอคอยการสืบค้น

 

Moulting Ensemble—ฤดูแปร นำเสนอประสบการณ์ต่อการเปลี่ยนผ่าน ทั้งในระดับปัจเจกและพื้นที่ ผ่านการศึกษาซ้ำด้วยมุมมองทางปรัชญาและวรรณกรรมเชิงสุนทรียศาสตร์ โดยมุ่งเน้นไปที่ พื้นที่ระหว่าง หรือ liminal space ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ธรรมชาติและมนุษย์ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่การร่วมเฝ้าสังเกตและตกตะกอนความคิดถึงการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ ตั้งแต่ความเปราะบางในตัวตนไปจนถึงการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

 

จรัสพร ชุมศรีนำเสนอมุมมองของการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนผ่านนิทานอีสป ซึ่งถูกปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมร่วมสมัย โดยสอดแทรกปรัชญาชีวิตเชิงธรรมชาตินิยมเพื่อแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติในกระบวนการเรียนรู้และการส่งต่อคติธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติยังปรากฎอยู่ในงานของไปรยา เกตุกูล ที่ศึกษาการอยู่ร่วมกันของเมืองและดอกไม้ป่า ซึ่งไม่เพียงเกิดขึ้นเพราะจุดประสงค์ในการสร้างความงามด้านทัศนียภาพ แต่เป็นดั่งหมุดหมายในการฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ผลงานของอ้อ สุทธิประภา คือการมองย้อนมาสำรวจสภาวะภายในระดับปัจเจกผ่านการใช้หลักนพลักษณ์ในการทำความเข้าใจนิสัย พฤติกรรมและอิทธิพลต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจของตนเอง ดั่งการเติบโตจากความเปราะบางที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ผลงานของศิลปินทั้งสามสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงระหว่างโลกภายนอกและภายใน สร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และตัวตนเข้าไว้ด้วยกัน

 

นิทรรศการกลุ่ม Moulting Ensemble—ฤดูแปร เชิญชวนให้ผู้ชมสำรวจและเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางปัจเจกและผัสสะ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เปลือกหุ้ม ที่เฝ้ารอวันปริและผลัดออก การโรยราและการแปรสภาพ พร้อมกับการตระหนักรู้ถึงพลังในการฟื้นฟูและการเติบโตที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ โดยมีพื้นหลังเป็นโลกที่เคลื่อนตัวอย่างฉับไวและไม่หยุดนิ่ง

 

__________

 

In numerous literary compositions, insects like butterflies and cicadas frequently serve as metaphors for transformation and transition. Their metamorphosis or moulting processes encompass not only physical alterations but also embody the beauty and fundamental significance of these transitional phases, as well as the resilience they exhibit within their environments. This concept mirrors Jun’ichirō Tanizaki's In Praise of Shadows, which praises the aesthetic of light and shadow while simultaneously critiquing and reflecting on cultural transformations and the interplay between the past and the present. Tanizaki discusses the significance of darkness, subtlety, and imperfection—factors that create a depth and serenity that brightness alone cannot achieve. The cycles of decay and renewal in nature and human existence are not definitive endpoints or beginnings, but rather significant transitional phases awaiting exploration.

 

Moulting Ensemble showcases experiences of transition at both personal and spatial dimensions. It involves a reexamination through philosophical and aesthetic literary viewpoints, highlighting the "in-between" or liminal space where nature and humanity encounter transformation. This method promotes observation and contemplation of various transformative elements, ranging from personal vulnerabilities to relationships with the environment.

 

Jarasporn Chumsri presents a viewpoint on transformation by adapting Aesop’s Fables to modern social contexts, integrating naturalistic life philosophies to illustrate the connections between humanity and nature in learning and moral exchange. The connection between humans and nature is evident in the work of Praiya Ketkool, who examines the coexistence of urban environments and wildflowers—an endeavour aimed not only at aesthetic appeal but also at promoting ecological restoration and sustainable biodiversity. Aor Sutthiprapha's work introspectively analyses individual internal states via the Enneagram, elucidating behaviours, tendencies, and external factors that influence personal choices. This reflection signifies a subtle and significant development from intrinsic vulnerability. Collectively, these three artists emphasise transformations that connect the external realm with the inner self, creating a dialogue that intertwines the relationships among humanity, nature, and personal identity.

 

The group exhibition, Moulting Ensemble, encourages viewers to examine and contemplate personal and sensory transformations—metaphorically referred to as the “shells” poised to break and be discarded. The decline and transformation that accompany the recognition of concealed potentials for rejuvenation and development occur within a rapidly evolving and dynamic environment.