Wonderscape

8 August - 27 September 2020

“Wonderscape“ is an exhibition of five great Thai masters: Chalood Nimsamer, Sawasdi Tantisuk, Montien Boonma, Angkarn Kalayanapong and Hem Vejakorn. These influential pieces that are selected from Surapon Bunyapamai’s collection are works on paper that includes paintings and drawings which will be exhibited at SAC Gallery.

 

Furthermore, the use of these exquisite works in “Wonderscape“ highlights their location within Thai art history. And although these works are grounded within their methodologies, it is important to note that they pioneered a movement and ways of thinking that soon became the foundation for the Thai contemporary art structure. Moreover, even though the old masters have passed away, their creations still remain legendary and is used to inspire and educate the later generation. The works paved the way for the development of composition, new ideas and techniques which became the turning point of the artistic practice during the period of time where the Thai modern period transitioned to the Thai contemporary period.

 

Sawasdi Tantisuk is known for his iconic watercolor-painting technique that depicts the subject matter of architecture and landscape. The meticulous but swiftly drawn lines are juxtaposed with the depiction of air. This technique of the depiction of form has instigated and inspired new ways of depicting form in abstract painting. Furthermore, Sawasdi was also nominated as the Thai National Artist and worked rigorously and continuously as an artist until the end.

 

Chalood Nimsamer contributed to redefining the Thai art education system especially in composition studies, print making and installation art. His work notably uses rough and full-bodied strokes in his line drawings especially in his work about his daughter. These strokes are simple in the ways that it depicts the form in a modest but robust manner and also demonstrates Chalood’s extensive knowledge of art. And with every single point, every brush stroke, every line. Moreover, the work is carefully constructed whilst radiating this feeling and atmosphere of the Thai culture that spans from the bottom of the frame to the top.

 

Montien Boonma was known for his development of mixed media creations in the Thai art world. His works defined Thai art differently than the way it was understood in the past. Furthermore, his works defined Thai art differently than the way it was understood in the past. And with the majority of his practice mixing materials that are considered to be meager, such as soil, candles, rice sacks and rice straws, Montien invented a new way of communicating through art. This is because the materials used are meant to represent the life span of the Thai farmers that are being measured and calculated based on globalization.

 

Furthermore, the completion of the marvelous landscapes would be impossible without Hem Vejakorn’s illustrations that fulfilled this part in art history. Hem utilizes these unusual techniques such as perspective and anatomical comprehension with light and shadow studies. Hem had learned from Carlo Rigoli – an infamous Italian painter who was commissioned to design and decorate The Ananta Samakhom Throne Hall during the reign of King Rama VI. Hem’s fine creations were especially powerful and prevalent during the transitional period between art education and the western art influences from the Italian artist. The artist combined both Thai traditional and western drawing styles together which became the starting point for the creation of illustrations for local stories, folklores and religious tales from the past and up until now.

 

Angkarn Kalayanapong has been known for his devotion in Thai literature and Thai arts. The two creative realms were shattered by the arrival of Angkarn, he was incredibly talented and well-versed in traditional Thai art conservation practices. Furthermore, he was very articulate in using tempera and charcoal in his painting. And even though, Fua Haripitak had an extraordinarily strong artistic influence upon Angkarn practices, he was able to extract and develop the extremely fluid and free Thai traditional pattern which became the very first pattern in Thai contemporary art.

 

“Wonderscape“ is derived from the wondrous scape where skills are combined with the heroic contributions and experiences of the five masterminds through the facilitations from the collection of Surapon Bunyapamai. It is an incredible honor to be able to have the opportunity to live during this contemporary period and be able to witness the works that is enriched with experiences and inspires creativity from such phenomenal practices that were once the starting point of where we are now.

 

The exhibition “Wonderscape” will be held on the third floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 8 August until 27 September 2020. The official opening ceremony will be held on 8 August 2020, 1:00-7:00PM.

 

Hashtag: #SACWonderscape

 


 

“Wonderscape“ คือนิทรรศการที่รวบรวมผลงานของห้าศิลปินที่มีความสำคัญระดับชาติ ได้แก่ ชลูด นิ่มเสมอ, สวัสดิ์ ตันติสุข, มณเฑียร บุญมา, อังคาร กัลยาณพงศ์ และ เหม เวชกร ทั้งในรูปแบบของงานจิตรกรรมและผลงานวาดเส้นบนกระดาษ จากผลงานสะสมที่ทรงคุณค่าของคุณสุรพล บุญญาปะมัย สู่การนำเสนอในพื้นที่ของ เอส เอ ซี แกลเลอรี เพื่อออกสู่สายตาผู้ชมที่รักในศิลปะ

 

ลายเส้นจากภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าและจิตรกรรมของศิลปินชั้นครู นิทรรศการ “Wonderscape“ ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ขับเน้นให้เห็นฝีไม้ลายมือของศิลปินแถวหน้าที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ศิลปะของไทย ทั้งนิยามด้านการเป็นผู้วางรากฐานให้กับแนวคิดวิธีทำงานศิลปะ และการบุกเบิกสิ่งใหม่ให้กับศิลปะร่วมสมัยของไทยแม้ศิลปินจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานเหล่านี้ยังเป็นต้นแบบให้กับการทำงานศิลปะของศิลปินในรุ่นหลัง ทั้งในด้านองค์ประกอบ วิธีคิด และเทคนิค หากมองในบริบทที่ผลงานเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์ นี่คือการสร้างจุดเปลี่ยนของการทำงานศิลปะที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างศิลปะสมัยใหม่ ไปสู่ศิลปะร่วมสมัย

 

ไม่ว่าจะเป็นภาพสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์ของ สวัสดิ์ ตันติสุข ซึ่งเทคนิคสีน้ำนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบผลงานที่มีชื่อเสียงของสวัสดิ์ ทั้งในด้านความแม่นยำของเส้นสาย และการให้ความรู้สึกฉับพลันของการวาดภาพ การแสดงลักษณะของอากาศภายในภาพเขียน ได้เป็นต้นแบบของการตัดทอนไปสู่จิตรกรรมนามธรรม ที่ส่งอิทธิพลสำคัญของจิตรกรในรุ่นต่อมาซึ่งในฐานะศิลปินแห่งชาติที่มีผลงานต่อเนื่อง ทั้งในช่วงอายุราชการ และหลังจากเกษียณอายุราชการ สวัสดิ์ก็ยังเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างสม่ำเสมอกระทั่งในช่วงสุดท้ายของชีวิต

 

ชลูด นิ่มเสมอ อีกหนึ่งศิลปินผู้วางรากฐานให้กับการศึกษาศิลปะ โดยเฉพาะศาสตร์ขององค์ประกอบศิลป์ การทำภาพพิมพ์ และศิลปะจัดวาง ซึ่งผลงานของชลูดนั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่าเป็นผลงานที่ใช้ทัศนธาตุอย่างหมดจด โดยเฉพาะผลงานวาดเส้นในแนวเรื่องลูกสาวที่เต็มไปด้วยเส้นสายที่หนักแน่น ประกอบขึ้นจากรูปร่างและรูปทรงแบบง่ายๆ แต่กลับแสดงชั้นเชิงและความเข้าใจในทัศนธาติขั้นสูง ที่ทุกจุด ทุกเส้นสาย ทุกรอยแปรง ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีความหมาย ทำงาน และอบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบไทยพื้นบ้านอย่างงดงาม

 

หากพูดถึงศิลปินผู้เป็นบิดาของศิลปะสื่อผสมของไทย คงต้องกล่าวถึง มณเฑียร บุญมา ซึ่งในโอกาสนี้ เราจะได้มีโอกาสนำเสนอภาพวาดเส้น และแบบร่างความคิดของมณเฑียรที่หาชมได้ยาก โดยเฉพาะผลงานที่เต็มไปด้วยความคิดที่กล้าหาญเพื่อนำไปสู่การนำเสนอรูปลักษณ์ทางศิลปะใหม่ๆ ของมณเฑียร การนิยามรูปแบบความเป็นไทยที่หลุดพ้นจากขนบศิลปะไทยแบบดั้งเดิม ได้กลายเป็นความโดดเด่นสำคัญที่ทำให้มณเฑียร ใช้วัสดุอย่างดิน เทียนไข กระสอบ ฟางข้าว ฯลฯ เป็นภาษาศิลปะแบบใหม่ในยุคสมัยที่มณเฑียรยังมีชีวิต เพื่อบอกเล่าชีวิตของชาวนาภายใต้กระแสการก่อตัวขึ้นของโลกาภิวัฒน์อย่างแหลมคม

 

นอกจากนี้การให้ภาพภูมิทัศน์อันน่ามหัศจรรย์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้นักวาดภาพอย่าง เหม เวชกร ที่เข้ามาเติมเต็มประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ โดยเฉพาะการใช้ทัศนียวิทยา กายวิภาค และความเข้าใจในทิศทางของแสงที่กล่าวได้ว่าเป็นหลักการแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบศิลปะของประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาเทคนิคการวาดภาพจาก คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) จิตรกรอิตาเลียนผู้ได้รับมอบหมายให้ออกแบบและวาดภาพประดับเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคมในสมัยรัชกาลที่6 ผลงานของเหมได้กลายเป็นผลงานคุณภาพสูงที่อยู่ในรอยต่อของการศึกษาและการรับอิทธิพลการวาดอันเป็นวิชาความรู้แบบศิลปินอิตาเลียนโดยตรง ซึ่งได้ถูกปรับใช้ผสมผสานเส้นสายแบบไทยจนกลายเป็นต้นแบบของการวาดภาพประกอบนิทานพื้นบ้าน ตำนาน เรื่องเล่าทางศาสนา ให้กับนักวาดภาพไทยจวบจนปัจจุบัน

 

สุดท้ายศิลปินและกวี อังคาร กัลยาณพงษ์ นั้นยังเป็นอีกเสาหลักหนึ่งของวงการวรรณกรรมและศิลปะไทย เมื่อผลงานของเขาได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับทั้งสองวงการอย่างมีนัยยะสำคัญ ผ่านพรสวรรค์ ประสบการณ์ในการอนุรักษ์ผลงานศิลปะไทยโบราณ และความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ จึงทำให้อังคารมีความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตรกรรมไทย จนสามารถต่อยอดผลิตผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตนเองได้สำเร็จ โดยเฉพาะความอ่อนช้อย และเส้นสายอิสระของลวดลายไทย ผ่านสีฝุ่นและแท่งถ่านชาโคล สะท้อนออกมาเป็นผลงานศิลปะรูปแบบร่วมสมัยที่ยังคงความวิจิตรงดงามแบบไทยที่กล่าวได้ว่าไม่มีใครเทียบเคียงได้

 

กล่าวได้ว่า “Wonderscape“ เป็นนิทรรศการศิลปะชั้นครูที่ได้รับการอนุเคราะห์จากผลงานในการสะสมของคุณสุรพล บุญญาปะมัย เพื่อให้ผู้ชมที่ยังไม่เคยสัมผัสกับผลงานทรงคุณค่าเหล่านี้ ได้มีประสบการณ์ร่วมกับทิวทัศน์อัศจรรย์ที่ผสมผสานไปด้วยฝีมือ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนความกล้าหาญของศิลปินระดับปรมาจารย์ ที่แม้ทุกท่านจะได้ล่วงลับไปแล้ว แต่ผลงานที่ฝากไว้เหล่านี้จะยังเป็นที่จดจำ เป็นต้นแบบทางสุนทรียภาพและความคิดที่ปูทางให้ศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยได้มีรากฐานที่แข็งแรงเช่นในปัจจุบัน

 

นิทรรศการWonderscapeจัดแสดงระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม - 27 กันยายน .. 2563 ณ ชั้น 3 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 สิงหาคม พ.. 2563 ตั้งแต่เวลา 13:00-19:00 .