A Symphony of Pauses: by Chayanin Kwangkaew

11 January - 16 February 2020

If treated with the utmost sincerity, if we could just focus on the idea that a stationary object could be the main focus in a moment of time, this could actually contain the knowledge of that which is the explanation of life, the illusion of time.

 

As life plays out in front of our eyes, millions of tiny details are hidden in the context, some passing by before we ever understand their importance. Quite often our emotions can move around quickly, focused on the spacing of time more than the stationary objects in our surroundings. Whether consciously evaluated or not, the continual juxtaposition of these fluid and solid elements in life brings confusion and conflict.

 

Chayanin Kwangkaew’s solo exhibition “A symphony of pauses” extends his previous concept about daily life to the one that places the objects in his daily life as the main characters in his compositions. Life can run by us in a blur as an abstract, an illusion, a fogginess.  The pace with which we experience life will periodically pause when an image or object breaks the rhythm where everything else can fade away and time can seem to stop. Our nature draws us to aesthetics that possess the power to override the other stimuli and provide a reason for our vision to exist. The freezing of a moment is the ultimate wish of a dreamer. Our brains scramble to actively contain a fleeting experience, both in an urge to feel wholly that which excites us while also preserving an image which can sustain us. The unreliability we take from our broken attention is constant and only predicated on our tastes which we can anticipate but strangely continue to surprise us.

 

Our daily lives hide that which is important and great. Kwangkaew’s new series focuses on those ordinary things as time can changes rapidly before our eyes, quite often faster than we realize. The unspoken desire to stop the hands of the clock and savor all the moments would be desirable If we even knew which parts would be important to us in hindsight. His desire to be able to study each memorable moment in search of the answers to life is emphasized in the compositions he presents in this series. There are things that can change, growing with time and things that cannot be locked into a state of stability. A range of sounds and movements, reminiscent of a symphony. The visual world is ephemeral, the mental world is seemingly eternal. The symphony of the elements that combine to create our memories is timeless. The symphony is one that starts when we acknowledge that sentiment is welcome in our day to day activities. An image frozen can appear to manage conflicts that we notice can coexist in an interesting way.

 

Kwangkaew’s brushstrokes that project super realism are the slow moments in life or rather the object of attention, the main character.  The blurred images are those moments that are going by quickly around this focus. This concept of time plays out continuously but it’s quite often too fast for us to see. Many times in life we feel something happening in our surrounding only to see nothing as we suddenly turn around. Some things change to fast to see, leaving behind traces of what was and questions of what could be.

 

When we are still, things are changing, as those things remain still then we realize that we are changing. Movies have the ability to play out emotions through the speed of the background compared to that of the protagonist. It’s in these moments that tension and suspense are lifted and emotional content is gleaned from this manipulation of speed. The increased use of abstract movement in the latest artworks of Chayanin is to emphasize the cinematic quality of these changes and to reassemble what constitutes a moment or object of importance in life.If treated with the utmost sincerity, If we could just focus on the idea that a stationary object could be the main focus in a moment of time, this could actually contain the knowledge of that which is the explanation of life, the illusion of time.

 

The exhibition “A symphony of pauses” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 11 January until 16 February 2020. The official opening ceremony will be held on 11 January 2020, 6:00PM onwards.

 

Hashtag: #SACChayanin

 


 

หากเราปฏิบัติด้วยความจริงใจอย่างสูงสุด และถ้าเราสามารถเพ่งพินิจถึงแนวคิดที่ว่าวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหวสามารถที่จะเป็นจุดสนใจได้ในชั่วขณะหนึ่ง สิ่งนี้น่าจะเปรียบดั่งองค์ความรู้ของสิ่งที่อธิบายได้ถึงชีวิตและมายาแห่งกาล

 

เมื่อชีวิตได้แสดงละครเบื้องหน้าเรา รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นับล้านถูกกลบเกลื่อนเอาไว้ บางสิ่งบางอย่างผ่านไปรวดเร็วเกินกว่าที่เราจะเข้าใจถึงความสำคัญของมันได้ทันท่วงที บ่อยครั้งที่อารมณ์ของเราเคลื่อนไหวแปรผันไปมาและได้มุ่งความสนใจไปในห้วงเวลามากกว่าวัตถุที่หยุดนิ่งรายล้อมตัวเรา ไม่ว่าเราจะมีสติตัดสินหรือไม่ อนึ่งการปรากฏอยู่แบบคู่ขนานขององค์ประกอบที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมในชีวิต ก็ยังก่อให้เกิดความสับสนและขัดแย้งอยู่ดี

 

นิทรรศการแสดงเดี่ยวของ ชญานิน กวางแก้ว ในชื่อ “A symphony of pauses” ได้ขยายความจากแนวความคิดเดิมที่กล่าวถึงวิถีชีวิตประจำวัน ไปสู่เรื่องของวัตถุสิ่งของต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเขา ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลงานชุดใหม่นี้ ชีวิตเรานั้นสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทั้งๆ ที่พร่าเลือนไม่ชัดเจนแบบไร้รูปลักษณ์ ดั่งภาพมายา และเหมือนปกคลุมด้วยเมฆหมอกในบางคราว ทุกย่างก้าวที่เราประสบในชีวิต บางครั้งอาจจะหยุดชะงัก เมื่อภาพหรือวัตถุได้มาขัดจังหวะในที่ที่ส่ิงต่างๆ เริ่มจางหายและเวลากำลังหยุดหมุน ธรรมชาติของเราได้ดึงเราสู่ความงามอันทรงอำนาจ สามารถข้ามผ่านแรงจูงใจต่างๆ และให้เหตุผลต่อการมองเห็นของเราให้ดำรงอยู่ได้ การหยุดเวลาได้นั้นเป็นดั่งความปรารถนาอันสูงสุดของผู้ที่ฝันเฟื่อง สมองของคนเราได้คลุกเคล้าไปกับการฝังประสบการณ์ชั่วครู่ ในแบบที่กระตุ้นให้เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างเต็มที่ แต่ขณะเดียวกันมันก็รักษาภาพที่คงไว้ซึ่งตัวตนของเราได้ด้วย ความไม่น่าเชื่อถือที่ได้มาจากจิตใจที่หลงละเมอ มันช่างคงที่และบอกเล่าสรุปถึงรสนิยมของเรา ซึ่งเราสามารถคาดเดาได้ แต่มันก็ยังทำให้แปลกใจอย่างประหลาดๆ อยู่เสมอ

 

ชีวิตประจำวันของเราได้แอบซ่อนสิ่งที่เป็นแก่นสารสำคัญเอาไว้ ผลงานชุดล่าสุดของชญานินได้มุ่งเน้นไปที่วัตถุสามัญธรรมดา ในเมื่อเวลาแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วต่อหน้าต่อตาเรา และมักจะเคลื่อนที่เร็วกว่าที่เราจะตระหนักถึง ความปรารถนาอันฝังลึกที่จะหยุดเข็มนาฬิกาและเชยชม ทุกขณะช่างเย้ายวนใจ หากคนเราสามารถหยั่งรู้ได้ว่าส่วนใดนั่นมีความสำคัญต่อเราในการจะเข้าใจถึงปัญหาหลังจากเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว นั้นคือความปรารถนาของศิลปินในการศึกษาถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำเพื่อค้นหาคำตอบของชีวิตซึ่งได้ถูกควบแน่นอยู่ในองค์ประกอบของผลงานชุดนี้ หลายสิ่งหลายอย่างแปรเปลี่ยนเติบโตไปกับกาลเวลาและสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถถูกรักษาให้อยู่ในสภาพคงเดิมได้ ความหลากหลายของเสียงและความเคลื่อนไหวทำให้ระลึกถึงเพลงบรรเลงจากวงประสานเสียงชุดใหญ่ ในโลกของภาพที่ไม่จีรังและโลกของจิตใจอันเป็นเรื่องภายใน การสอดประสานกันขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อสรรสร้างความทรงจำของคนเรานั้น มันช่างไร้กาลเวลา การสอดประสานกันนี้เริ่มต้นเมื่อเราตระหนักรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ ที่ถูกอ้าแขนรับในกิจกรรมชีวิตประจำวันของเรา ภาพเสมือนที่ถูกตรึงเวลาไว้จะปรากฏชัดขึ้นเพื่อจัดการความขัดแย้งที่เราสามารถสังเกตเห็นและสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ในแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจทีเดียว

 

ฝีแปรงในงานของชญานินที่ถ่ายทอดออกมาได้เหมือนจริงอย่างมากนั้นแสดงออกถึงจังหวะเวลาที่เชื่องช้าของชีวิต หรือวัตถุที่เป็นองค์ประกอบหลักส่วนภาพที่พร่าเลือนคือ ห้วงเวลาต่างๆ ที่ผ่านไปรวดเร็วและรายล้อมจุดสนใจนี้ แนวความคิดถึงเวลาถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง แต่มันก็เร็วจนเราไม่อาจสังเกตเห็นได้ หลายๆคราในชีวิตเรารู้สึกว่าบางอย่างเกิดขึ้นรอบตัวเราและเรามองไม่เห็น เราเพียงแค่หมุนมองรอบตัวทันทีทันใด เพื่อที่จะรู้ว่าบางสิ่งก็เปลี่ยนไปเสียแล้ว แต่มันได้ทิ้งร่องรอยว่า มันคืออะไร และทิ้งคำถามไว้ว่ามันควรจะเป็นเยี่ยงไรก่อนหน้านี้

 

เมื่อเราหยุดนิ่ง เราจะเห็นชัดว่าสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลง กลับกันเมื่อสิ่งต่างๆเหล่านั้นหยุดนิ่ง เรานั่นเองที่กำลังเปลี่ยนไป ภาพยนตร์มีคุณสมบัติที่จะแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกผ่านความเคลื่อนไหวของฉากหลังของตัวละครเอกในห้วงเวลาแบบนี้ความตึงเครียดและการถูกตรึงได้คลายตัวออก ส่งผลให้เรื่องของอารมณ์ได้ถูกคัดสรร จากการจัดการความเร็วของการเคลื่อนไหวนี้ การเพิ่มขึ้นของการใช้เส้น สี รูปทรงนามธรรมในงานชุดนี้ของชญานินได้มุ่งขับเน้นให้เป็นไปในลักษณะเดียวกับภาพยนตร์ อันสื่อถึงความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ อีกทั้งเป็นการรวบรวมเอาสิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นช่วงเวลาหนึ่งหรือเป็นวัตถุที่เป็นสาระสำคัญในชีวิต หากเราปฏิบัติด้วยความจริงใจอย่างสูงสุด และถ้าเราสามารถเพ่งพินิจถึงความคิดที่ว่าวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหว สามารถที่จะเป็นจุดสนใจได้ในชั่วขณะหนึ่ง สิ่งนี้น่าจะประกอบด้วยองค์ความรู้ของสิ่งที่อธิบายได้ถึงชีวิตและมายาแห่งกาลได้

 

เมื่อดอกไม้ร่วงโรยอย่างรวดเร็วภายในห้วงชีวิตอันแสนสั้น ผลงานจิตรกรรมของชญานินเป็นดั่งเวลาของดอกไม้ เมื่อคำนึงถึงการรับรู้ถึงเวลา ผ่านทางความโรยราของกลีบดอก พวกมันเหล่านั้นไม่สามารถตระหนักรู้ได้ถึงการเบ่งบานหรือจุดจบของมันได้เลย มันได้เห็นแต่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสภาพแวดล้อมของมันและไม่แม้กระทั่งเพลิดเพลินไปกับความงามอันไม่จีรังของมันเอง เฉกเช่นเดียวกับวัตถุที่ทนทานและดูสงบนิ่ง อย่างรูปปั้นที่มันสามารถยืนตระหง่านอยู่ได้แม้ผ่านไปหลายชั่วอายุคน ซึ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนว่าเวลานั้นไม่เคลื่อนไปแต่หยุดนิ่งแทน ภาพคนที่ปรากฏในงานของชญานินเปรียบเสมือนตัวแทนของกลุ่มก้อนภายใต้การควบคุม ซึ่งส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงเหนียวแน่นอยู่กับการรับรู้ถึงเวลา เพราะรูปคนเหล่านั้น ผู้ชมสามารถสังเกตจากภายนอกถึงการเคลื่อนไหวอย่างไม่ขาดสายผ่านทางการเปลี่ยนแปลง

 

นิทรรศการ “A symphony of pauses” จัดแสดงระหว่างวันที่ 11 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอสเอซีแกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไป