From Hokusai to three (EN/TH)

by Ploy Charoenpol
March 22, 2022

The iconic scene of the massive ocean wave accompanies by Mountain Fuji on the far back, dizziness occurs once spotted narrow boat with Japanese fishermen on board, this is probably how to best describe ‘The Great Wave’ by Katsushika Hokusai.

 

Hokusai, as experimental artist who always seek new technique to outgrow his creation off the edge had left two greatest inventions for manga world which I would like to mention in this article through the exhibition “three is the magic number 15: Hypersweet” by a Japanese emerging artist group called ‘three’ at Subhashok The Arts Centre. Firstly, he picked up the word ‘manga’ for the first time to depict this criterion of work even though we all must admit that the definition of manga has changed quite a lot. Secondly, what is greater than his greatest wave was that the resonant that his creation makes his audiences ‘feel’ along each element in the picture. The feeling dizzy from looking at ‘The Great Wave’, for instance. This freeze-frame technique then became the destination which allow manga to animate nowadays.

 

The complication of manga started back in 1200s, there appeared to have evidence of paper scroll depict animal with human actions along with speech in bubbles. The love relation of Japanese to prints and illustration also had its downward. The popularity or print faced its sharp drop with the arrival of modern comic along with the great depression and regression after world war effected the art and culture section. The survival of manga regards those who truly support the artists alongside. We also stumbled to tons of photographsof Edo (an old name of Tokyo) that makes us believe that was very ordinary for people in Edo to go around the cornerand shop for prints and illustration.

 

Little did we know that from the high-demand prints of Hokusai to low budget production comic books during the post-war period or even manga figures nowadays, the linear of continuity of manga reflects that one of many important dynamics that played big role in saving manga is its reasonable price for such quality works. This then one day, in hundreds of year later, paid back the supporters that no one could ever predict that would worth a million. Maybe this is the explanation to those who wait for the release of next chapter of their favorite manga for so long.

 

One important trait of manga and its long history is that they have captured contemporary social narrative upon each period in the most natural method. Each character, atmosphere and stories are not only telling the story the artist had invented. Manga reflects deeper into people as they capsulate behavior and taste of people of the time. The exhibition “three is a magic number 15: Hypersweet” by three was considered a great example of those contemporary viewpoint. The work of three aligns with Japanese contemporary culture by not only hold the position of being a part of manga culture but also as observer who understand the whole context through roughly. Janepraphaphan mentioned that they intended to put melty soft manga figures in the simplest geometric form by means of mass production in respond to incredibly high demand as well as how specific liker turn into normalness.

 

From the ancient paper scrolls, stage backdrop paintings, the never-ending comics and anime or even movies, we could analyst that there were always attempt in making the flat manga into a more realistic visuality. They tended to add more dimension with whatever technique available during the period to make sure it linked what people are seeing to reality.  On the other hand, three’s working process mentioned the revolution of Japanese manga backward. They critiqued the whole linear of manga history by squeezed up manga figured into one solid objects with various form but rather simple geometric or new form of manga-like characters, which mostly demolish depth dimension as well as the individuality of each piece. In fact, this help revealing another hidden aspect of history, its surrounding condition of which to be reviewed again in today context. The works displayed in the exhibition remind us to rethink the history of manga and its outcome today. three, as an emerging artist group, reignited the superflat movement. They questioned our position upon humanity timeline where we sometime too busy struggling in our history and development.

 


 

 

โคมคลื่นโหมขับเน้นขนาดมโหฬารหลอกสายตาด้วยภูเขาไฟฟูจิที่ คัตสึชิกะ โฮกุไซ (Katsushika Hokusai) วางไว้กลางภาพอยู่ลิบๆ เรือแจวโคลงตามแรงคลื่นชวนให้เวียนหัว ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ชื่อก้อง The Great Wave (1830 circa) ของโฮกุไซ

 

ทั่วไปในเอโดะ (ชื่อที่ใช้เรียกกรุงโตเกียวในสมัยนั้น) มีร้านรวงจำหน่ายผลงานภาพพิมพ์และภาพประกอบอยู่ดารดาษ ดังปรากฏในภาพถ่ายที่ยังหลงเหลือเป็นหลักฐานแห่งความมั่งคั่ง โฮกุไซในฐานะนักเล่นผู้หลงใหลและทดลองเทคนิคใหม่ๆ คายตะขาบสองตัวเขื่องให้กับวงการศิลปะในญี่ปุ่น ที่หากมาชมนิทรรศการ three is a magic number 15: Hypersweet ก็อยากจะให้นึกถึงตะขาบตัวแรก เขาคือคนที่หยิบเอาคำว่ามังงะ (manga) มาใช้เป็นคนแรกๆ ที่แม้ความหมายของมังงะของโฮกุไซจะแตกต่างกับมังงะในปัจจุบัน แต่คำนี้นิยามบรรยากาศภาพประกอบของญี่ปุ่นได้อย่างดี ตะขาบตัวที่สอง เขาสร้างแรงกระเพื่อมที่แรงกว่าคลื่นยักษ์ในภาพ หากมองภาพคลื่นยักษ์อีกซักครั้ง จะพบว่าความโดดเด่นคือการส่งต่อความรู้สึกให้แก่ผู้ชม องค์ประกอบต่างๆ ภายในภาพได้หลอมรวมเป็นเทคนิคที่เรียกว่า Freeze-frame (Clark 2019) และถือกำเนิดเป็นอนิเมะ (anime) ในที่สุด

 

หากแต่ความซับซ้อนของมังงะเริ่มขึ้น ราวๆ ปี ค.ศ. 1200 ปรากฏมีภาพพระบท บันทึกสัตว์ต่างๆ ทำอิริยาบถของมนุษย์ กำกับด้วยคำพูดต่างๆ (bubbles) ความนิยมชมชอบภาพประกอบเหล่านี้ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความชันเพียงเท่านั้น การเสื่อมความนิยมของภาพพิมพ์แกะไม้ถดถอยอย่างรวดเร็ว มันถูกแทนที่ด้วยการ์ตูนช่องจากภาวะถดถอยทางการเมืองและสงคราม แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดร่วมที่คอยสนับสนุนให้ศิลปินในทุกๆ ช่วงสมัย คือกลุ่มผู้ชมที่รักและสนับสนุนผลงานอย่างเหนียวแน่น

 

ไม่ว่าจะเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ในยุคของโฮกุไซหรือก่อนหน้าที่แผ่กว้างไปอย่างมาก การ์ตูนช่องแบบรวมเล่มที่ถูกผลิตด้วยต้นทุนราคาประหยัดสอดคล้องกับสภาพสังคมที่บอบช้ำจากสงคราม หรือแม้แต่หุ่นการ์ตูนลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ด้วยราคาที่จับต้องได้ การผลิตซ้ำจำนวนมากทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึง และเป็นเจ้าของผลงานภาพคลื่นยักษ์ที่กลายเป็นตำนานแห่งภาพพิมพ์ในหลายร้อยปีต่อมา การ์ตูนเรื่องยาวหลายๆ เรื่องที่กลายเป็นของสะสมล้ำค่า และหลายเรื่องที่ทิ้งให้คนอ่านรอตอนจบหรือแม้แต่ตอนต่อไปอย่างแห้งเหี่ยว แต่ที่แน่ชัดคือมีตัวละครถูกคิดค้นขึ้นมามากมายและพลังของการผลิตครั้งละจำนวนมากๆ ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมกระทั่งได้กลายเป็นจิตวิญญาณใหม่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาความศักดิ์สิทธิ์ของต้นฉบับอีกต่อไป

 

ผลงานมังงะในทุกยุคทุกสมัยได้บันทึกเอาเรื่องราวทางสังคมของญี่ปุ่นเอาไว้ ทั้งตัวละคร เรื่องราว บรรยากาศ เทคนิค และเนื้อเรื่องไม่เพียงบอกเล่าเรื่องราวจากศิลปิน หากแต่สะท้อนรสนิยมและพฤติกรรมการบริโภคของผู้เสพย์ที่เป็นคนส่วนมากเอาไว้ ผลงานที่จัดแสดงอยู่ของกลุ่มศิลปิน three นี้เอง ทำงานร่วมกับประวัติศาสตร์ส่วนนี้ของญี่ปุ่นเอาไว้อย่างแนบเนียน พวกเขาไม่เพียงมองและบันทึกจากจุดยืนของผู้เสพย์ที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภควัฒนธรรมส่วนนี้ของประเทศ ภายใต้รูปร่างรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ของผลงานแต่ละชิ้นที่เกิดจากการหลอมรวม ตัวการ์ตูนจากอนิเมะนับร้อยนับพันเรื่อง ที่ไม่เพียงวิพากษ์อุตสาหกรรมการผลิตซ้ำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำนวนมหาศาลบนรสนิยมเฉพาะกลุ่ม มาสู่ความสามัญดังที่ภัณฑารักษ์ได้กล่าวถึงนิทรรศการเอาไว้ (Janepraphaphan 2020) แต่การกระทำเชิงความหมายของศิลปินด้วยการบีบอัด เฉือนตัด หลอมรวมวัตถุตัวแทนวัฒนธรรมอนิเมะของญี่ปุ่นที่เป็นวัสดุหลักในผลงาน กลับเป็นการย้อนศรพัฒนาการรากฐานของมังงะและอนิเมะจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันอย่างน่าสนใจ

 

จากภาพพิมพ์ของโฮกุไซ มาจนถึงภาพพระบทหรือฉากหลังสำหรับการแสดงการ์ตูนช่องเรื่องยาวที่ถูกหยิบเอามาทำเป็นภาพเคลื่อนไหว พัฒนาการทั้งหมดเป็นความพยายามเติมมิติให้กับผลงานสองมิติให้มีความลึก ตื้น เสมือนจริง แต่การกระทำของศิลปินกลุ่ม three ต่อชิ้นส่วนตัวแทนในลักษณะวิพากษ์ย้อนศร กลับเป็นการพยายามบีบอัดมิติในเชิงอรรถรสให้ลีบแบนแต่กลับยิ่งเผยให้เห็นมิติทางสังคมที่ถูกซ่อนอยู่ลึกกว่าที่โผล่พ้นขอบเผยออกมา นับเป็นการหยิบเอาประวัติศาสตร์และบริบทโดยรอบขึ้นมามองอีกครั้ง ผ่านมุมมองคมคายของศิลปินกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เคลื่อนไหวด้วยผลงานศิลปะรูปแบบ Superflat ณ จุดที่เรายืนอยู่ในปัจจุบัน เพื่อถามหาตำแหน่งแห่งหนของเราที่ถูกห้อมล้อมเอาไว้ด้วยผลพวงของประวัติศาสตร์และการพัฒนา

 


 

 

Bibliography

Chol Janepraphaphan. 2020. “three is a magic number 15: Hypersweet.” Bangkok: Subhashok The Arts Centre, 26 March.

 

Clark, Tim. 2019. blog.britishmuseum.org. May 10. Accessed April 15, 2020. https://blog.britishmuseum.org/hokusai-the-father-of-manga/.

 

Gleason, Alan. n.d. artscape Japan. Accessed April 22, 2020.

http://www.dnp.co.jp/artscape/eng/ht/0712index.html.

 

Kendzulak, Susan. 2013. Art Radar Journal.Novermber 10. Accessed April 22, 2020. https://artradarjournal.com/2013/10/11/what-is-superflat/.

 

Ryōko Matsuba, Alfred Haft. 2018. blog.britishmuseum.org. December 5. Accessed April 14, 2020. https://blog.britishmuseum.org/manga-a-brief-history-in-12-works/.

About the author

SAC Gallery

Add a comment