THE PREVENTIVE CONSERVATION OF WORKS การอนุรักษ์เชิงป้องกัน (EN/TH)

March 22, 2022

The preventive conservation of works of art is an important aspect of museum conservation. The design and material composition of storage enclosures can act to protect the collection from damage caused by handling and to provide a  relatively stable environments. The works of art should be protected from water , dust, light, atmospheric pollutants, moulds and pests.

 

At present, new synthetic fabrics, Tyvek, produced by the Dupont Company, are commonly used to protect the objects during handling, storage  and transportation.

 

Tyvek is made from 100% high density polyethylene (HDPE) non-woven olefin fibre and contains no binders, fillers or plasticizers. So it is safe to use  in direct contact with the works of art. The non-woven material finish is very smooth (like paper) and soft (like fabric), so won’t cause damage through abrasion. It combines all the best physical properties and characteristics of paper, film, and fabric. It is acid- free with a neutral pH.

 

Because of its permeable filament structure, Tyvek allows the transmission of water vapor allowing the works of art to ‘breath’ even if totally enclosed. Moreover it will filter out particles from the air down to 0.5-0.7 micron in size reducing risks from many airborne pollutants.

 

by Chiraporn Aranyanak

Specialist, SAC Conservation Lab

 

For more information, please contact:

Email: pornganok@sac.gallery

Tel: 088-942-2965 

Line Official: @sacbangkok

 


 

การอนุรักษ์เชิงป้องกัน หรือการป้องกันการเสื่อมสภาพของศิลปวัตถุโดยใช้วิธีง่ายๆ แทนการใช้วิธีเคมี เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยยืดอายุของศิลปวัตถุออกไปได้อีกยาวนาน รวมทั้งยังช่วยรักษาความเป็นของแท้ดั้งเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสารเคมี การออกแบบบรรจุภัณฑ์และเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมจะช่วยปกป้องศิลปวัตถุจากการเสื่อมสภาพจาก การหยิบจับ เคลื่อนย้าย รวมทั้งช่วยทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับศิลปวัตถุแต่ละชนิด

 

ศิลปวัตถุควรได้รับการปกป้องจากความชื้น/น้ำ ฝุ่นละออง แสงสว่าง มลพิษในอากาศ เชื้อราและแมลง ปัจจุบันนี้ วัสดุที่ภัณฑารักษ์และนักอนุรักษ์เลือกใช้กันอย่างแพร่หลายคือวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่รู้จักกันในชื่อการค้า ไทเวค(Tyvek) ที่บริษัทดูปองท์ผลิตขึ้น ไทเวคใช้ในการห่อหุ้มศิลปวัตถุรวมทั้งทำซอง คั่น คลุม ในระหว่างการหยิบจับ เคลื่อนย้าย และการจัดเก็บในคลัง รวมทั้งใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

 

ไทเวคทำจากเส้นใยพอลีเอทีลีนชนิดที่มีความหนาแน่นสูง (HDPE) โดยนำเส้นใยมาปั่นแล้วทำให้เป็นแผ่นโดยใช้ความร้อนและความดันโดยไม่เติมสารยึด สารเติมเต็ม และพลาสติไซเซอร์ใดๆ ในกระบวนการผลิต ไทเวคจึงปลอดภัยเมื่อใช้งานที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับศิลปวัตถุ

 

ผิวสัมผัสของไทเวคมีลักษณะเรียบเหมือนกระดาษและอ่อนนุ่มเหมือนผ้าจึงไม่ขัดสีครูดถูศิลปวัตถุ ไทเวครวมเอาคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีที่สุดและลักษณะเฉพาะตัวของกระดาษ ฟิล์ม และผ้า รวมทั้งมีความเป็นกลาง ไม่เป็นกรด การที่ไทเวคมีโครงสร้างเป็นเส้นใยจึงยอมให้ความชื้นผ่านเข้าออกได้ ศิลปวัตถุจึงสามารถคายความชื้นออกสู่ภายนอกได้  มักเรียกกันว่า ‘หายใจได้’ แม้ว่าจะหุ้มห่ออย่างหนาแน่น ข้อดีข้อนี้ช่วยให้ความชื้นไม่สะสมอยู่ในวัตถุหรือรอบ ๆ วัตถุ จนทำให้เกิดความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมา นอกจากนี้ ไทเวคยังช่วยกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็ก ๆ ถึง 0.5-0.7 ไมครอน  ไม่ให้เข้าไปในบรรจุภัณฑ์เป็นการป้องกันอันตรายจากสารมลพิษในอากาศและฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี

 

เรื่องโดย: อาจารย์จิราภรณ์ อรัณยะนาค

ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์

นักอนุรักษ์ SAC Conservation Lab

 


 

หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาเรื่องเก็บรักษางานสะสมของคุณ สามารถปรึกษาเราได้ที่ “SAC Conservation Lab

บริการด้านการอนุรักษ์และซ่อมแซมศิลปะวัตถุโดยทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ให้บริการทั้งทางด้านการปรึกษาแนวทางและบริการด้านการอนุรักษ์

สามารถดูรายละเอียดเพื่มเติมได้ ที่นี่

 

ติดต่อขอรับบริการและสอบถามทาง:

อีเมล: pornganok@sac.gallery

โทรศัพท์: 088-942-2965

Line Official: @sacbangkok

About the author

SAC Gallery

Add a comment