OPEN HOURS:
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
Once upon a time, the history was written by human to tell the stories of our efforts to conquer nature, the survival of our race, humanity, to remain existing until the day when we develop our knowledge in various fields, science, social science and anthropology for instance. It pointed out how small we are comparing to geological time scale, on the other hand, turned out to be key player, the protagonist, of the activities occurring in this world which greatly transform the planet and become the footprints of this era.
“Human change the world” over past 300 years, the advancement in healthcare and technology, dramatically increased the human population 10 times, rapidly increased the natural resource consumption and then, following with the increased in production to match with consumption demand. The consumption left vast amount of human footprints in the ecosystem, through the layer of minerals and rocks that crumbed together and formed unique pattern which marked and separated our identical era from Holocene completely.
The history of Geology had been revealed through evident of minerals especially those appeared between layers of rocks. Collecting and whispering the stories from under the ground, turn them into land form which identified the unique tales of the identical era which filled with social and cultural reformation that merged together with Earth system’s transformation into one layer. An effort to maintain earth system balance by embracing the volatility and transform the planet into whole new system which human being have to pause, witness and listen to those change.
From the familiar landscape perceived by human visions once created immense pressure on human, challenging us to fight against and live together with or conquer the nature, turned into plain and empty landscape that human tried to hold on, and keep our existence existing through the evident of life we left and abandoned constructions in Lek Kiatsirikajorn’s series of photographs “Lost in Paradise”.
Together with Trinnapat Chaisitthisak’s works which using the painting line and the creation of forms through space and time, invite us to exploring the changing dimension where two dimension surface turn into complex dimensions over empty space.
The appearance of human which did not exist on the surface but appeared through the footprints left in the process of creating those dimensions, dive us deep into the landscape created though the process of painting by Akira Ishiguro, to demonstrate the layer of minerals made of air, water and sediment compressed and pressured under the rock layer. Transforming the surface and craved the unique patterns and colors of the era, to identify the joint of period between the geological time scales which connected the story of humanity in history from Industrial revolution to Globalization.
Knowledge from “Land form” exhibition is an approach to demonstrate changes in geology with language of art to connected interdisciplinary together to reveals the image of changes invisible to our eyes and creating land form of art which lead us to the arguments in which human lifestyle played the key role in the activities that change and drive the world toward “Anthropocene Epoch”. Triggering humans to be more conscious about the planet, or the place where we lived in, using the changing landscape in contemporary world, perspectives, predictions, and the notion of the period we take part in which contributing to those change.
The exhibition “Land form” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 9 November until 18 December 2021.
Hashtag: #SACLandForm
ครั้งหนึ่งประวัติศาสตร์ถูกเขียนขึ้นโดยมนุษย์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความพยายามในการเอาชนะธรรมชาติ การเอาตัวรอดและการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ จนในวันหนึ่งการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์อันเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรธรณีกาล (Geological time scale) แต่กลับกลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ บนโลกใบนี้ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อโลก กลายเป็นลายเซ็นแห่งยุคสมัย
“มนุษย์ผันผวนโลก” กว่า 300 ปีที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และเทคโนโลยี ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นถึง 10 เท่า การบริโภคทรัพยากรทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยการผลิตเพื่อตอบสนองการบริโภค และการบริโภคที่ทำให้เกิดร่องรอยในระบบนิเวศปริมาณมาก จนชั้นของแร่ธาตุและหินทับถมกันเกิดเป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยุคแยกออกจากสมัยโฮโลซีนอย่างชัดเจน
ประวัติศาสตร์ผ่านธรณีวิทยาถูกเปิดเผยผ่านร่องรอยของแร่ธาตุเฉพาะที่ปรากฏแทรกระหว่างชั้นหิน บันทึกและกระซิบเล่าเรื่องราวจากใต้ผืนดิน สู่ภูมิลักษณ์บ่งชี้เรื่องเล่าเฉพาะแห่งยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ผนวกเป็นเนื้อเดียวกันไปกับความเปลี่ยนแปลงของระบบของโลก (Earth system) และความพยายามของระบบของโลกที่จะรักษาสมดุลเอาไว้ โดยการโอบอุ้มความผันผวนและเปลี่ยนโลกไปสู่ระบบใหม่ จนมนุษย์เองต่างต้องชะงักงันและเงี่ยหูฟัง
จากทัศนะวิสัยทางสายตาด้วยภาพวิวทิวทัศน์อันคุ้นชินถึงความยิ่งใหญ่ที่ครั้งหนึ่งได้สร้างแรงกดทับมหาศาลให้กับมนุษย์ ในความท้าทาย ต่อต้าน และดำรงอยู่ร่วมกับหรือเหนือกว่าธรรมชาติ นำไปสู่ภาพแลนสเคปที่รกร้างว่างเปล่าที่มนุษย์ต้องการเหนี่ยวรั้งและดำรงอยู่ผ่านร่องรอยของชีวิตเมื่อครั้งหนึ่งและสิ่งก่อสร้างอันรกร้างในผลงานภาพถ่ายของ เล็ก เกียรติศิริขจร ชุด Lost in Paradise ไปสู่กระบวนการในการสร้างรูปทรงผ่านกาลเวลาและพื้นที่ ด้วยเส้นสายทางจิตรกรรมที่ ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์ ทำการสำรวจทัศนมิติอันแปรเปลี่ยนไปในระนาบของพื้นผิวสองมิติไปสู่มิติที่สลับซับซ้อนบนพื้นที่ว่าง และการปรากฏตัวของมนุษย์ซึ่งไม่ดำรงอยู่บนพื้นผิวแต่ทิ้งไว้ด้วยร่องรอยตัวตนในระหว่างกระบวนการประกอบสร้างทัศนมิติ ดำดิ่งลึกไปในภาพภูมิทัศน์ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางจิตรกรรมของ Akira Ishiguro เสมือนร่องรอยของแร่ธาตุ จากอากาศ น้ำ ตะกอนดินสะสม ที่อัดแน่นและกดทับใต้ชั้นหิน เปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาให้เกิดลวดลายและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์แห่งยุคสมัย บ่งชี้ถึงจุดแบ่งไปสู่รอยต่อระหว่างยุคสมัยทางธรณีวิทยา ที่เชื่อมโยงเรื่องราวของมนุษย์ในประวัติศาสตร์จากช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาจนถึงยุคโลกาภิวัฒน์
องค์ความรู้จากนิทรรศการ “Land form: ภูมิลักษณ์” จึงเป็นการเทียบเคียงความเปลี่ยนแปลงทางธรณี ด้วยภาษาทางศิลปะ ที่เชื่อมโยงสหวิทยาเข้าด้วยกันเพื่อขยายให้เห็นภาพที่มนุษย์ไม่อาจสัมผัสถึงช่วงเวลาในระหว่างความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า กลายเป็นภูมิลักษณ์ทางศิลปะที่จะนำพาไปสู่ข้อถกเถียงต่างๆ อันมีวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ผันผวนและผลักดันโลกเข้าสู่ยุคสมัยมนุษย์ผันผวนโลก หรือ “Anthropocene Epoch” เพื่อให้เราได้เริ่มต้นที่จะคิดถึงโลกหรือพื้นที่ที่เรากำลังอาศัยอยู่มากขึ้น ด้วยภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปบนโลกร่วมสมัย ด้วยสายตา ด้วยการคาดคะเน ด้วยความตระหนักถึง ณ ช่วงเวลาซึ่งเรามีส่วนร่วมต่อความเปลี่ยนแปลง
นิทรรศการ “Land form: ภูมิลักษณ์” จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery)
Tuesday - Saturday 11AM - 6PM
Close on Sunday, Monday and Pubilc Holidays
For more information: info@sac.gallery
092-455-6294 (Natruja)
092-669-2949 (Danish)
160/3 Sukhumvit 39, Klongton Nuea, Watthana, Bangkok 10110 THAILAND
This website uses cookies
This site uses cookies to help make it more useful to you. Please contact us to find out more about our Cookie Policy.
* denotes required fields
We will process the personal data you have supplied in accordance with our privacy policy (available on request). You can unsubscribe or change your preferences at any time by clicking the link in our emails.