A Disproportionate Burden: by Pichai Pongsasaovapark

7 August - 22 October 2021

With more than 30% of the workers in Thailand involved in agriculture, the Thai economy depends greatly on farming. Due to modernization, farms have undergone structural changes adding more mechanization, technology, and globalization, as they try to meet the demands of the global market. The number of pesticides that have been imported and used in Thailand has increased with each passing decade. Thai farmers have had to respond to the market demands for increasing crop yields and the need for greater productivity by not only expanding their tillable land but also using more and more chemicals in farming. As a developing nation, using pesticides is imperative in Thailand, however, the overuse and poor regulation of these chemicals pose health risks to farmers, their families, and the general population. 

 

Bangkok-based artist Pichai Pongsasaovapark explores the health impact this has had on the people of Thailand. His artwork is known for addressing concerns around air pollution and contamination issues in society. This practice brought him to explore the health of the land and interview farmers firsthand, with special focus on the local people in the northern areas of Chiang Rai and Mae Hongson provinces. 

 

He was moved by witnessing the pressure farmers are under to grow and produce the best and most beautiful product and to have shorter times between growing and selling, which is supposedly what the consumer wants. The widespread use of agri-chemicals, such as herbicides and pesticides, as well as the burning of their fields for faster turnover of the soil, are seen by farmers as necessary evils to be able to compete in the current market. 

 

For this exhibition, A disproportionate burden, presented by SAC gallery, Pichai continues his approach of manipulating surface texture through using nontraditional artistic tools.  His works capture in a tangible way the real and present danger that goes unseen by the naked eye, in effect, saying: “What you can't see, can hurt you.” While previously he used exhaust pipes for his series, Poison Flower and Deluge, for this series he used steamroller, to crush flowers, vegetables, coffee beans, and sugar canes.  Steamrolling to flatten the beautiful and healthy produce grown by farmers for our benefit is an effort to give form to the dangers of the chemicals used in modern agricultural production. Pichai’s work captures visually the pressures that farmers feel to increase agricultural production. The steamrolling act of printing also is symbolic of the destruction of illegal and counterfeit goods, a way to demonstrate a resolve to protect imported foreign products. Additional works in this series utilize newspapers, another printing approach, through which Pichai highlights the stock pages of the newspaper, reflecting how the economy drives the overuse of these agri-chemicals.

 

Over his career, Pichai’s work has used acrylics, mixed media, and photography to create abstract and conceptual work. For this series, he also introduces the use of argi-chemicals into his process. The textures in these works convey the deepness of the pain inflicted on humans when they are exposed to the toxic chemicals. In order to draw attention to this point, Pichai exposed himself to the chemicals as he created the textures in his work. He desired to know the feeling and to understand the pain of those who are forced to use these things for the betterment of our society.  Falling ill during the process, he realized that no one is safe and that the best of intentions can have unforeseen and harmful consequences.  The dangers to both farmers and consumers lurk in the surface of the resulting artwork, and the usage of the 10-ton steel wheel of the steamroller evokes the pressure that farmers face to use agrichemicals to stay competitive and meet global market demands.

 

No part of society is completely safe from pesticides and their health effects, though A disproportionate burden is shouldered by the people of developing countries such as Thailand.

 

The exhibition A disproportionate burden will be held on the third floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 7 August until 22 October 2021. The official opening ceremony will be held on 7 August 2021, 6:00PM onwards.

 

Hashtag: SACPichai

 


 

จากการที่คนทำงานจำนวนมากกว่า 30% อยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขึ้นอยู่กับการเกษตร การเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เรือกสวนไร่นาต้องผ่านการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อการพัฒนาให้ทันสมัย มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการผลผลิตของตลาดโลก เกษตรกรในประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวตามความต้องการของตลาดที่ต้องการปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณการผลิต โดยไม่ใช่แค่ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพียงเท่านั้น ยังมีการนำสารเคมีในการเกษตรมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้น ในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าและใช้งานยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาทำให้การใช้ยาฆ่าแมลงเป็นสิ่งจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ในปริมาณมากเกินไปและรวมไปถึงกฎเกณฑ์ข้อบังคับในการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกร ครอบครัวของพวกเขา และยังรวมไปถึงประชาชนคนทั่วไปที่เป็นผู้บริโภค

 

พิชัย พงศาเสาวภาคย์ ศิลปินซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักในการพูดถึงประเด็นปัญหามลพิษทางอากาศและการปนเปื้อนของสารพิษในสังคมผ่านผลงานชิ้นที่ผ่านมา เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่อสุขภาพของคนไทย ด้วยการลงพื้นที่สำรวจสภาพแวดล้อมและสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง โดยเน้นไปที่ชาวบ้านและคนในท้องถิ่นพื้นที่ตอนบนของจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอนเป็นพิเศษ

 

เขาได้รับแรงบันดาลใจจากการสังเกตเห็นความกดดันที่เกษตรกรต้องแบกรับ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พวกเขาไม่เพียงต้องเพาะปลูกผลผลิตที่ดีที่สุดเท่านั้น แต่ยังต้องสวยที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องเร่งระยะเวลาให้ผลผลิตสามารถเข้าสู่ตลาดได้ไวขึ้น ทำให้มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเช่นสารกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง รวมไปถึงความจำเป็นที่จะใช้วิธีผิดๆ อย่างการเผาไร่นาเพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกครั้งถัดไปได้เร็วขึ้น จะได้สามารถแข่งขันในตลาดได้

 

ในนิทรรศการ A disproportionate burden ซึ่งนำเสนอโดยเอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) ครั้งนี้นั้น พิชัยยังคงนำสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะมาใช้ในการสร้างสรรค์รูปแบบพื้นผิวของผลงาน ผลงานของเขารวบรวมและบีบอัดภาวะความอันตรายที่แท้จริงซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าให้ปรากฏและสัมผัสได้ผ่านชิ้นงานบนแนวคิดที่ว่า“สิ่งที่มองไม่เห็น สามารถทำร้ายคุณได้” หากเราย้อนไปดูผลงานก่อนหน้านี้ เขาได้ใช้ท่อไอเสียในการสร้างสรรค์ผลงานชุดดอกไม้พิษ (Poison Flower) และชุดน้ำท่วม (Deluge) จนมาถึงผลงานชุดปัจจุบันนี้เขาได้หันมาใช้รถบดถนนในการบดขยี้ดอกไม้นานาพันธุ์ พืชผักชนิดต่างๆ เมล็ดกาแฟ และอ้อย เขาเจตนาใช้การบดขยี้ผลผลิตที่สดใหม่และสวยงามเหล่านี้ที่เป็นผลงานการผลิตจากน้ำพักน้ำแรงเกษตรกรและตั้งใจปลูกโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพิมพ์ภาพอันตรายของการใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าทางการเกษตรสมัยใหม่ปรากฏเป็นรูปให้ผู้ชมได้เห็น ผลงานของพิชัยแสดงออกถึงความกดดันที่เกษตรกรต้องเผชิญเพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด การบดด้วยรถบดยังเป็นเครืองหมายสื่อถึงการทำลายสินค้าปลอมและผิดกฎหมาย ที่ใช้สาธิตให้เห็นการแก้ปัญหาเพื่อคุ้มครองสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ผลงานบางส่วนในชุดนี้ใช้หนังสือพิมพ์เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน โดยพิชัยได้ทำการขับเน้นหน้าเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาคเศรษฐกิจเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเกินขนาด

 

ในชีวิตการเป็นศิลปินของเขา พิชัยได้ใช้สีอะคริลิก สื่อผสม และภาพถ่าย ในการสร้างผลงานนามธรรมและนำเสนองานเชิงแนวความคิด และสำหรับผลงานชุดนี้เขายังได้ใช้สารเคมีทางการเกษตรมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชิ้นงาน โดยพื้นผิวของชิ้นงานเหล่านี้แสดงออกถึงบาดแผลที่มองไม่เห็น ความเจ็บปวดที่ฝังซึมลึกอยู่ภายในร่างกายของมนุษย์เมื่อเผชิญกับพิษของสารเคมี และเพื่อที่จะเรียกร้องให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าว พิชัยจึงได้นำตัวเองเข้าไปสัมผัสกับสารเคมีในขณะที่เขาสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยความตั้งใจที่จะรับรู้ถึงความรู้สึกและต้องการจะเข้าใจความเจ็บปวดของผู้คนที่ถูกบังคับให้ใช้สารเคมีเหล่านี้เพื่อสนองความต้องการของสังคม การล้มป่วยลงระหว่างการทำงานทำให้เขาตระหนักได้ว่าไม่มีใครปลอดภัยจากการใช้สารเคมี และเจตนาที่ต้องการจะพัฒนาสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายโดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า อันตรายต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคถูกแสดงให้เห็นบนพื้นผิวของผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ การใช้ล้อเหล็กหนัก 10 ตันของรถบดถนนกระตุ้นให้เรารู้สึกถึงความกดดันที่เกษตรกรถูกบีบให้ใช้สารเคมีเพื่อให้สามารถอยู่รอดและผลิตผลผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก

 

ไม่มีส่วนใดของสังคมเราที่ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงและอันตรายของมันต่อสุขภาพ ผลงานชุด A disproportionate burden นี้แฝงไปด้วยอันตรายในชีวิตของผู้คนจากประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่น ประเทศไทย

 

นิทรรศการ A disproportionate burden จัดแสดงระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม - 22 ตุลาคม .. 2564 ณ ชั้น 3 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 7 สิงหาคม .. 2564 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป