GOLEM2022: Embodying the monster: by Ruangsak Anuwatwimon

17 March - 4 June 2022

What kind of the reflection when humans see themselves in the mirror? Could it be the body? Each part fits together to be a person which resembles the other. But, the appearance of the human body is also different through visible details, also making us imperfect humans. Through the long period of anthropogenic history, humankind has survived by biological evolution and adaptation to living in diverse geographies. Because human wasn’t created by God. 

            

The survival instinct arouses different kinds of human emotions. Impairment and loss are part of fear for lacking fundamental requisites. These unstable feeling drives all of us to find a way or create various mechanics to adapt and survive. An aspect of adaptions has metaphorically retold through mythic character, the figure with perfect strength and higher physical abilities than human.

            

Embodying the monster is a solo exhibition by Ruangsak Anuwatwimon, inspired by the legend of the golem. Due to the Jewish folklore, the mythical creature was made of clay, animating with magic or holy spell to protect and support the pure desire of the maker. The golem has appeared in many works of oral literature, legends, and mythologies from different areas and stories. However, the concurrence from all stories is the description of appearance; a human-like figure with stronger physical abilities are better than mortal humans, the maker can still deform the golem to the original material when it is out of control, reflecting the law of creation and destruction.   

 

GOLEM by Ruangsak has been a part of a long-term art project since 2011. The project has started from the recollection of golem myths in diverse cultures. The artist reinterpreted the mythic creature within contemporary contexts to the embodiment of golem which is paralleled to the human physical ideal. He is creating the gigantic human figure, the ideal GOLEM was compounded with artificial organs, which were made from the ashes of the collected plants and animals from around the world.    

 

In this Embodying the monster’s exhibition reveals the embodiment of human entities by installing sketches of organs. The organs re-connect the existence of each species, retelling the mythologies and local folklores. Reminding us of either direct action or indirect connection, human still relates to other living creatures, particularly in consumerism. Consumer goods, medical services, and beauty products are seen as parts of the culture of consumption, aiming the human body to be perfect and strong following the social standard. The artist revived GOLEM legends through story-telling, flowing its definition fluidly from one state to others. Death transmits life to another living creature, being a part of an endless life cycle for all of the species on the Earth. However, it seems nature cannot define the limitless of human existence and revolution to be the perfect being. 

 

Like the ancient magic spell casting on animating golem, a human can be forwardly transformed into the ultimate species by the revolution of science and technology advances through the period of time. But on the contrary, humanity cannot be reached by these fast-paced advances. Deep down in our conscious, fear and anxiety of incompleteness have still remained. The complexity of humankind has beyond the form of appearance, race, or intellectual perception. The connection of biological status in ecology system, hierarchical relationship in social organization and movement of culture has represented the true self-image of humans, better than the reflection in the mirror. 

 

The GOLEM of Ruangsak is like the artistic memoirs, recording taxonomic species and ecosystem connections that once exist or still live. Some species are now endangered, extinct, and rarely seen in nature which are recognized in retold stories as same as myths for all magical creatures. Ruangsak Anuwatwimon has alchemized the interdisciplinary studies to create the project. Embodying the monster exhibition unveils the magical stories of artistic sensibilities through his GOLEM, connecting the audiences to the embodiment of meta-human-yet reflecting the entity of humankind beyond any imaginary of alienation and incompleteness.

 

The exhibition “GOLEM2022: Embodying the monster” will be held on the third floor of SAC Gallery from 17 March - 4 June 2022. The official opening ceremony will be held on 17 March 2022, 6.00PM onwards.

 

Hashtag: #SACRuangsak #GOLEM2022 #SACxVER

 


 

 

มนุษย์เรามองเห็นอะไรจากเงาสะท้อนของกระจก? องค์ประกอบของร่างกายที่รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว แตกต่างและคล้ายคลึงจากคนอื่นในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยหากมองด้วยสายตา แต่ยังคงความเป็นมนุษย์โดยพื้นฐานอันไม่สมบูรณ์แบบ จากวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เอาตัวรอดได้ในสภาพแวดล้อมอันหลากหลายในแต่ละพื้นที่ เป็นระยะเวลายาวนานในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการสายพันธุ์มนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้น

 

สัญชาตญาณของการเอาตัวรอดกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ความบกพร่องและขาดหาย เป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกหวาดกลัว ต่อการขาดพร่องซึ่งปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ ก่อเกิดความรู้สึกอันไม่มั่นคง ขับเคลื่อนไปสู่ความคิดในการแสวงหาหรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถปรับตัวและอยู่รอดต่อไป กลายเป็นตำนานเรื่องเล่าขานอันบันทึกไว้ถึงสิ่งมีชีวิตพิเศษซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์ เพื่อเป็นร่างแทนหรือภาพสะท้อนของสิ่งมีชีวิตอันสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นไปกว่ามนุษย์

 

Embodying the monster นิทรรศการเดี่ยวโดยศิลปิน เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล เป็นหนึ่งในนิทรรศการต่อเนื่องจาก GOLEM โปรเจคทางศิลปะระยะยาวตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2554 ศิลปินหยิบยืมแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าในตำนานของสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นจากดินเหนียวในนิทานพื้นบ้านชาวยิว เป็นที่เรียกขานกันในนามว่า golem สิ่งมีชีวิตซึ่งประกอบร่างสร้างกายขึ้น มีชีวิตและเคลื่อนไหวได้ด้วยเวทมนตร์หรือถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นผู้คอยช่วยเหลือ ปกป้องหรือคุ้มครองตามวัตถุประสงค์อันบริสุทธิ์ของผู้สร้าง golem ปรากฏตัวขึ้นในคำบอกเล่า ตำนาน และเรื่องเล่าในหลายพื้นที่บนเนื้อหาที่แตกต่างกันไป สิ่งหนึ่งที่มีร่วมกันคือสิ่งมีชีวิตรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับมนุษย์แต่กลับสมบูรณ์เหนือไปกว่าผู้สร้าง จนถูกทำลายหรือทำให้สลายกับคืนสู่วัตถุตั้งต้น golem จึงสะท้อนถึงแก่นของเรื่องเล่าผ่านกฎของการสร้างสรรค์และการทำลายล้างซึ่งเป็นสิ่งคู่กัน

 

เรืองศักดิ์ มองย้อนกลับไปในตำนานเกี่ยวกับ golem ในวัฒนธรรมต่างๆ ถึงรูปร่างหน้าตาอันสมบูรณ์แบบจากจินตนาการของมนุษย์ และตีความถึง GOLEM ของตนขึ้นมาใหม่ด้วยความหมายที่ร่วมสมัย ด้วยรูปร่างของมนุษย์จำลองรูปทรงสูงใหญ่ซึ่งรวมจุดเด่นและองค์ประกอบของร่างกายที่เชื่อว่าสมบูรณ์แบบที่สุด มาประกอบสร้างร่างกายขึ้นผ่านการรวบรวมและสะสมชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ จากพันธุ์พืชและสัตว์กว่าทั่วโลก นำมาเผาให้เหลือเพียงฝุ่นเพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการสร้างสรรค์และขึ้นรูปผลงานแต่ละชิ้นให้กลายเป็นชิ้นส่วนของอวัยวะร่างกาย

 

รวบรวมและนำกลับมาจัดแสดงอีกครั้งในนิทรรศการ Embodying the monster โดยเป็นการนำเอาภาพร่างชิ้นส่วนอวัยวะของร่างกายแต่ละชิ้นกลับมาประกอบเข้า ผูกและโยงความหมายของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์เข้าด้วยกันกับผลงานแต่ละชิ้นผ่านเรื่องเล่า และตำนานพื้นถิ่น ทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะในทางตรงหรือทางอ้อม เราต่างเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะในวัฒนธรรมบริโภคนิยม ที่เปลี่ยนรูปแบบของการบริโภคให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค บริการทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ เพื่อสร้างร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรงตามรสนิยมของสังคม ศิลปินสร้าง GOLEM ให้กลับคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้งผ่านเรื่องเล่าที่สร้างความหมายของสิ่ง ซึ่งเปลี่ยนถ่ายลื่นไหลจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง ความตายของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ส่งผ่านและกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตอีกสิ่งหนึ่ง วนเวียนเป็นวงจรชีวิตของบรรดาสรรพสิ่งที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนผืนโลก หากแต่กฎของธรรมชาตินี้เองกลับไม่อาจครอบคลุมและจำกัดความต้องการอันไร้ขอบเขต ในการดำรงชีวิตและการสร้างมนุษย์ที่เหนือกว่าและสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นไปกว่าได้ 

 

และในปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้ามากพอ การสร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบกว่ามนุษย์ไม่ใช่เรื่องยากเหนือจินตนาการอีกต่อไป คงจะไม่แตกต่างอะไรจากเวทมนตร์เมื่อครั้งอดีตที่สร้างสิ่งมีชีวิตเช่น golem ขึ้นมา อย่างไรก็ตามแก่นแท้ของธรรมชาติมนุษย์กลับเปลี่ยนแปลงไม่ทันความก้าวหน้าเหล่านั้น แม้ว่าพฤติกรรมของเราจะถูกปรับไปตามสภาพแวดล้อมเท่าไร แต่เบื้องลึกในจิตสำนึกยังคงไว้ซึ่งความคิดความคาดหวังที่ขัดแย้งกัน ความรู้สึกบกพร่องและขาดหายซึ่งบางสิ่งบางอย่าง ความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะบอกเล่าผ่านรูปร่าง สีผิว และสติปัญญา สุดท้ายแล้วภาพสะท้อนที่เราเห็นจากกระจกเงาอาจไม่เพียงพอที่จะบอกเล่าถึงตัวตนความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ เท่ากับบันทึกความสัมพันธ์ในระบบนิเวศน์ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและเชื่อมสายธารของเรื่องเล่าจากแต่ละแห่งเข้าด้วยกันทั้งในแง่เวลาและสถานที่

 

GOLEM ของเรื่องศักดิ์จึงเปรียบเสมือนบันทึกของสายพันธุ์และสายสัมพันธ์ของชีวิตที่เคยดำรงอยู่ และยังดำรงอยู่ บางสายพันธุ์ใกล้เคียงกับคำว่าสูญพันธุ์ สูญหาย พบเห็นได้ยากในธรรมชาติ จนเราสามารถทำความรู้จักสายพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้น ได้เพียงจากคำบอกเล่า เรื่องเล่า หรือในอีกความหมายหนึ่งตำนานที่กล่าวถึงสัตว์วิเศษเองเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอดีตเช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ไม่เกินไปนักว่าการทำงานของเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล เปรียบได้กับนักเล่นแร่แปรธาตุทางศิลปะ ที่นำเอาสหศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานชุด GOLEM และถูกปลุกกลับมามีชีวิตอีกครั้งผ่านผัสสะทางศิลปะในนิทรรศการ Embodying the monster เมื่อสภาวะของเรื่องเล่าทำงานร่วมกันราวกับเวทมนตร์ที่นอกจากจะประกอบร่างสร้างตัวตน GOLEM ตัวนี้ขึ้นมาแล้ว ยังร้อยเรียงผู้ชมเข้ากับเรื่องเล่าเหล่านั้นที่เลื่อนไหวไปตามเค้าโครงร่างของสิ่งมีชีวิตอันสมบูรณ์แบบเหนือความเป็นมนุษย์ แทนถึงตัวตนบนโลกที่ผู้คนล้วนจินตนาการไม่ถึง แปลกปลอม บกพร่อง และไม่สมบูรณ์แบบ

 

นิทรรศการ “GOLEM2022: Embodying the monster” จัดแสดงระหว่างวันที่ 17 มีนาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหอศิลป์ ชั้น 3 เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไป