Anthroposphere: by Kwanchai Lichaikul

22 April - 9 July 2022

Over the past several years, Kwanchai Lichaikul has introduced new perspectives through the world of bird’s-eye view painting. While technology may allow modern humans the ability to peer down on the world from above, the nuances of society are often left unseen through these lenses. Conversely, Kwanchai’s works allow humans to identify the movements of capitalism in the present day, be it through the changes in culture, areas of industry and agriculture, and the foundational co-dependent relationship between humans and the Earth. Nevertheless, varying perspectives can be found through the consumption of news, stories, and history. As humans expand their territories for the purposes of residency and farming, drawing more and more upon the Earth’s resources to fuel our industries, Kwanchai’s illustrations portray these crucial details that reflect the interaction between lifestyles and cities, creating in movements within the paintings that afford us the chance to observe relevant events through a reshuffling of society shown in his works.

 

The picture of Thailand’s political activities as seen from a wide angle invites us to consider the influence of church mural paintings, especially after the major shift in wall-painting styles that occurred during the reign of King Chulalongkorn (1868 – 1910). During this era, the subject matter of wall murals changed from supernatural legends to depictions of the cosmos and astrology as influenced by the works of renowned artist Khrua In Khong, opening new possibilities to the art of storytelling through the medium of wall paintings through the depiction of dharma puzzles. These paintings were meant to signify that the teachings of Buddhism are relevant to the modern world, and can be explained through the means of logic and discourse. As such, the paintings of Khrua In Khong acted as an important catalyst for the development of wall murals, in particular the bird’s-eye view perspective, which was improved upon, experimented with, and adjusted to the contexts of both religion and contemporary art. 

 

Furthermore, the use of the bird’s-eye view perspective to convey a narrative is an art form that has been used throughout Asia and Europe since ancient times. From cartography to religious paintings, each of these disciplines utilize different methods in utilizing cosmology. Once photographs - hailed as an instrument capable of capturing truth by way of science - began having a role to play in illustrating, the truth as derived by these mechanisms of sight have notably been inserted into wall murals. Thailand serves as a prime example, as the painted scenes of cosmology underwent a major transformation throughout history, including the contemporary art scene of today. These paintings are a form of cultural medium that possesses its own language, designed to facilitate concepts of societal structuring with a foundation of unequal relationships between varying groups that serve different functions in society, while also exploring the cultural forces driving it forward. 

 

Based on these developments, murals possess a new dynamic in terms of storytelling, and Kwanchai is among the many artists influenced by these major developments in the craft of wall mural painting. As new practices and methods of wall painting continue to be devised and defined, artists utilize only the language of lines to tell the stories of each region, its people, and its vistas, from homes and structures to monuments significant to the community, all spread across the city. The division of each district and area based on Sintao lines, in particular the competition for space, rice, social standing, and culture. From the stories of ordinary folk to the existence of the elite, the crowded facade is hidden by the fragility of the foundations that invite audiences to ponder on the existence of a community that is filled with diverse people and ideas. 

 

Additionally, the portrayal of the events and activities in people’s lives found in wall murals reveals a societal identity that is still diluted by conflict arising from clashing ideas, illegitimate use of authority, and the vastly differing qualities of life between the classes. Photographs and news reports have played an important role in informing us of various minutiae of a society. Beyond just exploring the cities on foot, Kwanchai relies on news reports published by various sources, including social media, to complete a painting that is representative of the world; of the spaces within it, and the communities within those spaces, particularly the significant events captured in these illustrations. These concepts collectively form the history of not just the human race, but of the environment and the earth as well. As no matter the changes in nature or its disasters, humans and the Earth have an unbreakable and inevitable bond. 

 

The “Anthroposphere” exhibition by Kwanchai Lichaikul deals with the portrayal of truth without any miracles or supernatural phenomena, and is another important milestone for an art form that is conceived from wall mural paintings, introducing new expressions that correlate to the activities of people as they make their way through the cycle of societal systems. The exhibition pieces together the stories of people, structures, nature, and current events all at once. Though differing in terms of time and space, all things are capable of demonstrating the causational strands that connect past, present, and future. Ultimately, it is the audiences themselves that will act as the medium, connecting the experiences within each painting and becoming part of the ecosystem where history and humanity - as residents of this world - finally meet. 

 

The exhibition “Anthroposphere” will be held on the first floor of SAC Gallery from 22 April - 9 July 2022. The official opening ceremony will be held on 22 April 2022, 6.00PM onwards.

 

Hashtag: #sacbangkok #SACKwanchai

 


 

กว่าหลายปีที่ผลงานของ ขวัญชัย ลิไชยกุล ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ผ่านโลกของการวาดภาพแบบ Bird’s-eye view แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีจะทำให้เราได้เห็นเมืองจากมุมมองทางอากาศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่สามารถมองเห็นมิติทางสังคมเพียงการมองผ่านเทคโนโลยี จิตรกรรมทิวทัศน์ของขวัญชัยทำให้เราสามารถเชื่อมโยงวิถีทางของทุนนิยมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนภาพวัฒนธรรมที่ปรับเปลี่ยนไป พื้นที่ของอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รูปแบบทางสังคมที่มนุษย์และโลกพึ่งพิงกันอยู่เป็นโครงสร้าง แต่ก็มีอีกหลายๆ แง่มุมที่ผ่านการรับรู้ในรูปแบบของข่าวสาร เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์ได้ขยายพื้นที่เพื่อครอบครองที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง ดึงทรัพยากรต่างๆ มาขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างมหาศาล ภาพวาดของขวัญชัยได้ใส่รายละเอียดสำคัญๆ เหล่านี้ สะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตและเมือง เกิดเป็นความเคลื่อนไหวภายในจิตรกรรมที่ทำให้เราได้เฝ้ามองเหตุการณ์ที่น่าสนใจผ่านการจัดวางสังคมขึ้นใหม่ในผลงาน

 

ภาพกิจกรรมของเมืองในมุมกว้างชวนให้พินิจไปถึงการหยิบยืมกลวิธีการวาดจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ โดยเฉพาะหลังจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของจิตรกรรมฝาหนังในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) แนวคิดของการวาดภาพจิตรกรรมฝาหนังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากตำนาน เหตุการณ์เหนือจริง ไปสู่จักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ผ่านผลงานของขรัวอินโข่ง และได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับวิธีเล่าเรื่องบนจิตรกรรมฝาหนังด้วยวิธีการแสดงปริศนาธรรม เพื่อนำเสนอว่าพระธรรมคำสอนในศาสนาพุทธมีความเป็นสากล และสามารถเล่าผ่านวิธีการที่เป็นเหตุเป็นผล จิตรกรรมของขรัวอินโข่งจึงเป็นต้นแบบสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้การวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยเฉพาะการวาดภาพ Bird’s-eye view ได้รับการพัฒนา ทดลอง และถูกปรับใช้เพื่อนำเสนอทั้งในบริบททางศาสนาและศิลปะร่วมสมัยอย่างสำคัญ 

 

นอกจากนี้การเล่าเหตุการณ์จากมุมมอง Bird’s-eye view ยังเป็นจิตรกรรมประเภทหนึ่งที่ถูกใช้ทั้งในเอเชียและยุโรปแต่โบราณ ตั้งแต่การสร้างแผนที่ ไปจนถึงจิตรกรรมทางศาสนา ล้วนมีวิธีการสร้างจักรวาลวิทยาที่แตกต่างกัน เมื่อภาพถ่ายที่ถูกยกให้เป็นเครื่องมือที่สามารถถ่ายทอดความจริงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการวาดภาพ ความจริงที่ผ่านกลไกทางการมองเห็นเหล่านี้ได้ถูกสอดแทรกเข้ามาในจิตรกรรมฝาผนังอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะในประเทศไทยจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างน่าสนใจในประวัติศาสตร์สู่การส่งอิทธิพลให้กับศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบัน ซึ่งจิตรกรรมเหล่านี้เป็นสื่อทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีภาษาเฉพาะ เป็นภาษาที่เอื้อและสนับสนุนความคิดในการจัดระเบียบทางสังคมที่มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันของคนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในสังคม พร้อมกับสำรวจวัฒนธรรมที่กำลังขับเคลื่อนไป 

 

จากพัฒนาการนี้ จิตรกรรมฝาผนังจึงมีพลวัตรในการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ และขวัญชัยนับว่าเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับอิทธิพลความคิดจากพัฒนาการสำคัญๆ ของจิตรกรรมฝาผนัง เมื่อการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นมีรูปแบบและชั้นเชิงมากขึ้น ศิลปินใช้เพียงภาษาของเส้นเพื่อเล่าเรื่องราวของพื้นที่ ผู้คน ฉากทิวทัศน์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน อนุสาวรีย์สำคัญๆ ชุมชนที่กระจัดกระจายอยู่ในเมือง การกำหนดอาณาเขตทางพื้นที่และเวลาด้วยเส้นสินเทา โดยเฉพาะการช่วงชิงพื้นที่ ข่าวสาร ความเป็นไปทางสังคม วัฒนธรรม ตั้งแต่เรื่องราวของชาวบ้านไปจนถึงการดำรงอยู่ของชนชั้นนำในสังคม ความหนาแน่นของทิวทัศน์เบื้องหน้าซ่อนไว้ด้วยความเปราะบางของโครงสร้างที่ชวนให้ผู้ชมได้พิจารณาถึงการดำรงอยู่ในรูปแบบชุมชนที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย

 

นอกจากนี้การนำเสนอให้เห็นเหตุการณ์ กิจกรรมของมนุษย์ในผลงานจิตรกรรมเผยลักษณะสังคมที่ยังเจือปนไปด้วยความขัดแย้งจากแนวคิดที่แตกต่าง การใช้อำนาจ และการใช้ชีวิตต่างชนชั้น ภาพถ่าย และข่าวสารได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเรียนรู้รายละเอียดต่างๆ ในสังคม ซึ่งนอกจากการเดินสำรวจเมืองแล้ว ขวัญชัยใช้ทั้งข่าวสารที่แพร่กระจายอยู่ในสื่อต่างๆ รวมถึงโซเชียลมีเดีย เพื่อเติมเต็มภาพวาดที่เป็นตัวแทนของโลก ของพื้นที่ ชุมชน โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญที่ได้รับการจารึกไว้ในภาพวาด สิ่งเหล่านี้คือประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เพียงการบันทึกกิจกรรมของมนุษย์ แต่สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ก็ได้รับการบันทึกไว้ด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติหรือภัยพิบัติ มนุษย์และโลกต่างก็มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมต่อกันอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

นิทรรศการ Anthroposphere โดย ขวัญชัย ลิไชยกุล จึงว่าด้วยการนำเสนอโลกความจริงที่ไร้ปาฏิหาริย์หรือเรื่องราวเหนือจริงใดใด และเป็นอีกหมุดหมายสำคัญของศิลปะที่ได้พัฒนาจากการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังให้เกิดสำนวนใหม่ๆ สอดคล้องกับกิจกรรมของมนุษย์และการหมุนไปในระบบสังคม การปะติดปะต่อเรื่องราวของผู้คน สิ่งก่อสร้าง ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน แม้จะแตกต่างกันด้านเวลาและพื้นที่ แต่ทุกสิ่งล้วนชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สุดท้ายผู้ชมเองจะเป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อประสบการณ์ผ่านจิตรกรรมเหล่านี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ประวัติศาสตร์และมนุษย์ในฐานะประชากรของโลกได้บรรจบกัน

 

นิทรรศการ “Anthroposphere” มีกำหนดจัดแสดงระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหอศิลป์ ชั้น 1 เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไป