Nature versus Nurture: by Naraphat Sakarthornsap

18 June - 13 August 2022

“Nature versus Nurture” is a well-discussed theory of human psychology. There are countless stories of removed relatives sharing behavioral traits and appearances. At the same time, there are also stories of humans who are uniquely shaped by their production environments. 

 

In this solo exhibition, “Nature versus Nurture” by Naraphat Sakarthornsap, three stages of the flowers’ whole life are shown in the works and reflect his own past life. He has faced the crisis of having his freedom limited and his identity taken away by society. Beyond that, it mirrored his generation, who were born with inequality and lived without freedom.

 

Fighting social inequality is nothing new. However, hundreds of years have passed, and in Thailand and other countries, many people are still fighting for their rights.  Throughout the years, many have had their social identities destroyed. Others had further seen the boxing in and limitations of these identities, leading to discrimination amongst the social classes. These conditions for struggles are constructed and orchestrated against personal beliefs. Naraphat has been presented with events and processes linked to the narrative of “cut flowers.”

 

The sublimation and self-reflection of these works resonate with the whole society, as there is an issue of freedom that affects us all. And as an identity, his artistic analysis has formed the stages of how identity is made. 

 

This exhibition describes the three steps of a commercial flower’s manufactured essence. The flower’s journey in life is restricted, not unlike ours—a different version of short and contrived: Stage one of that life is met with the first series named “Cut Chrysanthemum Production.”

 

Flowers are grown to become a perfect product on a farm and thus, denied from growing naturally. Many flowers have been genetically modified and bred for their beauty. During the 13th century, chrysanthemums became a human-altered species; later, they were exported worldwide. Many chrysanthemum species are much larger than natural and are resistant to bad weather. Regardless, they can only live in a vase for several days. Human intervention has made it difficult to trace the exact ancestors of the chrysanthemum species that can be seen today. They have been bred and altered to blossom out of their regular seasons and sell. 

 

This stage of initial control is followed by the second stage: the presentation of perfection. The second series, “Flower Refrigerator,” frames the pageantry of this beauty that accepts no errors. Once those prime flowers leave the farm, they are caged in refrigerators, turning them into a perfect product for people who can afford them. Whether alive or frozen in death, they have come to symbolize the ideal artificial product. Many of these flowers have also changed location, as cheap production costs in southern countries have displaced domestic production of traditional flowers. They are also sterilized to prevent species cloning done outside by business competitors. Flowers are harvested; some species are cut off from the plant before they even have a chance to bloom. No chance of growing nor even reproducing naturally. Their loss of liberty as they were planted in the fields by human hands to be prisoners in a freezer then. A commodity of the cut flower industry demands daily, fresh, identical flowers, usually in large quantities.

 

The fundamental human right to protect everyone at birth isn’t always so. Are we just a flower in a freezer, a social product? Allowed to be perfectly beautiful by social values. Yet also powerless, voiceless, invisible. We wait for the day to wither and be thrown like a soul-less object in the trash.

 

We reach stage 3; the flowers enter the stage of the ego. People have loved to modify and separate other living things from their world.  We can value things and devalue them and preserve some beings for just a single group of people. That is a high society with its addiction to control. 

 

The series of works aims to present another perspective of flower arrangement through the eyes of the middle class by reducing the sense of the upper class attached to a flower arrangement in the past with the way the artist, who had a middle-class upbringing, with self-taught skills, arranges the flowers himself. The artist uses seasonal flowers, even some discounted flowers found in the market at the time, incorporating some ordinary objects found in his own house from a water dipper, a freebie instant noodle cup, or a pet bowl to use as vases.

 

During his artistic process, he explores himself while also exploring humanity. This follows a semiotic floral tradition in art history. Starting with the gorgeous painting arrangements of the 17th-century Dutch floral artist Ambrosius Bosschaert, artists began to incorporate the obsessive tendencies of humans to kill, collect, and arrange their ideas of beauty.  The fact that the Dutch empire would rise and fall on the addiction to the beauty of the tulip is no coincidence. Exotic obsessions have become the norm for modern humans. The art of the 19th century saw a rise in floral paintings, saturated in hidden emotions and meanings in the elaborate bouquets of Western European art. By the 20th century, the American artist Georgia O’Keefe abstracted those emotions further with her zoomed-in floral mysteries, which shed light on identity. Naraphat’s artwork continues in this style through installation photography that further bends the illusions of society. 

 

His work shows the flaws in humanity’s appearance. Self-identifying as beautiful creatures, we often grow under the illusion that we actively possess our freedom. We learn that the beauty of being human is often much more orchestrated than a natural occurrence.  We ignore that we live where we don’t belong, and we survive often cut from where we wish to be.  Most of us remain cuddled and comforted by the charlatans, molded into something we believe we are, which is a being in blossom, on our terms, awaking at the right time. 

 

Superficially, we have come to represent what humans could become. We have lost contact with our souls, becoming replaceable and silent. The attraction of humans to flowers is a dominant social affection, the metaphor we historically have committed to. Perhaps humans take comfort in watching the short and beautiful life of another biological being exist and end multiple times in a human lifespan. The symbol of our ephemeral existence, we need flowers.

 

The exhibition “Nature versus Nurture” will be held on the third floor of SAC Gallery from 18 June until 13 August 2022. The official opening ceremony will be held on 18 June 2022, 6.00PM onwards.

 

Hashtag: #SACNaraphat

 


 

ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ว่าด้วย ธรรมชาติและการเลี้ยงดู เป็นที่นำมาถกเถียงกันอย่างกว้างขว้างว่า อะไรที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเรามากกว่ากัน ระหว่างการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ วิธีการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม แรงขับเคลื่อนทั้งสองประการได้สร้างปฏิสัมพันธ์และความสมดุลต่อระบบชีวภาพของร่างกายมนุษย์ในระยะยาว กลายเป็นข้อบ่งชี้ที่ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมถึงตัวเราล้วนเป็นผลผลิตจากทั้งธรรมชาติและการเลี้ยงดู

 

ในนิทรรศการเดี่ยว “Nature versus Nurture” โดย นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ แสดงภาพการเจริญเติบโตตลอดช่วงชีวิตของดอกไม้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา สะท้อนล้อกันไปกับอดีตของศิลปินซึ่งต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ถูกจ้องจำอิสรภาพ และถูกแย่งชิงตัวตนไปโดยสังคม กลายเป็นกระจกสะท้อนหน้าตาของยุคสมัย ที่ซึ่งผู้คนเกิดมาพร้อมกับความไม่เท่าเทียมและมีชีวิตอย่างไร้เสรีภาพ

 

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมอาจไม่ใช่ประเด็นใหม่ในสังคม แม้จะผ่านมาเป็นเวลากว่าร้อยปี ผู้คนในประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ ก็ยังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับตนเอง ในตลอดระยะเวลากว่าหลายปีนี้ กลายเป็นช่วงเวลาที่ตัวตนในสังคมของผู้คนเหล่านั้นได้ถูกทำลายลง ด้วยการกำกับและจำกัดตัวตนภายใต้กรอบทางสังคมที่กีดกันและแบ่งแยกชนชั้นระหว่างคนเอาไว้ กลายเป็นความรู้สึกที่ขัดแย้งภายในตัวตนของแต่ละบุคคล

 

ศิลปินได้นำเอาเรื่องราวของดอกไม้ที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมในสถานการณ์ต่างๆ นำมาอธิบายการสร้างตัวตนผ่านกระบวนการทางศิลปะ โดยแบ่งผลงานออกเป็น 3 ชุด แต่ละชุดเป็นการย้อนกลับไปยังแก่นสาระของการผลิตดอกไม้เพื่อการขาย ชวนให้เราเดินทางไปพร้อมกับดอกไม้และตั้งคำถามผ่านแต่ละกระบวนการ ซึ่งสะท้อนช่วงชีวิตที่ถูกควบคุมและจัดการ เช่นเดียวกันกับตัวตนและเพศสภาพภายใต้สังคมที่จำกัดเสรีภาพของเราทุกคนไว้ ทำให้เราต้องพยายามซ่อนหรือเปลี่ยนตัวตนให้เป็นที่ยอมรับ  

 

ผลงานชุด “Cut Chrysanthemum Production” กับเรื่องราวผ่านดอกเบญจมาศที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรม และได้รับการเลี้ยงดูในฟาร์มเพาะจนกลายเป็นเพียงผลิตผลที่สวยงาม ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดอกเบญจมาศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนมนุษย์ทำการปรับแต่งพันธุกรรม และส่งออกไปขายยังที่ต่างๆ ทั่วโลก ดอกเบญจมาศส่วนใหญ่จึงถูกปรับแต่งให้สามารถมีอายุยืดยาวขึ้นกว่าอายุขัยเดิมตามธรรมชาติ คงทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน และอยู่ในแจกันได้ยาวนานยิ่งขึ้น การแทรกแซงโดยน้ำมือของมนุษย์ด้วยการปรับแต่งพันธุกรรมดอกเบญจมาศจนสามารถบานนอกฤดูกาลและนำมาขาย ได้เปลี่ยนหน้าตาของดอกเบญจมาศจนมีรูปลักษณ์ที่พวกเราต่างคุ้นตากันในปัจจุบัน จนไม่สามารถสืบย้อนกลับไปยังร่องรอยของต้นสายพันธุ์ได้ 

 

ต่อจากขั้นตอนการปรับแต่งพันธุกรรม ในผลงานชุดที่สอง “Flower Refrigerator” นำเสนอภาพแทนของผลิตผลเทียมในอุดมคติ ด้วยภาพลักษณ์ของดอกไม้ที่สมบูรณ์สวยงาม ซึ่งถูกนำมาจัดวางอย่างสวยงามภายในร้านค้า ทันทีที่ดอกไม้เหล่านี้ถูกคัดสรรและเดินทางจากฟาร์ม พวกมันได้กลายเป็นเพียงสินค้าที่ถูกกักขังภายในตู้แช่ ให้ยังคงความสดใหม่สวยงามโดยปฏิเสธตำหนิหรือร่องรอยใดใด ในแง่หนึ่งไม่ว่าดอกไม้เหล่านี้จะเป็นดอกไม้ที่ยังคงสดใหม่หรือจะเป็นดอกไม้แห้ง พวกมันก็ได้กลายเป็นเพียงภาพแทนของผลิตผลเทียมในอุดมคติของสังคม

 

ดอกไม้ในร้านค้าเหล่านี้ บางสายพันธุ์ถูกตัดออกเพื่อนำมาขายก่อนจะมีโอกาสได้เบ่งบาน พวกมันไม่มีโอกาสแม้แต่จะได้เติบโตหรือแม้กระทั่งขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ มนุษย์ได้พรากอิสรภาพของพวกมันไปด้วยการเลี้ยงดูให้กลายเป็นผลิตผลที่มีรูปลักษณ์เหมือนๆ กันในปริมาณมาก แช่แข็งและจองจำเอาไว้ภายใต้ความสดสวย เพื่อตอบความต้องการของตลาดดอกไม้ในแต่ละวัน

 

หรือที่จริงแล้วตัวเราอาจจะเป็นเพียงดอกไม้ที่ถูกแช่แข็งไว้ จองจำให้กลายเป็นผลิตผลทางสังคม ที่ได้รับการอนุญาตให้สวยงามและสมบูรณ์ด้วยการนิยามคุณค่าของตัวเราโดยสังคม รอวันที่จะแห้งเหี่ยวโดยไร้อำนาจและสุ่มเสียงใด ก่อนจะถูกทิ้งขว้างให้กลายเป็นเพียงวัตถุที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ  

มาถึงระยะที่ 3 เมื่อดอกไม้เป็นตัวแทนถึงการยึดตัวเองเป็นที่ตั้งของมนุษย์ โดยสร้างเงื่อนไขให้กับความแตกต่างและแบ่งแยกผู้คนออกจากโลกของกันและกัน มนุษย์กลายเป็นผู้นิยามคุณค่าสิ่งต่างๆ หรือลดทอนคุณค่าเหล่านั้นลง โดยสงวนไว้ซึ่งบางสิ่งบางอย่างเอาไว้เพื่อคนบางกลุ่ม

 

ในผลงานชุดนี้เป็นการนำเสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งผ่านสายตาของคนชนชั้นกลางด้วยภาพถ่ายดอกไม้ที่ถูกจัดวาง โดยลดทอนสำนึกของชนชั้นสูงที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรมการจัดดอกไม้ในอดีต ศิลปินซึ่งเติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางได้ศึกษาและเรียนรู้วิธีการจัดดอกไม้ด้วยตนเอง โดยเลือกเฉพาะดอกไม้ตามฤดูกาลเท่านั้น หรือดอกไม้ลดราคาที่เขาพบจากตลาดดอกไม้ในช่วงเวลานั้นๆ นำมาจัดวางลงบนภาชนะทั่วไปในบ้านของเขา อาทิ ขันน้ำ ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใช้แล้ว หรือชามอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อตั้งคำถามกลับไปว่าวัฒนธรรมการจัดดอกไม้เองเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งชนชั้นทางสังคมหรือไม่ หรือเป็นมนุษย์เสียเองที่สร้างการกีดกันและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

 

ในขณะที่ศิลปินกำลังค้นหาความหมายของความเป็นมนุษย์ ศิลปินก็ได้มีโอกาสย้อนกลับไปควานหาตัวตนของตนเองอีกครั้งในระหว่างกระบวนการทำงานในครั้งนี้ ด้วยการทำความเข้าใจผ่านนัยยะที่ปรากฏในภาพเขียนถึงการจัดดอกไม้ในประวัติศาสตร์ศิลปะ เริ่มต้นจากผลงานในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดย Ambrosius Bosschaert ศิลปินชาวดัตช์ กับภาพวาดของดอกไม้ที่ถูกจัดวางอย่างงดงาม ซึ่งรวมเอาความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จัดวางแนวความคิดเรื่องความสวยงาม รวมเข้ากับการทำลายล้างและการสะสม จนชวนให้คิดไปได้ว่าอาจไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ครั้งหนึ่งจักรวรรดิดัตช์เคยรุ่งเรืองและล่มสลายลง อันมีที่มาจากการเสพติดความสวยงามของทุ่งดอกทิวลิป ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เริ่มปรากฏภาพวาดจำนวนมากของดอกไม้ที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความหมายที่อยู่ภายใต้ความวิจิตรบรรจงของศิลปะในยุโรป ความหลงใหลที่มีต่อสิ่งที่ไม่เคยพบเห็นจากต่างแดนกลายเป็นสารัตถะของผู้คนในยุคสมัยใหม่ และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 Georgis O’Keefe ศิลปินอเมริกัน กับอารมณ์อันลึกลับจับต้องไม่ได้ผ่านภาพของดอกไม้ที่ถูกขยายเข้าไปจนเห็นรายละเอียดที่สะท้อนตัวตนของดอกไม้เหล่านั้น และในผลงานของนรภัทรที่ภาพถ่ายของเขาได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านดอกไม้ที่ถูกจัดวางเข้ากับเรื่องราวทางสังคม

 

ภายใต้ความเชื่อที่ว่าพวกเราล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่สวยงาม ทำให้ตกอยู่ภายใต้ภาพลวงตาที่ว่าเราต่างมีอิสรภาพในการที่จะเติบโต ผลงานของนรภัทรกลับชี้ให้เห็นถึงตำหนิบนภาพลักษณ์ของมนุษย์ และเรียนรู้ไปพร้อมกันว่าความเป็นมนุษย์นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตภายใต้กรอบทางสังคมมากเสียยิ่งกว่ากรรมพันธุ์ที่ส่งต่อระหว่างกัน พวกเราส่วนใหญ่ยังคงติดกับและถูกทำให้สบายใจด้วยคำปลอบโยน ที่ทำให้เราหลงเชื่อไปว่าเราสามารถเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานเต็มที่ได้ในแบบของเราเอง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม จนพวกเราต่างเพิกเฉยต่อความจริงที่ว่าพวกเราต่างใช้ชีวิตในพื้นที่ที่เราไม่ได้รู้สึกถึงตัวตนของตนเอง และเอาตัวรอดด้วยการตัดแต่งและแยกตัวตนของเราออกจากพื้นที่ที่เราสามารถเป็นตัวเองได้ พวกเราส่วนใหญ่ยังคงติดกับและถูกทำให้สบายใจด้วยคำปลอบโยน ที่ทำให้เราหลงเชื่อไปว่าเราสามารถเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานเต็มที่ได้ในแบบของเราเอง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมเราต่างเชื่อว่าเราคือตัวแทนของสิ่งที่มนุษย์จะกลายเป็น จนสูญเสียจิตวิญญาณของตนเองไป กลายเป็นสิ่งที่สามารถถูกแทนที่ได้ และไร้ซึ่งสุ่มเสียง 

 

แรงดึงดูดที่มนุษย์มีต่อดอกไม้ ภาพสะท้อนความครอบงำทางทั้งสังคมที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต จนบางทีมนุษย์อาจรู้สึกสบายใจขึ้นเพียงได้เฝ้ามองดอกไม้สิ่งมีชีวิตที่สวยงามและคงอยู่ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เติบโตและเบ่งบานซ้ำๆ เป็นสัญลักษณ์ถึงการดำรงเพียงชั่วคราวของมนุษย์

 

นิทรรศการ “Nature versus Nurture” มีกำหนดจัดแสดงระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหอศิลป์ ชั้น 3 เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไป