Distance and Existence

23 July - 1 October 2022

A group exhibition by Kade JavanalikhikaraAmornthep Mahamart, Jiratchaya Pripwai, Aor Sutthiprapha and Kitikong Tilokwattanotai


“Beautiful things don’t ask for attention”, says a line from the film “The Secret Life of Walter Mitty” by character Sean O’Connell, a documentary photographer, as he gazes at a passing snow leopard through the lens of his camera while ignoring the shutter entirely. The scene invites the audience to ponder on our reactions in the face of unexpected, unfettered beauty. But that gap in between also makes us wonder about the role of the beholder in the existence of beauty.

 

Many people often question the meanings behind abstract art, or the artists’ intentions. While abstract artists have carved out their own slice of history, giving birth to many artistic theories meant to illustrate the quality and aesthetics of these works. The practice itself has also developed and branched off into numerous concepts and techniques. Nevertheless, the aforementioned idea of beauty that does not require definition or attention gives rise to questions regarding the existence of abstract art within the modern contemporary art movement, where the means of communication with the audience have changed.

 

The existence of abstract art, combined with the practices of the artist, could be thought of as a phenomenon that occurs from the influences of a variety of concepts. Abstract art is intimately intertwined with the theories with regards to perception; from the expressions conveyed by the marks, shapes, or colors that appear upon abstract works, all of these elements are created based on the careful thought and planning of the artist, to manifest beauty from emptiness. In an actual confrontation, whether it be from the position of the audience or the artist, theories may not necessarily take precedence over the experiences or sensations felt by the viewer or creator, particularly the development of abstract artists who have weathered the times to exist in today’s contemporary art scene. New schools of thought are continuously added to the existing collective language of abstract art.  

 

The Distance and Existence exhibition aims to present a conversation between the audience and the abstract works of 5 artists, pieces of abstract art that reflect the personalities and thoughts through differing perspectives based on age, outlook, and experience. Abstract art allows us to witness a paradigm shift from the accumulation of differing ways of thinking, memories, careful evaluation of experiences, or even spontaneous reactions. The works of artists in creating abstract art is akin to planning out states that deliberately respond to the senses to achieve a goal. While sometimes possibilities and coincidences are barely distinguishable from one another. But in the era of contemporary art, works of abstract art have arrived at a place where they are no longer mere visual expressions, becoming alchemical creations that do not adhere to technique, procedure, or material any longer.  

 

We’ve long been through times when the purity of pure abstract art has been hotly discussed. In the time of contemporary art, abstract works must collaborate with numerous methods of presentation, integrating new practices into the work as well, in particular the establishment of new structures of thinking that are borrowed from the principles of other types of works to express the differing “intentions” of the abstract work. Like the abstract pieces from the post-World War era used to symbolize freedom, or the development of abstract art spurred by the changing technologies of the times. Like Hans Hofmann (1880-1966), the artist that once opened his own art academies in Germany and America who pushed his students to research new methods in creating abstract art. Hofmann would advocate for the context, time, and situations to be key variables crucial to the expression of the artist’s ideas for the sake of progress. As such, abstract art has continuously evolved throughout history; not only an amalgamation of brushstrokes and colors, but also creating important questions regarding the management of emptiness, all the way to the creation of objects, leading to the practice of three-dimensional art.

 

Whether it be the thought process, the evaluation stage, to allow visual  experiences to work in tandem with the work’s physical condition is an important process. Sean O’Connell’s aforementioned refusal to engage his shutter could have occurred as a reaction to an idea, or perhaps in reality, only an instinctive impulse. The same can be said of us who choose to experience abstract art, or the abstract within art. The Distance and Existence exhibition aims to present the works of all five esteemed artists, to let audiences observe and ponder on the indecipherable language of abstract art. This aesthetic communicates with the audiences mainly through the empty spaces in the middle; like a conversation under the silence, where both audience and artwork are respectfully communicating with each other. 

 

The exhibition “Distance and Existence” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 23 July until 10 October 2022. The official opening ceremony will be held on 23 July 2022, 5:00PM onwards.

 

Hashtag: #SACAbstract

 


 

นิทรรศการกลุ่ม โดย เกศ ชวนะลิขิกร, กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย, จิรัชยา พริบไหว, อ้อ สุทธิประภา และอมรเทพ มหามาตร 

 

“Beautiful things dont ask for attention” วลีหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่อง The Secret Life of Walter Mitty ที่กล่าวโดย Sean O’Connell ตัวละครช่างภาพสารคดีขณะกำลังจับจ้องมองเสือดาวหิมะผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพจนกระทั่งละเลยการกดชัตเตอร์ ฉากนี้ชวนให้ขบคิดถึงการตอบสนองต่อการเผชิญหน้ากับความงามที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากความคาดหวัง หรือกำหนดกฏเกณฑ์ แต่ช่องว่างตรงกลางนี้ ยิ่งชวนให้ตั้งคำถามต่อบทบาทของผู้มองปรากฏการณ์ที่กำลังประสบ และการมีตัวตนอยู่ของความงาม 

 

หลายต่อหลายครั้งที่ศิลปะนามธรรมได้ถูกตั้งคำถามถึงความหมาย หรือจุดประสงค์ของศิลปิน แม้ศิลปะนามธรรมจะปักหมุดหมายบนเส้นทางประวัติศาสตร์มายาวนาน ให้กำเนิดเป็นทฤษฎีต่างๆ มาอธิบายถึงคุณภาพและสุนทรียภาพ พร้อมพัฒนาการที่แตกแขนงเป็นหลายแนวคิด แนวปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ดีคำกล่าวถึงความงามที่ไม่เรียกร้องความหมาย หรือไม่เรียกร้องความสนใจในข้างต้น ก็ทำให้เกิดคำถามต่อการมีอยู่ของศิลปะนามธรรมที่โลดแล่นอยู่ในกระแสศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันที่มีกลวิธีสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

 

การมีอยู่ของศิลปะนามธรรมประกอบกับปฏิบัติการของศิลปิน อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการชักนำจากหลายแนวความคิด ศิลปะนามธรรมเกาะเกี่ยวอยู่กับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ (perception) ตั้งแต่ท่าทีของร่องรอย รูปทรง หรือสีสันที่เกิดขึ้นในผลงานนามธรรม สิ่งเหล่านี้เกิดจากการสร้างสรรค์ผ่านการคิดและวางแผนโดยศิลปิน ให้ความงามผุดเกิดจากความว่างเปล่า ในสถานการณ์ความเป็นจริงของการเผชิญหน้า ไม่ว่าจะในฐานะนักสร้างสรรค์หรือผู้ชม ทฤษฎีก็อาจจะไม่ได้อยู่เหนือไปกว่าประสบการณ์หรือการสัมผัสรับรู้ของผู้ชมหรือผู้สร้าง โดยเฉพาะพัฒนาการของศิลปะนามธรรมที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสู่ยุคของศิลปะร่วมสมัย วิธีคิดใหม่ๆ ได้ถูกเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อต่อเติมภาษาของนามธรรมที่เคยมีอยู่แต่เดิม

 

นิทรรศการ Distance and Existence ครั้งนี้ต้องการนำเสนอบทสนทนาที่คั่นกลางระหว่างผู้ชมและผลงานนามธรรมของศิลปินทั้งห้าท่าน ศิลปะนามธรรมที่เป็นดั่งภาพสะท้อนบุคลิกภาพและความคิดผ่านมุมมองที่แตกต่างกันด้วยวัย ทัศนคติ และประสบการณ์ ศิลปะนามธรรมทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ (paradigm shift) จากการสั่งสมของวิธีคิด ความทรงจำ การทบทวนอย่างรอบคอบหรือแม้กระทั่งการตอบโต้อย่างฉับพลัน การทำงานของศิลปินกับการสร้างสรรค์ศิลปะนามธรรม อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อให้สภาวะที่ตอบสนองต่อการรับรู้เกิดขึ้นอย่างมีเป้าหมาย แม้บางครั้งความบังเอิญกับความเป็นไปได้นั้น เป็นสิ่งที่แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ แต่ในช่วงเวลาของศิลปะร่วมสมัย งานศิลปะนามธรรมได้เดินทางมาถึงจุดที่ไม่ใช่เพียงการแสดงออกของทัศนธาตุ แต่ได้กลายเป็นการเล่นแร่แปรธาตุที่ไม่ขึ้นกับเทคนิค กระบวนการ หรือวัสดุอีกต่อไป


เราผ่านช่วงเวลาที่ถกเถียงถึงความบริสุทธิ์ของศิลปะนามธรรม (pure abstract) มานานแล้ว ศิลปะนามธรรมในยุคร่วมสมัยอาจจะต้องการการร่วมมือกับการแสดงออกที่หลากหลายและผสมรวมวิธีใหม่ๆ เข้ามาใช้ โดยเฉพาะการสร้างแบบแผนทางความคิดใหม่ๆ ที่หยิบยืมมากจากหลักการของศิลปะหลายแขนงเพื่อแสดง “ท่าที” ของงานนามธรรมที่ต่างออกไป เฉกเช่นงานนามธรรมหลังจากผ่านช่วงเวลาของสงครามโลกที่ถูกใช้เพื่อเป็นสัญญะของเสรีภาพ หรือพัฒนาการทางศิลปะนามธรรมที่ถูกกระตุ้นโดยการเข้ามาของเทคโนโลยีตามยุคสมัย ดังเช่นที่ Hans Hofmann (1880–1966) ศิลปินที่เคยเปิดโรงเรียนศิลปะของตัวเองทั้งในประเทศเยอรมัน และอเมริกา ผู้ผลักดันให้นักเรียนของเขาค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานศิลปะนามธรรม ซึ่งเขาได้สนับสนุนให้บริบท เวลา และสถานการณ์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ศิลปินได้นำเสนอความคิดของตนเองเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า ศิลปะนามธรรมจึงมีการวิวัฒน์มาตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เพียงการสำแดงฝีแปรงหรือสีสัน แต่ยังสร้างคำถามสำคัญถึงวิธีหรือกระบวนการจัดการกับความว่าง ไปจนถึงการสร้างสรรค์วัสดุจนกลายเป็นศิลปะสามมิติ 

 

ทั้งกระบวนการคิด หยุดมอง และปลดปล่อยให้ประสบการณ์ทางการเห็นได้ทำงานกับกายภาพของผลงานนามธรรมกลายเป็นกระบวนการสำคัญ เพราะดังที่เกริ่นถึงฉากของการจ้องมองของช่างภาพในตอนต้น การไม่กดชัตเตอร์ของ Sean O’Connell นั้นอาจเกิดขึ้นจากการตอบสนองทางความคิด หรือแท้จริงเป็นเพียงการตอบสนองทางสัญชาติญาณ เฉกเช่นเราในฐานะผู้ชมที่จะเลือกสัมผัสกับศิลปะนามธรรม หรือเลือกที่จะสัมผัสกับความเป็นนามธรรมในศิลปะ นิทรรศการ Distance and Existence จึงมีจุดประสงค์ที่ต้องการนำเสนอผลงานของศิลปินแนวหน้าทั้งห้าท่านให้กับผู้ชมได้มองและพิจารณาถึงภาษาที่แม้ไม่อาจแปลความได้ แต่สุนทรียภาพนี้จะสื่อสารกับผู้ชมอย่างมีนัยยะสำคัญผ่านช่องว่างตรงกลาง เสมือนบทสนทนาภายใต้ความเงียบงันที่ทั้งผู้ชมและงานศิลปะกำลังสื่อสารกันอย่างเคารพในตัวตนซึ่งกันและกัน

 

นิทรรศการ “Distance and Existence” จัดแสดงระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ณ ชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 17:00 น. เป็นต้นไป