นิ/ราษฎร์: The L/Royal Monument: by Wittawat Tongkeaw

22 June - 31 October 2021

…The memories related to 24th June 1932, an important date for the people, have been minimised and buried on a continuous basis. The loss of these memories’ physical components—names, plaques, monuments and even lives—coincides with a weakening of the democratic system, at a time when the people, as well as memories, are silenced or forced to disappear. Making plain what is too obviously displayed and uncovering what has been rendered invisible is an important act to preserve today’s spirit… Wittawat Tongkeaw, 2020

 

Wittawat Tongkeaw is among the artists who have steadfastly stood for democracy. Through his practice, he is a story-teller chronicling social changes and crises befalling democracy today. Uncomfortable—at times frustrating—events are submerged in layers of paint that serve to conceal and reveal. Wittawat’s narrative style is an assemblage of elements in the form of metaphors and, although the intricacy he previously exhibited is downplayed, the traditional language of realistic painting continues to serve as a conduit for the critical messages inhabiting this body of works.

 

Through his use of realistic painting in this exhibition, Wittawat demonstrates the simplicity of this technique, employed to communicate both directly and indirectly. “The L/Royal monument“ conveys the artists’ outlook towards the evolving socio-political landscape in Thailand. Through his personal involvement in political activities, Wittawat observed a growing sentiment of frustration directed at the worldviews of a mainstream and authoritarian faction, the violence exercised on the people by a power both visible and which we have been coerced into regarding as invisible, restrictions imposed on freedoms of thought and expression, all the way to a paralysis where our perception and discernment are concerned. In truth, art cannot escape its ties to ideologies. However, this exhibition is made distinctive by the association of landscape and realistic painting, as well as photography, with socio-political themes–thus achieving a sublimation of meaning and bringing about a contemporary visual vocabulary.

 

These are artworks that function with our senses, sometimes violently. At times, their meaning is split apart and connects with viewers’ individual experiences. Their piecing together allows us to view a picture of today’s reality, wherein violence is covered by a veil of normality. Importantly, these fragments have already been implanted deep in our memories. While artworks that touch upon socio-political themes may not be able on their own to elucidate the entirety of a situation, Wittawat–through his examination of art carrying implicit political messages–draws from his personal journey and his encounters with political activities. With the passage of time, these relations settle and become manifest in his works.

 

The artist’s body is one medium which can act as a catalyst, activating the meaning of the image. Drawing any image is in itself an act of interpretation. Places and people featured in this exhibition, appearing both in the photographs and artworks, are located in ways that invite viewers to reminisce about the current political climate, as well as the social order it is tied to. Images depict roads, sites, people, constructions, all of which contain political history. They are places where certain events have occured; even if these took place not so long ago, the very existence of memories related to such events is history in the making.

 

If the body of the artist can explain certain situations and ideologies, then drawings and paintings may be depictions, or they may communicate meaning, criticise and act as political vehicles. Furthermore, Wittawat’s works are able to examine the contribution of art in the political discourse, reflecting the fact that one attribute of art is to be part of the contemporary and of history. The exhibition “The L/Royal monument“ is not merely a space in which political facts are hidden in drawings and paintings. This series of works is a recording that allows us to convey political implications; the latter occurs through the crafting of a surface coat of meaning which stands atop layers of paint. If metaphors are a substitution of meaning, they point to the existence of an authority which can conceal forthright messages. Wittawat Tongkeaw’s works, as realistic paintings and critical images, communicate parallel worldviews and a life which progress alongside politics and aesthetics; they form a site through which the encounter between traditional techniques and current events form a new facet of history.

 

The exhibition “The L/Royal monument” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 22 June until 31 October 2021. The official opening ceremony will be held on 24 June 2021, 1:00-6:00PM.

 

Hashtag: SACWittawat

 


 

...ความทรงจำเกี่ยวกับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในฐานะวันสำคัญของประชาชนถูกลดทอนและลบลืมหายอย่างต่อเนื่อง การสูญหายของกายภาพแห่งความทรงจำ ชื่อ หมุด อนุสาวรีย์ สถานที่ รวมถึงชีวิตคน ดำเนินไปพร้อมกับความอ่อนแอของประชาธิปไตยในระบบ ในช่วงเวลาแห่งการบังคับให้ผู้คนและความทรงจำลบหายและเงียบงัน การตีแผ่สิ่งที่ถูกทำให้เห็นชัดเกินไป และเปิดเผยสิ่งที่ถูกทำให้มองไม่เห็น เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของวันนี้ให้ยังคงอยู่... — วิทวัส ทองเขียว, 2563

 

วิทวัส ทองเขียว คือหนึ่งในศิลปินที่ยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาธิปไตย เป็นผู้บอกเล่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิกฤตการณ์ของประชาธิปไตยในปัจจุบันด้วยงานจิตรกรรมของเขา เหตุการณ์ที่น่าอึดอัดคับข้องทับถมกันผ่านชั้นสีเพื่อปกปิดและเปิดเผยไปพร้อมๆ กัน วิธีการเล่าเรื่องของวิทวัสคือการจัดวางให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในรูปแบบของการอุปลักษณ์ (Metaphor) ลดทอนความซับซ้อนในแบบที่เขาเคยใช้ ในขณะที่ภาษาอันดั้งเดิมของภาพวาดนั้นก็ยังทำงานได้โดยมีนัยยะของการวิจารณ์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของจิตรกรรม

 

การนำภาษาพื้นฐานของศิลปะภาพเหมือนมาใช้ในนิทรรศการครั้งนี้ วิทวัสได้เผยให้เห็นความเรียบง่ายของภาพวาดที่สื่อสารได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม นิทรรศการ “นิ/ราษฎร์: The L/Royal monument“ คือการนำเสนอมุมมองของศิลปินที่มีต่อสภาวะเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย จากการที่ศิลปินได้เข้าไปใกล้ชิด ร่วมกิจกรรมทางการเมือง และสังเกตการณ์ วิทวัสพบกับความอึดอัดคับข้องต่อโลกทัศน์และแนวคิดกระแสหลักของฝ่ายอำนาจนิยม ความรุนแรงที่กระทำต่อประชาชนโดยอำนาจที่ทั้งมองเห็นและถูกบังคับให้มองไม่เห็น การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิด ไปจนถึงสภาวะอัมพาตทางการรับรู้ ความจริงหนึ่งคือ ศิลปะไม่อาจเลี่ยงความเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ได้ และนิทรรศการนี้สิ่งที่น่าสังเกตคือการยึดโยงภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และภาพถ่ายเข้ากับประเด็นทางสังคม เพื่อแสดงภาวะของการระเหิด (Sublime) ของความหมายให้กลายเป็นภาษาสื่อสารทางศิลปะร่วมสมัย

 

จิตรกรรมสามารถทำงานกับผัสสะของเราได้อย่างรุนแรง จนบางครั้งสามารถทำให้ความหมายเกิดการแตกตัวออกและไปเชื่อมต่อกับประสบการณ์ทางการเมืองที่เราเคยได้รับรู้มา ปะติดปะต่อกันเพื่อให้เห็นภาพภูมิทัศน์ปัจจุบันที่ที่ความรุนแรงถูกซ้อนทับไว้ด้วยความปกติของสภาพแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญคือสิ่งเหล่านี้ได้ฝังอยู่ในความทรงจำของเราไปเสียแล้ว แม้ศิลปะที่พูดเรื่องประเด็นการเมือง โดยตัวมันเองนั้นอาจอธิบายสถานการณ์ได้ไม่ครบถ้วน แต่สิ่งที่วิทวัสทำกำลังตั้งคำถามถึงศิลปะที่มีนัยยะทางการเมืองเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ที่เขาได้พานพบจากการเดินทาง และร่วมกิจกรรมทางการเมืองในปัจจุบันหลายๆ ครั้ง เมื่อเวลาผ่านไปความสัมพันธ์นี้ได้ตกตะกอนและปรากฏชัดด้วยวิธีสื่อสารในงานศิลปะของเขา

 

ร่างกายของศิลปินเป็นสื่อหนึ่งที่เร่งปฏิกิริยาทางความหมายของภาพ การวาดภาพในรูปแบบใดก็ตามก็คือการตีความชนิดหนึ่ง สถานที่และผู้คนในนิทรรศการนี้ทั้งในภาพถ่ายและจิตรกรรม ได้อยู่ในตำแหน่งแห่งหนที่ชวนให้เรานึกถึงบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบันที่เชื่อมโยงไปกับโครงสร้างทางสังคม ภาพถนนหนทางต่างๆ สถานที่ ผู้คน สิ่งก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้มีความทรงจำและประวัติศาสตร์ทางการเมือง เคยเป็นสถานที่เกิดเหตุ แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ผ่านไปไม่นานแต่การมีอยู่ของความทรงจำเหล่านี้ก็คือประวัติศาสตร์ที่พึ่งเริ่มต้นขึ้นเช่นกัน

 

หากร่างกายศิลปินสามารถอธิบายอุดมการณ์และสถานการณ์ ภาพวาดเหล่านี้คงเป็นทั้งการประมาณเชิงพรรณนา สื่อความหมาย วิพากษ์ หรือเป็นพาหนะในทางการเมือง นอกจากนี้ผลงานของวิทวัสยังสามารถวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของศิลปะต่อวาทกรรมทางการเมือง สะท้อนให้เห็นว่าส่วนหนึ่งของศิลปะคือความเป็นปัจจุบันของยุคสมัยและประวัติศาสตร์ นิทรรศการ “นิ/ราษฎร์: The L/Royal monument“ จึงไม่ใช่พื้นที่ให้ความจริงทางการเมืองหลบซ่อนไว้ในภาพวาด ทว่าผลงานเหล่านี้คือการจารึกให้เราสามารถนำเสนอนัยยะทางการเมืองได้ด้วยการสร้างพื้นผิวทางความหมายไว้บนชั้นสี หากการอุปลักษณ์คือการแทนความหมาย นั่นหมายถึงการมีบางสิ่งที่สามารถใช้อำนาจในการปิดกั้นความหมายอันตรงไปตรงมาได้ ผลงานของวิทวัส ทองเขียว จึงเป็นการสื่อสารในฐานะภาพเหมือนเชิงวิพากษ์ และความคิดคู่ขนานในชีวิตที่เดินไปพร้อมๆ กันกับการเมืองและสุนทรียภาพ ที่ที่การผสมผสานกันระหว่างสื่อเก่าอย่างภาพวาด กับเหตุการณ์ปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่นั่นเอง 

 

นิทรรศการ นิ/ราษฎร์: The L/Royal monument“ จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน - 31 ตุลาคม .. 2564 ณ ชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 24 มิถุนายน .. 2564 ตั้งแต่เวลา 13:00-18:00 .