Elevated Marblesque: by Akira Ishiguro

20 May - 19 August 2023

Landscape paintings have always been an important part to the history of art and a reflection of time, both in terms of techniques but also in terms of values placed inside the landscape view. Unlike Western art from the same period, Japanese artists in the Edo period (1603-1868) did not adopt vanishing point technique to create perspectives, but rather presented the works in comparatively flat ways as found in Ukiyo-e, for example. It wasn’t until the Meiji period (1868 - 1912) that a mixture of Western influence began to emerge among Japanese artists. Today, many artists continue to explore this genre of art, and redefine ways we can engage with landscape paintings. 


Inspired by The Planet in a pebble (2010) by geologist Jan Zalasiewicz, among many books, Akira Ishiguro considers his works to fall within the genre of landscape. However, instead of capturing the vastness of nature or portraying sceneries of a particular location, Ishiguro seeks to depict his sceneries without vanishing point, and without perception of depth. In his Gravitational Field series (2011 - present), what seems to be hyper-realistic paintings of marble slabs are, to the artist, a depiction of the geological epoch known as Holocene (and the eras before), as he follows the formation of mineral streams and patterns of each block of marble over million of years. This microscopic view tells us about the humidity, the minerals, the composition of gas in the air, as well as the lives surrounding the locale where the stones are formed. In the Marblesque series (2015 - present), although seemingly abstract at first glance, Ishiguro looks at the present, and to the future, by portraying microscopic vision of what rocks in the Anthropocene* age would look like. 


In this exhibition, Elevated Marblesque, Ishiguro provides further development to his ongoing series by literally elevating the painting into two levels, stretching a sense of transformation and building of rock layers towards the audience. The surface, reaching outwards towards viewers, gives the density and materiality that Ishiguro seeks to capture, suggesting a sense of topography, contour, elevation and height of the earth: an overview of our physical, chemical and biological atmosphere and surroundings. 


Ishiguro proposes that, unlike pre-Anthropocene rocks, the earth of our future would look very different to what they are now, because of the influences by humans especially since “the great acceleration”**, and mineral veins in future marbles would look very different to what we are used to today. The artist questions how the air and water quality today would shape the way nature would form in the future; and what people of that time can imagine the landscape of today through looking at components captured inside layers of rocks. 


Elevated Marblesque further establishes Ishiguro as a master in depicting materiality, depth and weight; and through this microscopic view of landscape, the audience may imagine new ways to view the world. 

 

*It is worth noting that Anthropocene is a proposed name of a geological epoch, which is not yet unanimously defined. Common understanding is that the period began during the industrial revolution in the 1800s.

**According to www.anthropocene.info ,the great acceleration refers to the period from the 1950s when human activities such as the economic system drives the earth’s system and functioning.

 

การวาดภาพภูมิทัศน์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ศิลป์มาช้านาน โดยนอกจากจะเป็นการสะท้อนถึงช่วงเวลาหนึ่งทั้งในแง่ของเทคนิคแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองหรือค่านิยมของผู้คนในยุคนั้นๆอีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่นช่วงยุคสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) ศิลปินมักสร้างสรรค์ผลงานที่แลดูค่อนข้างแบนราบเมื่อเทียบกับศิลปินในยุคเดียวกันในฝั่งตะวันตก พวกเขาไม่ได้ใช้จุดรวมสายตา (Vanishing Point) เพื่อสร้างความลึกตื้นของงานศิลปะ ดังจะเห็นได้จากกลุ่มงานภาพอูกิโยะ (Ukiyo-e) จนกระทั่งในช่วงสมัยเมจิ (ค.ศ. 1968 - 1912) เป็นต้นมา เราจึงได้เห็นอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกหลอมรวมกับศิลปะในญี่ปุ่น และในปัจจุบันศิลปินร่วมสมัยใหม่ๆยังคงค้นคว้าหาวิธีนำเสนอผลงานศิลปะในกลุ่มภูมิทัศน์ และวิธีการดึงผู้ชมให้มีความรู้สึกร่วมกับงานอยู่เสมอ

 

ศิลปิน อากิระ อิชิกูโระ พิเคราะห์ผลงานของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มภูมิทัศน์ เมื่ออ้างอิงถึงหนังสือเช่น The Planet in a pebble (ค.ศ. 2010) โดยนักธรณีวิทยา แยน ซาลาซีวิช (Jan Zalasiewicz) เราอาจบอกได้ว่า อิชิกูโระไม่ได้พยายามจะนำเสนอภูมิทัศน์เพื่อสื่อถึงความกว้างขวาง หรือระลึกถึงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นการนำเสนอภูมิทัศน์โดยตัดจุดรวมสายตาหรือมิติตื้นลึกออกไปอย่างสิ้นเชิง ในผลงานชุด Gravitational Field (ค.ศ. 2011 - ปัจจุบัน) ศิลปินนำเสนอช่วงเวลาของ Holocene (ชื่อเรียกยุคสมัยทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน ประมาณหนึ่งหมื่นกว่าปีเป็นต้นมา) ผ่านพื้นผิวของหินอ่อน โดยการเพ่งพินิจถึงเส้นสายของแร่ธาตุที่อยู่ในลวดลายหินอ่อนว่าเป็นการก้าวผ่านวันเวลานับล้านปี การมองในระดับจุลทัศน์อาจบอกเราได้ว่าบรรยากาศโดยรอบของหินชิ้นนั้นมีที่มาอย่างไร ผ่านความชื้น แร่ธาตุ อากาศธาตุ และสภาพแวดล้อม ทำให้เราจินตนาการถึงพื้นที่และสิ่งมีชีวิตรอบๆ พื้นที่เหล่านั้น ในขณะที่ผลงานชุด Marblesque (ค.ศ. 2015 - ปัจจุบัน) เป็นการนำเสนอภูมิทัศน์ของยุคปัจจุบันและอนาคตซึ่งคือ Anthropocene* 

 

ในนิทรรศการ Elevated Marblesque ศิลปินเผยให้เห็นถึงพัฒนาการจากชุด Marblesque โดยการยกระดับของพื้นผิวผ้าใบเป็นสองชั้น เพื่อยืดเหยียดความรู้สึกของการแปรสภาพของชั้นหินเข้าหาผู้ชม ผลักให้ระนาบผิวของผ้าใบจ่อประชิดกับสายตามากขึ้น เพื่อสร้างความหนาแน่น ประหนึ่งเป็นการเผยให้เห็นถึงภูมิประเทศ ลักษณะโคกเนินและระดับความสูงของโลกเรา เสมือนเป็นการเชื้อเชิญให้ผู้ชมพินิจถึงองค์ประกอบทาง เคมี ฟิสิกส์ และชีวภาพของบรรยากาศโดยรอบมากกว่าจะพูดถึงภูมิทัศน์ในแบบที่เราคุ้นเคย 


ในผลงานชุดนี้ ศิลปินนำเสนอแนวคิดว่าชั้นดิน ก้อนหิน และแร่ธาตุในโลกอนาคตจะมีส่วนผสมปนเปื้อนจากพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่ยุค “The great acceleration”** ในปี 1950 ทำให้ลวดลายของหินเช่นเส้นสายของแร่ซึ่งปรากฏบนหินอ่อนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากหินอ่อนในยุคปัจจุบัน ศิลปินจึงตั้งคำถามถึง คุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศในปัจจุบันนี้ จะส่งผลต่อการก่อร่างสร้างตัวของธรรมชาติในอนาคตอย่างไร อีกทั้งยังตั้งคำถามว่าผู้คนในโลกอนาคตจะจินตนาการถึงภูมิทัศน์ของโลกปัจจุบันนี้ในแบบใดเมื่อมองส่องลงไปถึงส่วนผสมของก้อนหินและแร่ธาตุในระดับจุลทัศน์



นิทรรศการ Elevated Marblesque ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าศิลปิน อากิระ อิชิกูโระ มีความเชี่ยวชาญในการนำเสนอผัสสะ น้ำหนัก มวล และพื้นผิวของวัตถุได้อย่างชำนาญ และผู้ชมอาจได้เห็นมุมมองในการดูภูมิทัศน์แบบใหม่ ผ่านมุมมองระดับจุลทัศน์ของศิลปิน

 

*หมายเหตุ ยุค Anthropocene เป็นชื่อทางธรณีวิทยาที่ได้มีการเสนอเพื่อเรียกช่วงเวลาปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า anthropocene ได้เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ โดยนักธรณีวิทยาส่วนใหญ่มักลงความเห็นว่าเริ่มตั้งแต่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1800s) 

 

** The great acceleration เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่ 1950 ที่วิวัฒนาการทางระบบอุตสาหกรรมมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดทำให้เกิดการเชื่อมต่อของโลกในหลากหลายมิติรวดเร็วมากกว่าในยุคอื่นที่ผ่านมา