Intentional Chance: by Kitikong Tilokwattanotai

3 April - 22 May 2021

The brushstroke is central to the act of painting. Forever wed to the process of artistic creation. Whether it is combined and layered to create the illusion of form, or left to stand as the form itself, the brushstroke remains a marker of the moment in space and time when the artist connected with the canvas through movement to express emotion. 

 

Intentional chance, a solo exhibition by Kitikong Tilokwattanotai, an artist who has worked in non-figurative art for the better part of two decades, refines the brushstroke as a form of communication. The gestural movements and expressive forms akin to calligraphy entice the viewer to meet the artworks halfway, and use their own experiences and linguistic background to decipher meaning in the curves and turns of paint on the canvas.

 

In a painting without direct reference to an object or person, the brushstroke must stand alone; it must create its own meaning. Tilokwattanotai, letting his sense of self step aside and automation take over, allows the painting to create itself. Without the intentionality of the artist or a figurative subject, the meaning of these works exist solely in the space between the painting and the viewer. The script-like forms act merely as guides to infinite possibilities. Such meaning, not tied to place or time, has staying power in the mind.

 

 A master of color and aesthetic delight, Tilokwattanotai’s paintings are a feast for the eyes. He covers the stunning, vibrant compositions with a luscious lacquer, revealing every detail within the deceptively simple forms of the brushstrokes.

 

The exhibition “Intentional chance will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 3 April until 22 May 2021. The official opening ceremony will be held on 3 April 2021, 6:00PM onwards.

 

Hashtag: #SACKitikong

 


 

เทคนิคพื้นฐานของการสร้างผลงานจิตรกรรมคือการวาดภาพด้วยพู่กัน ศิลปินจำนวนไม่น้อยใช้อุปกรณ์นี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และเมื่องานศิลปะมีพู่กันเป็นผู้ดำเนินเรื่อง ยิ่งทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า รอยทีแปรง (Brushstroke)  มีบทบาทอย่างไรในงานจิตรกรรม จิตรกรในประวัติศาสตร์สำรวจศักยภาพการแสดงออกของพู่กันด้วยความพยายามค้นคว้าหาแก่นแท้ของเครื่องมือพื้นฐานนี้ผ่านการสำรวจสภาวะภายใน ที่ระดับอารมณ์และความรู้สึก ทำให้ทีพู่กัน หรือทีแปรง มีความหมายเป็นอุปลักษณ์ของพลังงานที่สื่อ สะท้อนสภาวะ มุมมอง ท่าทาง หรือกระทั่งห้วงเวลาขณะที่ศิลปินผลิตผลงาน  

 

“Intentional chance” คือนิทรรศการที่นำเสนอผลงานจิตรกรรมของ กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย ผู้สร้างสรรค์รอยทีพู่กันด้วยเทคนิคพิเศษ ไม่เพียงแต่ร่องรอยความเคลื่อนไหวที่ทำให้ผลงานของเขาดูราวกับการสื่อสารทางภาษาชนิดหนึ่ง การเคลือบผลงานด้วยวัสดุพิเศษยิ่งขับเน้นรอยทีแปรงเหล่านั้นให้ชัดเจน และสร้างมิติให้กับความเคลื่อนไหวบนระนาบ “Intentional chance” จึงเป็นนิทรรศการที่ต้องการสร้างความหมายใหม่ให้กับผลงานนามธรรมที่สร้างสรรค์ผ่านทีพู่กัน ผู้ชมจะเป็นผู้ถอดรหัสนามธรรมนี้ และพบกับเรื่องราวที่เผยออกมาด้วยรอยทีแปรงของศิลปิน 

 

หากย้อนไปสำรวจโลกจิตรกรรมโบราณ รอยทีแปรงและพื้นผิวที่หยาบกร้าน มักจะถูกจัดการให้หายไปจากระนาบจิตรกรรม การปรากฏของรอยทีแปรงที่รุนแรงและชัดเจนกลับกลายเป็นหนึ่งในเรื่องท้าทายของประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยเฉพาะในช่วงที่จิตรกรรม Abstract Expressionism ถือกำเนิดขึ้นในนิวยอร์กช่วงปี 1940 - 1950 จิตรกรรมนามธรรมปาดป้ายด้วยรอยทีแปรงอย่างหนักแน่นได้ออกมาเผชิญหน้าต่อผู้ชม หลังจากการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง การสร้างจิตรกรรมด้วยรอยทีแปรงเริ่มได้รับการยอมรับ และมักจะถูกให้ค่าไปในสถานะของการ “สำแดง” ของศิลปิน เป็นเทคนิคที่มักจะถูกโยงเข้าสู่ท่าที (gesture) ของความรู้สึกและสภาวะอารมณ์ของศิลปินโดยตรง 

 

แม้แต่ศิลปะแนวป๊อป (Pop Art) หรือการแสดงออกแนวมินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่เกิดขึ้นในภายหลังก็ยังตรวจสอบและตั้งคำถามเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของรอยพู่กันบนพื้นผิวผ้าใบ ทีพู่กันได้ถูกตวัดจารึกไว้ในโลกศิลปะอย่างนับไม่ถ้วน ทั้งได้รับการยอมรับและสบประมาท แต่ในอีกมุมหนึ่งการวาดภาพด้วยรอยพู่กันคือกระบวนการที่ชวนให้ขบคิดอยู่เสมอ ตั้งแต่รอยแปรงที่บริสุทธิ์ของเด็กๆ การเคลื่อนไหวพู่กันของสัตว์ ของศิลปินมือฉมัง หรือจะทั่งของนักกวีผู้ใช้พู่กันในการเขียนอักขระ ล้วนต่างมีท่าทีและจุดประสงค์ในการแสดงออกที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมอง และการให้คุณค่าที่เราสวมใส่ให้กับเครื่องมือที่เราเรียกว่าพู่กัน ผลงานของกิติก้องก็เช่นกัน เมื่อทีแปรงไม่ใช่เพียงการ “สำแดง” เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสภาวะที่หลากหลายที่ยังแทรกอยู่ในรอยทีแปรงเหล่านั้น ซึ่งการรับรู้ของผู้ชมจะเป็นเครื่องมือแปรสารสำคัญที่ซ่อนอยู่ในผลงาน 

 

นอกจากการพิจารณาทัศนธาตุ (Visual Element) ที่งานนามธรรมใช้สื่อสารแล้ว การสังเกตลงไปในท่าทีของผลงาน จะเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นเจตนาของศิลปะนามธรรม โดยเฉพาะรอยทีแปรงที่ปาดป้ายนั้นล้วนมีนัยยะทั้งสุนทรียภาพและการเมืองในตัวของมันเอง ดังเช่นที่ Abstract Expressionism เคยมีอยู่เพื่อยืนยันตัวตนท่ามกลางบริบทของสงครามเย็น อิสระภาพที่อยู่ในท่าทีของ “ภาวะอัตโนมัติ” (automatism) ในงานนามธรรมร่วมสร้างจุดยืนทั้งในเส้นทางของศิลปะ และจุดยืนทางสังคมในรูปแบบใหม่ของอเมริกาในช่วงเวลานั้นๆ    

 

ด้วยเหตุนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าการปลดเปลื้องจิตรกรรมด้วยทีแปรง ได้กลายเป็นท่าทีที่สำคัญของกิติก้อง ภาวะอัตโนมัติได้ปลดปล่อยจินตนาการของศิลปิน เช่นเดียวกับที่กิติก้องจงใจปล่อยให้ผลงานของมีลักษณะคล้ายกับอักขระทางภาษา มีไวยากรณ์อันเต็มไปด้วยจินตนาการและอิสระในการแสดงออก จังหวะจะโคนของพู่กันปาดป้ายอย่างอิสระและเต็มไปด้วยเจตจำนงที่ศิลปินแสดงพลังงานให้ปรากฏผ่านเส้น สี รอยทีแปรงที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบผืนผ้าใบ เพราะสิ่งสำคัญของงานนามธรรมคือการค้นหาภาษาใหม่ของรอยทีแปรง สี พื้นผิว และพื้นที่ว่าง ค้นหาสุนทรียภาพที่ยังไม่มีใครค้นพบ “Intentional chance” จึงเป็นนิทรรศการที่เรียงร้อยผลงานในหลายๆ ช่วงในชีวิตของกิติก้อง ติลกวัฒโนทัย ทีพู่กันได้ปรากฏราวกับเป็นลายมือของศิลปินซึ่งไม่มีใครจะเลียนแบบได้ และรอยทีแปรงที่เผยตัวอยู่ในนิทรรศการนี้จะเป็นการประกาศอีกครั้งถึงเจตจำนงของจิตรกรรมนามธรรมที่ยังทรงตัวอยู่บนเส้นทางของศิลปะร่วมสมัยอย่างโดดเด่นเสมอมา 

 

นิทรรศการ “Intentional chance” จัดแสดงระหว่างวันที่ 3 เมษายน - 22 พฤษภาคม พ.. 2564 ณ ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 3 เมษายน .. 2564 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป