Rak: an assemble collective: by Sumanatsya Voharn

10 October - 22 November 2020

Even through to mend a broken thing is unviable but the action of mending presents the will of bringing something back to function by adding some essential substances to glue those little pieces back together. To repair something requires time, skills and effort as much as creating new pieces or even more. To have something fixed also means that traces and marks that remain are acceptable.

 

Sumanatsya Voharn, a product designer who push design after functions. Sumanatsya also interested in lacquer ware and Kintsugi, a ware-fixing prominent Japanese technique. This has brought Sumanatsya to the new field of awareness where she finds creating emerge from repairing, and it isn’t easier than any other ways. She uses the technique to mend two (or more) different materials together where the stories of life, mind and existence reveals.

  

Rak: an assemble collective is the solo exhibition of Sumanatsya Voharn. Sumanatsya swifts the definition of repairing to the art of juxtaposing. Audiences are allowed to determine each piece and their historical stories as well as their trails. The works speak as if their journey reflect our life span consists of obstacles, experiences, lessons and starting over. No matter how many times we mend our minds, the closer they are to perfection.

 

The exhibition “Rak: an assemble collective” will be held on the first floor, Collector's Lounge, of Gallery Bldg., SAC Gallery from 10 October until 22 November 2020. 

 

Hashtag: #SACRak

 


 

แม้ว่าการซ่อมแซมให้สิ่งของภาชนะกลับมาเหมือนเดิมนั้นจะเป็นไปไม่ได้ แต่ในอีกนัยหนึ่งการซ่อมแซมคือการ คืน บางสิ่งให้กลับมา และ “เติม” บางอย่างที่จำเป็นเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ การซ่อมแซมอาจต้องใช้เวลา ใช้แรงงาน เสียยิ่งกว่าการสร้างขึ้นใหม่ ในขณะเดียวกันร่องรอยที่ขาดหายหรือรอยแตกร้าวจากการซ่อมนั้นจะยังคงอยู่

 

สุมนัสยา โวหาร ในฐานะนักออกแบบที่ไม่ได้สนใจเพียงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้มีความงาม และสอดคล้องกับการใช้งาน แต่การศึกษาภูมิปัญญาการใช้ยางรัก และเทคนิคคินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะการซ่อมภาชนะของญี่ปุ่นที่มีมาแต่โบราณอย่างจริงจังได้ทำให้เธอค้นพบการสร้างสรรค์ที่ไม่ได้เกิดจากการ สร้าง แต่มาจากการ ซ่อม ที่มีความซับซ้อนไม่ต่างจากการสร้างขึ้นใหม่ การประยุกต์เทคนิคคินสึงิ ค้นหาวิธีการประสานวัสดุที่แตกต่างนั้นทำให้การซ่อมแซมสิ่งของเริ่มเปิดเผยความซับซ้อนของชีวิต สภาวจิต และการดำรงอยู่

 

Rak: an assemble collective คือนิทรรศการเดี่ยวของ สุมนัสยา โวหาร เมื่อการซ่อมแซมสิ่งของได้กลายเป็นงานศิลปะของการผสมผสาน ผู้ชมสามารถสังเกตได้ถึงความละเอียดอ่อนที่ทับซ้อนอยู่บนความหมายของวัตถุแต่ละชนิด สิ่งเหล่านี้แสดงออกมาจนดูราวกับบทสนทนาระหว่างการเดินทางในห้วงเวลาของวัตถุที่เปรียบกับชีวิตของคนเราที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ประสบการณ์ ความผิดพลาด การแก้ไข เฉกเช่นสภาพจิตใจของเรานั้นเองที่ยิ่งซ่อมก็กลับยิ่งสมบูรณ์ขึ้นทุกขณะ

 

นิทรรศการ “Rak: an assemble collective” จัดแสดงระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม - 22 พฤศจิกายน .. 2563 ณ บริเวณ Collector's Lounge ชั้น 1 อาคารแกลเลอรี (ตึกเล็ก) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery)