Thru Air on Key Strings: by May-T Noijinda

17 October - 15 December 2019

May-T Noijinda, best known as May-T Moderndog, a genius renowned for his captivating guitaristic sound of Moderndog (the band that set a new standard to Thailand’s music industry in 1994 and became a figure to the alternative genre until this day). For the first time ever, he comes up with a sound art exhibition called “Thru air on key strings” by orchestrating his 25 years of sound design experiences, bizarre yet astonishing creativity, in order to break the wall of standardised art and music with sound art—an art form that utilises sound as a primary medium to create experimental outcomes, yet detached from the scope of entertaining and beautifying the listening experience.

 

In “Thru air on key strings”, the artist arranges each distinctive musical note to 25 speakers by using a highly profound technique called “Twelve-Tone Technique” or “Chromatic Scale”—a composing method that uses musical scale formed by 12 musical notes including tone and semitone, the technique is implemented to ensure that all 12 notes are used as often as one another. It’s undeniable that May-T cannot help but want to strive his way to include altogether 25 notes, 25 keys attached to 25 speakers. Each speaker operates similarly to an individual instrument performed in a music hall, which, surprisingly, creates harmony and, at the same time, opens up this new experimental listening experience.

 

“Thru air on key strings” is an epic, a new dawn of sound portrayed in an episodic approach. The event carries a handful of stories, situations and messages; which illustrate the artist’s eagerness to break the solidified norms and theories of music by trying new choices of sounds and improving the method that already existed by other artists such as Johann Sebastian Bach; a globally-acclaimed composer who broke the rules of music, John Cage; a pioneer who brought sound art to the world stage, and many other contemporary sound art artists who influenced Maythee to develop his own unique approach. During his working process, May-T defines the new meaning of sounds by mixing organic sound records such as ambient sounds, animal sounds and sounds of movements; with man-made sounds represented by human inventions such as piano, a bell, traditional to electronic musical instruments. With such a wide selection of sound sources, this invention of art reflects upon the ever-changing culture embodied by the unifying intervening lines of human inventions (technology) and nature.

 

“Thru air on key strings” is a revolutionary event that departures you to the world of immersive experimental sound art experience that does not only redefine sound as an energy source generated by the vibration of molecules in the air but a symbol of freedom that breaks free from norms and boundaries of the past. Sound will create a possible parallel between human and nature. Sound will travel through the human neural system and transmit the hope for a non-boundaries world full of creativity. “Thru air on key strings” led by the most visionary artist, May-T Noijinda is another exhibition that cannot be missed at all cost.

 

The exhibition “Thru air on key strings” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 17 October until 15 December 2019. The official opening ceremony will be held on 17 October 2019, 6:00PM onwards.

 


 

เมธี น้อยจินดา หรือที่รู้จักกันในนาม เมธี โมเดิร์นด็อก ศิลปินนักดนตรีผู้มีเอกลักษณ์ในการสร้างเสียงกีต้าร์สุดล้ำในงานเพลงของวงโมเดิร์นด็อก (วงดนตรีที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์วงการดนตรีประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 และยังคงเป็นต้นแบบให้ดนตรีแนวทางเลือกมาตลอดจนปัจจุบัน) ในครั้งนี้เมธีได้มีนิทรรศการแสดงศิลปะแห่งเสียงเป็นครั้งแรกในชื่อนิทรรศการว่า  “Thru air on key strings” โดยเมธีได้นำประสบการณ์กว่า 25 ปีในการคร่ำหวอดกับการออกแบบเสียงต่างๆในงานดนตรี รวมถึงพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ก้าวข้ามกรอบของศิลปะและดนตรีเดิมๆ ที่เคยทำ มาสู่งาน Sound Art หรือ ศิลปะแห่งเสียงที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ตัวเสียงโดยตรงและเล่นไปกับความลึกของเสียงโดยไม่ยึดติดกับความไพเราะในเชิงดนตรีหรือการให้ความบันเทิง

 

ในนิทรรศการ “Thru air on key strings” ศิลปินได้เจาะจงสร้างงานเสียงและถ่ายทอดเสียงของโน๊ตแต่ละตัวที่แยกกันเปล่งเสียงด้วย ลำโพง 25 ตัว ซึ่งใช้วิธีการทำงานในรูปแบบที่ยากและท้าทายซึ่งเรียกกันว่า twelve-tone technique หรือที่เรียกกันว่า โครมาติกสเกล Chromatic scale ซึ่งเป็นการประพันธ์ด้วยบันไดเสียงอันประกอบด้วยโน๊ตครบทั้ง 12 ตัว ที่มีทั้งโน๊ตตัวเต็มและครึ่งเสียง (semi tone) เทคนิคการสร้างเสียงแบบนี้คือการให้ความสำคัญกับโน๊ตที่มีอยู่ทั้งหมด 12 ตัวอย่างเท่าเทียมกันโดยเป็นการเล่นหรือเอาใช้ทั้งหมด มิได้ตัดโน้ตบางตัวออกเหมือนกับบันไดเสียงทั่วๆ ไป อีกทั้งยังไม่ได้ยึดโยงอยู่กับบันไดเสียงของโน๊ตใดใด จากจุดเริ่มนี้ ศิลปินได้ขยายความก้าวข้ามสู่ระดับเสียง 2 ขั้นกลายเป็น 25 โน๊ต 25 คีย์ 25 ลำโพง โดยที่ลำโพงแต่ละตัวยังมีบทบาทเสมือนเป็นตัวละครที่ร่วมเล่นกันในละครโรงใหญ่ด้วยการร้อยเรียงบรรเลงผสานกันอย่างมีเอกภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ทางด้านเสียงให้กับผู้มาชมอุบัติการณ์แห่งเสียงในครั้งนี้อีกด้วย

 

“Thru air on key strings” นับเป็นงานแสดงมหากาพย์แห่งเสียงที่เสียงได้ถูกแบ่งเป็นบท แต่ละบทเปิดเผยเนื้อหาในแต่ละประเด็น/สถานการณ์/มุมมอง/เรื่องราว ทั้งการแหกกฎต่อทฤษฎีดนตรี การคิดนอกกรอบต่อการประพันธ์เสียงแบบเดิมๆ โดยใช้กลวิธีการสร้างเสียงที่หยอกเย้า ต่อยอด จากวิธีการสร้างงาน Sound Art ในประวัติศาสตร์ศิลปะและดนตรี  รวมถึงศิลปิน Sound Art ในยุคบุกเบิกของโลก เช่น คีตกวีเอกของโลกผู้เป็นต้นเรื่องของการแหกกฎเดิมๆ อย่าง Johann Sebastian Bach สู่ John Cage ผู้บุกเบิก Sound Art ให้ถูกบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ศิลป์ของโลก มาจนถึงศิลปิน Sound Art ร่วมสมัยอีกหลายคนซึ่งสร้างผลงานตอกย้ำให้คุณค่าของ ซาวนด์อาร์ต เป็นที่ยอมรับในระดับโลก จากการต่อยอดทางความคิดนำไปสู่กระบวนการสร้างงานที่ฉีกแหกแหวกกฎออกนอกกรอบเดิมๆ ด้วยการสร้างความหมายใหม่ของเสียง เช่น การผสมเสียงธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นเสียงบรรยากาศ เสียงสัตว์ต่างๆ เสียงการเคลื่อนไหวในสภาพแวดล้อม มาผสานกับเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) เสียงสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่โบราณ เช่น กระดิ่ง หรือเครื่องดนตรีดั้งเดิม เช่น เปียโน ที่มักถูกใช้ในการประพันธ์ดนตรีมาแต่อดีต ไล่เรียงมาจนถึงยุคปัจจุบันกับเครื่องสร้างเสียงในระบบดิจิตอลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และแหล่งกำเนิดเสียงอย่างลำโพงไฟฟ้า สุดท้ายแล้ว การผสมผสานดังกล่าวได้เกิดเป็นสุ้มเสียงที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพกว้างของวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ธรรมชาติได้กลมกลืนไปกับเครื่องมือเครื่องไม้สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจนถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน

 

นิทรรศการ “Thru air on key strings” ถือเป็นอุบัติการณ์แห่งเสียงที่จะนำพาผู้เข้าฟังให้ดำดิ่งสู่ความล้ำลึกสลับกับลิ้มรสสัมผัสทางเสียงที่แปลกใหม่ เสียงจะไม่เป็นเพียงพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศอีกต่อไป แต่เสียงจะแสดงบทบาทมากกว่าที่เคย
เสียงจะแสดงถึงอิสระการขบถจากกรอบของอดีต
เสียงจะแสดงการสรรสร้างคู่ขนานจากธรรมชาติและมนุษย์
เสียงจะเดินทางเข้าสู่โสตประสาท สร้างจินตนาการไร้ขอบเขตถึงเสียงแห่งอนาคต  

 

“Thru air on key strings” อุบัติการณ์แห่งเสียงอันล้ำยุคในครั้งนี้โดย ศิลปิน เมธี น้อยจินดา จึงนับเป็นอีกนิทรรศการที่ทุกท่านไม่ควรพลาดอย่างแท้จริง

 

นิทรรศการThru air on key stringsจัดแสดงระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 15 ธันวาคม .. 2562 ณ ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 17 ตุลาคม .. 2562 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป