The World We've Made: by Pichai Pongsasaovapark

18 July - 31 August 2019

While air pollution has been a serious problem in Thailand for many years, many people have paid it little attention or overlooked it.  It may be because most pollutants cannot be seen by the naked eye, even though they exist.  And mostly, the evidence of its harm to people’s health has often been concealed or denied.  Therefore, Pichai Pongsasaovapark came up with the concept of creating works that actually captured the problem of air pollution.

 

In 2017, Pongsasaovapark created series called “Poison Flowers” and “Exhaust Man.”  In these series, he wanted to show the truth of polluted air from carbon emissions and allow people to see that air pollution exists.  The artist used pieces of drawing canvas to cover the exhaust pipes of various types of vehicles and machinery which emitted toxic carbon dioxide.  This process resulted in the carbon fumes making the shapes of flower patterns on the canvas.  The vehicles and machinery used in creating the works were common cars, motorcycles, pickup trucks, vans, ten-wheeled trucks, agricultural combines, harvesters and tractors.

 

In 2018, Pongsasaovapark decided to expand my environmentally-focused works to address other larger issues linked to climate change that contribute to global warming, such as urban pollution and rising oceans as a result of the melting icebergs and glaciers.  With the sea level rising, the ecosystem of many countries is gradually being destroyed and biodiversity reduced.

 

Clearly, uncontrolled urban growth contributes to this outcome.  Industrial pollution through the emission of carbon dioxide and other gases pouring into the atmosphere, the pollution of water and soil, and the decimation of forests and green lands have all contributed to the destruction of our environment.  Pongsasaovapark decided to address what individuals can do in the face of such destruction.  He believes that if we are to change the direction in which we are going, it must start from individuals, then communities, then nations taking action.

 

Each individual must be aware and must join hands with one another to solve the problems for the sake of future generations.  To visualize the solution, Pongsasaovapark created a series of works called “Why did you go away?” and “Macro and Micro.”  They reflect that virtually all the countries of the world signed the “Paris Agreement,” an agreement under the United Nations convention on climate change, to support policies that will protect our planet.  However, the United States, previously a global leader on the environment, has withdrawn from the agreement.

 

In 2019, he again created a series called “The Mess We Make,” which refers to the deficiency of lawlessness, management, and information around air pollution.  The works were inspired from the toxic smog that has periodically blanketed Thailand with the air-borne particulate PM2.5.  Because of a lack of systematic and urgent air pollution management, the problem has risen steadily in Thailand, leading to a serious health risk and danger to the public.  As an artist, he believes that he can do something to make people notice this issue and how dangerous it is, as well as bring attention where they live.  Additionally, some people have no idea as to even when and why they should wear such masks, or even what types of masks they should use to prevent harm to their lungs from breathing such air pollution.

 

While artists cannot solve the problems we face as a society, we can always try to bring greater attention to the issues and possible solutions.

 

The exhibition “The world we’ve made” will be held on the third floor of Art Connection (BTS Ploenchit Exit 1), Rosewood Bangkok Hotel, Ploenchit road, Bangkok from 18 July until 31 August 2019.

 

Hashtag: #SACPichai

 


 

มลพิษในอากาศของประเทศไทยได้ถูกสะสมมาเป็นเวลานาน และมลพิษเหล่านี้ก็ยากที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า ข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้ถูกปกปิดซ่อนเร้นมาเป็นตลอด เรื่องที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ทำให้ผมมีความคิดในการสร้างผลงานศิลปะที่สะท้อนปัญหามลพิษในอากาศที่ผู้คนขาดการใส่ใจและเพิกเฉย

 

ในปี พ.ศ. 2560 พิชัย พงศาเสาวภาคย์ ได้สร้างผลงานศิลปะในชื่อชุด Poison Flower และ Exhaust Man เขาได้แสดงให้ผู้คนได้เห็นความจริงของอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษ โดยการใช้ผ้าใบเขียนภาพหุ้มจับมลพิษที่มาจากท่อไอเสียของยานพาหนะชนิดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดร่องรอย รูปร่าง รูปทรงเป็นดอกไม้โดยที่ไม่ได้ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยวิธีทางจิตรกรรม ส่วนยานพาหนะที่ใช้ในการสร้างผลงานชุดนี้ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์ รถกระบะ รถยนต์ รถตู้ รถสิบล้อ หรือแม้แต่รถที่ชาวบ้านใช้ในการทำนาข้าวซึ่งเป็นเกษตรกรรมหลักของประเทศไทย เช่นรถไถนา รถสีข้าว เป็นต้น ในผลงานชุดนี้ศิลปินมีความตั้งใจว่าให้ผู้คนได้เห็นและได้ตระหนักว่ามลพิษในอากาศนั้นมีอยู่จริง

 

ในปี พ.ศ. 2561 พิชัยได้พูดถึงปัญหามลพิษทางอากาศในมุมที่กว้างขึ้น โดยหยิบยกประเด็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น เชื่อมโยงไปถึงปัญหามลพิษที่มีส่วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและกำลังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเมืองและผู้คน เช่นเรื่องการละลายของภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกซึ่งทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระบบนิเวศน์เสียหาย ความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเจริญเติบโตของเมืองอย่างไร้การควบคุม เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซพิษในชั้นบรรยากาศ ทำให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกๆประเทศทั่วโลก

 

ผลงานศิลปะในชุดนี้ เขาได้สร้างเป็นผลงานชุด Why did you go away? และ Macro and Micro ที่พูดถึงประเทศที่ลงนาม “ความตกลงปารีส” ซึ่งเป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ก็มีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่ถอนตัวออกจาก “ความตกลงปารีส” นี้ ดังนั้นการแก้ปัญหามลพิษต้องเริ่มจากตัวบุคคลแต่ละคนจนกระทั่งถึงระดับรัฐของประเทศที่ต้องตระหนักและต้องร่วมไม้ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเพื่อชนรุ่นหลัง

 

ในปี พ.ศ. 2562 นี้ ศิลปินพิชัยได้ตอกย้ำเจตนารมณ์อีกครั้งในการสร้างงานจากภาวะควันพิษ โดยหยิบยกประเด็น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ทำให้หมอกควันพิษปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เห็นการขาดการจัดการกับปัญหามลพิษที่เป็นระบบและเร่งด่วน ทำให้ปัญหาค่ามลพิษในอากาศพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ผลงานศิลปะในชุดนี้ พิชัยได้สร้างเป็นผลงานชุด The Mess We Make ที่พูดถึงความไร้ระเบียบ ไร้การจัดการที่ดี ข้อมูลข่าวสารที่ล่าช้าและไม่ชัดเจน ทำให้ประชาชนไม่ทราบแน่ชัดว่าในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่มีค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายถึงขั้นใด ต้องใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันมลพิษชนิดใดและเมื่อใด

 

นิทรรศการThe world we’ve madeจัดแสดงระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม พ.. 2562 ณ ชั้น 3 โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ (พื้นที่ทางเชื่อมระหว่าง BTS เพลินจิตทางออก 1) ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ