Coexisting Contradictions

2 February - 10 March 2019

Different materials, techniques, and genres are encountered on my painting space… it is ambiguous to distinguish whether my work is oriental painting or western painting.

 

Korean-born artist Gi-ok Jeon received her BFA in painting in Seoul and her MFA in Chinese painting from the prestigious Beijing Central Academy of Fine arts. She later moved to Bangkok and continued to study printmaking from the Department of Visual Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Her catalog of work shows her to be an artist that is innovative, combining techniques across materials. Her works range from embroidery to woodcuts to painting to weaving; with her use of these intercultural techniques touching upon content that is associated with multicultural identity, motherhood, and daily life. The works reference her Korean heritage, Chinese aesthetic and Thai life with each exhibition. Her solo exhibitions have been held at the Beijing International Art Palace Museum, Chulalongkorn University and Subhashok the Arts Centre, also joining in group exhibitions at the Korean Cultural Center of Thailand, Bangkok Art and Culture Centre, the Mu Project in Washington D.C and the Central Academy of Fine Arts Museum in Beijing. Most recently she has shown at the Kunming art biennale in China.

 

This is her second solo exhibition with SAC and offers a new perspective on the concept of unexpected space. For this new exhibition “Coexisting Contradictions” she continues to develop her series with an overall social identity theme paired with the technical evolution of mixing materials seen in previous work. Her current perspective has incorporated the sporadic and ambiguous circumstances of people and objects randomly meeting in everyday life.

 

This exhibition was born of an 11-month residence in Chiang Mai that saw Gi-ok as an invited lecturer to the Painting Department of Chiang Mai University. During this period Gi-ok became interested in exploring how new relationships or events occur in situations when different materials and techniques are accidentally or inevitably coexisting in a space. As in the case when we encounter strangers or strange experiences in a space called a “new society”, we are faced with the experience of encountering an unfamiliar opponent or space, and also an ambiguous situation. How do you know if you are responding to a situation clearly if you are not surrounded by a familiar language? How can the objects that surround you be disorienting if you don’t know the scale or location of where you find yourself?

 

The new series of stone works reminded her of the ink paintings in the oriental aesthetic. Collecting the stones and using acrylic paint, Gi-ok painted the geometric patterns of western abstracts onto the smooth surfaces of the stones. Boundaries became blurred between the real and the unreal as this visualization demonstrated well the ambiguous situations she has dealt with in between Bangkok and Chiang Mai, past and present, natural and artificial, sentient and virtual: contradictions that can exist at the same time.

 

These contradictory elements are encountered and overlapping each other in one instance. These various visual encounters are between acrylic paint and ink paint, brilliant primary color of hanbok and paints, various shape of stones and contrasting images drawn on the surface of stones, the oriental abstract and the Western abstract, achromatic and various colors, 2 Dimension and 3 Dimension. These contradictory elements are encountered and crushing each other in one screen. These patterns in her work express the inner world of the cultural shock and uncertain existence that is experienced when we live abroad. The variety of experimental objects connected to the traditional ink painting is the essence of her work. Tradition gives a foundation on which she draws out the search for her identity in an uncertain culture. Her paintings are first created with black ink that are dropped randomly on paper or fabric which leaves trace of abstract images. These traces are the bases for questions about her identity as an immigrant, artist, and woman.

 

For this exhibition, Gi-ok is further strengthening the characteristics from her motherland. The new work on stone respects an important material found in traditional oriental paintings, just as she has similarly used tree branches in her work before. It is a special material as well as familiar material, however, with this three-dimensional object; the visual becomes confusing when illusionary geometrical figures are drawn on it.

 

This series is complemented with the use of Hanbok fabric which is not just a beautiful fabric that contains splendid primary colors, but also represents the Korean identity that she has highlighted in previous exhibitions. The thin silk cloth holds a mysterious aesthetic that when combined with the other materials symbolizes the struggle of cultural identity in the modern age; being a mixture of elements and creating something new that isn’t fully formed but still ever-changing. This further exploration of abstraction in her work gives hints on the potential of non-traditional oriental painting materials, in this case on the techniques of object work supplementing experimental oriental symbolism.

 

As an immigrant and eclectic artist, she is solidifying her multiethnic identity and her relationship to her current life and place in Thai society.

 

The exhibition “Coexisting Contradictions” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 2 February until 10 March 2019. The official opening ceremony will be held on 2 February 2019, 6:00PM onwards.

 


 

“หลากหลายวัสดุ เทคนิค และรูปแบบ ได้มาปะทะกันในพื้นที่ว่างบนงานจิตรกรรมของฉัน... ไม่สามารถจะแยกได้ว่างานของฉันเป็นจิตรกรรมตะวันออกหรือตะวันตก” 

 

Gi-ok Jeon เกิดที่ประเทศเกาหลีใต้ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านศิลปะ เอกจิตรกรรม ที่กรุงโซล และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านจิตรกรรมจีนจากสถาบันวิจิตรศิลป์ที่มีชื่อเสียง ณ กรุงปักกิ่ง ก่อนย้ายมาพำนักที่กรุงเทพฯ และศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เพิ่มเติมที่ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิจารณาจากผลงานของเธอที่ผ่านมา Gi-ok เป็นศิลปินที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และกระตือรือล้นในการค้นคว้าทดลองสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ จากการผสมผสานวัสดุหลากหลายผ่านทางเทคนิคที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น การปักเย็บ เทคนิคแกะไม้ จิตรกรรมระบายสี จนถึงการถักทอต่างๆ ด้วยการประสานกลมกลืนเทคนิควัสดุจากวัฒนธรรมหลากหลายภูมิภาคเข้ากับเนื้อหาเรื่องเอกลักษณ์ทางพหุวัฒนธรรม คุณค่าความเป็นแม่ และชีวิตประจำวันเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผลงานของเธอในแต่ละนิทรรศการได้สะท้อนถึงมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศเกาหลี สุนทรียะความงามในแบบจีน และวิถีชีวิตในเมืองไทย Gi-ok มีนิทรรศการแสดงเดี่ยวมาแล้วมากมาย ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ Beijing International Art Palace กรุงปักกิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ และศูนย์ศิลปะบ้านตึก จ.เชียงใหม่ รวมถึงนิทรรศการแสดงเดี่ยว A space to Exist ณ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ในปี 2559 นอกจากนั้น Gi-ok ยังได้เข้าร่วมนิทรรศการกลุ่มอย่างต่อเนื่อง อาทิ ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี ประจำประเทศไทย, ศูนย์ทัศนศิลป์ Boda ในกรุงโซล, โครงการ Mu ณ เมืองวอชิงตัน ดีซี, พิพิธภัณฑ์ the Central Academy of Fine Arts ในกรุงปักกิ่ง และล่าสุดได้ร่วมแสดงในเทศกาลเบียนนาเล่ศิลปะที่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

นิทรรศการครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งที่สองของ Gi-ok กับเอส เอ ซี แกลเลอรี ซึ่งเธอได้ถ่ายทอดมุมมองใหม่บนแนวคิดเรื่องพื้นที่ที่คาดไม่ถึง นิทรรศการ ‘Coexisting Contradictions’ เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องจนเกิดมาเป็นผลงานชุดใหม่ในธีมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางสังคมแบบมหภาค ที่ได้พัฒนาควบคู่ไปกับเทคนิคผสมผสานหลากหลายวัสดุที่ได้ต่อยอดมาจากงานชุดก่อน และในมุมมองใหม่นี้ ได้สะท้อนสถานการณ์ที่ไม่ปกติและกำกวมจากการปะทะกันระหว่างคนกับวัตถุต่างๆที่มักเกิดอย่างไม่ได้ตั้งใจในชีวิตประจำวัน

 

นิทรรศการครั้งนี้มีที่มาจากการไปพำนักอยู่ที่จ.เชียงใหม่เป็นเวลา 11 เดือน ในฐานะของอาจารย์รับเชิญที่สาขาวิชาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงนั้น Gi-ok มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง ความสัมพันธ์หรือสภาวการณ์ใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่วัสดุและเทคนิคที่แตกต่างกันได้มาอยู่ร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หรือโดยความบังเอิญ ในพื้นที่ว่างหนึ่งๆในสถานการณ์ที่เราได้เจอกับผู้คนที่ไม่รู้จักหรือเผชิญประสบการณ์แปลกๆที่เราไม่คุ้นชิน อีกทั้งเป็นสถานการณ์ที่คลุมเครือ จากการศึกษาทำให้เกิดการตั้งคำถามที่ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรกัน ว่าเราได้รับมือกับเหตุการณ์นั้นได้อย่างเหมาะสมแล้ว ถ้ามันไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ห้อมล้อมด้วยภาษาที่เราคุ้นเคย? จะเป็นไปได้ไหมว่า เวลาที่เราไปในสถานที่ที่เราไม่รู้จัก วัตถุสิ่งของต่างๆรอบตัวสามารถสร้างความงุนงงและทำให้เราสับสนถึงตัวตนที่แท้จริงของตนเองได้ ?

 

ผลงานใหม่ในชุดหินมีที่มาจากการระลึกถึงความงามของจิตรกรรมสีหมึกแบบตะวันออก Gi-ok ได้เก็บหินต่างๆ มาเขียนภาพระบายสีลวดลายเรขาคณิตในรูปแบบศิลปะนามธรรมตะวันตกลงบนพื้นผิวเรียบของหินเหล่านั้น กำแพงกั้นระหว่างความจริงและความลวงได้จางไปด้วยภาพที่เธอวาดขึ้น ผลงานศิลปะได้แสดงออกถึงสถานการณ์อันคลุมเครือที่เธอได้เผชิญระหว่างตอนที่อยู่ในกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ อดีตกับปัจจุบัน ธรรมชาติและสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น สิ่งที่มีจริงกับสิ่งที่จำลองขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขัดแย้งตรงข้ามกันเหล่านี้สามารถดำรงอยู​่ในช่วงเวลาเดียวกันได้

 

ในผลงานชุดนี้ ผลงานแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่ขัดแย้งกัน มาปะทะและทับซ้อนกันในพื้นที่ว่าง การปะทะกันระหว่างเทคนิคและวัสดุที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น สีอะคริลิคกับสีหมึก สีสันของผ้า “ฮันบก” เครื่องแต่งกายประจำชาติของเกาหลีกับแม่สีที่ใช้งานจิตรกรรม รูปทรงของหินต่างๆ กับลวดลายรูปภาพที่ถูกวาดลงบนหิน รูปแบบศิลปะนามธรรมแบบตะวันออกกับตะวันตก ไร้สีกับหลากสีสัน สองมิติกับสามมิติ เป็นต้น องค์ประกอบที่ขัดแย้งกันได้เข้ามาปะทะและบดขยี้กันบนระนาบหนึ่งๆ ลวดลายต่างๆ ที่Gi-okได้สร้างสรรค์ขึ้นแสดงออกถึงสภาวะภายในอันเกิดจากความตะลึงงันต่อวัฒนธรรมต่างถิ่นและความรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อมาอาศัยอยู่ต่างแดน ซึ่งเป็นประสบการณ์เมื่อคนเราได้ไปใช้ชีวิตต่างแดน การทดลองประสานเชื่อมต่อวัสดุที่หลากหลายเข้ากับจิตรกรรมสีหมึกแบบประเพณีนิยมเป็นหัวใจในงานศิลปะของ Gi-ok ทีเดียว ประเพณีนิยมดั้งเดิมได้ให้รากฐานอันมั่นคงทำให้เธอได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริง เมื่ออยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมต่างถิ่นที่ไม่หยุดนิ่งนี้ กระบวนสร้างงานจิตรกรรมของเธอเริ่มต้นด้วยการหยดหมึกสีดำอย่างไม่จงใจลงบนกระดาษหรือผ้าและหยดหมึกเหล่านั้นได้ทิ้งร่องรอยรูปลักษณ์แบบนามธรรมเอาไว้  นอกจากนั้น ร่องรอยนามธรรมจากหยดหมึกเปรียบเสมือนจุดเริ่มสู่การตั้งคำถามถึงตัวตนที่แท้จริงของเธอ ทั้งในฐานะของคนต่างด้าว ศิลปิน หรือ สตรีเพศ

 

อนึ่ง ในนิทรรศการครั้งนี้ Gi-ok ได้พัฒนาผลงานด้วยการนำเอาอัตลักษณ์บางอย่างจากประเทศบ้านเกิดมาผสมผสานในงาน อีกทั้งผลงานชุดหินได้ให้ความสำคัญแก่คุณค่าของวัสดุซึ่งมักพบได้ในงานจิตรกรรมประเพณีนิยมแบบตะวันออก คล้ายกับตอนที่เธอได้นำเอากิ่งไม้มาใช้ในงานจิตรกรรมชุดก่อนหน้านี้ จะว่าไปแล้ว “หิน” ก็นับได้ว่าเป็นวัสดุสามัญที่เราคุ้นเคย แต่มันก็เป็นวัสดุที่พิเศษเช่นกัน  เนื่องด้วยความเป็นก้อนวัตถุสามมิติ ทำให้ภาพที่เห็นกลับกลายเป็นความสับสนงุนงัน เมื่อลวดลายของรูปทรงเรขาคณิตแบบลวงตาได้ถูกวาดขึ้นบนนั้น

 

ความพิเศษอีกประการของผลงานชุดนี้ มาจากการที่ Gi-ok นำเอาเอกลักษณ์ของผ้า “ฮันบก” มาใช้ในงาน ซึ่ง “ฮันบก” ไม่ได้เป็นเพียงผ้าที่งดงามจากสีสันที่อิ่มเอิบเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเกาหลีที่ Gi-ok ได้มุ่งเน้นถ่ายทอดในผลงานของเธอมาตั้งแต่นิทรรศการเดี่ยวครั้งที่แล้ว เนื้อผ้าไหมบางเบาอันคงไว้ซึ่งความงามทว่าลึกลับที่เมื่อใดได้ประสานรวมกับวัสดุอื่น มันสื่อได้ถึงการต่อสู้ดิ้นรนของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อให้ตัวมันสามารถดำรงอยู่ได้ในวิถีชีวิตยุคใหม่ อีกทั้ง “ฮันบก” ยังประกอบขึ้นจากการรวมตัวกันของหลากหลายองค์ประกอบ แล้วกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มิได้ไม่ตายตัวแต่แปรผันได้ตลอดเวลา การต่อยอดงานค้นคว้าทดลองถึงความเป็นนามธรรมในผลงานของเธอ ได้เผยนัยยะความเป็นไปได้ของการใช้สื่อวัสดุที่หลุดจากประเพณีนิยมในงานจิตรกรรมแบบตะวันออก ซึ่งในที่นี้จะสัมพันธ์กับเรื่องวัตถุที่ทำหน้าที่เติมเต็มให้กับสัญลักษณ์ทดลองทางตะวันออก

 

ในฐานะผู้โยกย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการเป็นศิลปินผู้โดดเด่นเรื่องการคัดสรรและผสมผสาน Gi-ok ได้ถ่ายทอดการผนวกเอาตัวตนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและความสัมพันธ์ต่างๆของเธอเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่ได้มาอาศัยอยู่ในสังคมไทย

 

นิทรรศการ “Coexisting Contradictions” จัดแสดงระหว่างวันที่กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม พ.. 2562 ณ ชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่กุมภาพันธ์ พ.. 2562 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป