Apollo and Daphne: by Gi-ok Jeon

25 February - 21 May 2022

From abstract paintings to mixed media installation, the latest exhibition of talented Korean artist Gi-ok Jeon explores her surrounding environment and daily-life scenario. The series of works genuinely invites audiences to an artistic journey along with the artist’s story through a colorful life atmosphere. Influenced by an ancient Chinese calligraphy technique, Jeon’s works combine the dominant identity of western art with trails of eastern touch – illustrating an artistic dialogue of two aesthetics on the surface of her contemporary art.

 

Jeon’s abstract paintings represent both western and eastern aspects, combining two different aesthetic legacies to a new art territory. Found object features with traditional Chinese calligraphy technique, giving a modern approach from European & American abstract arts. At the same time, the Chinese brush art also reflects artist identities: the root of her origin or even the movement of life. The paintings are here seen as the artist’s second world, overlapping territorially with her real-life events.

 

Through the history of Abstract art, paintings are mostly seen by Formalism aesthetic which focuses on actual form and matter of work – metaphor as a physical body and inner soul of artwork. Besides the form of the paintings, the matter of works unveils her full flavor of life as the artist, mother, and wife. Even though a connection of form and matter has raised many questions to art historians about its consistency, Jeon’s work still remarkably indicates the harmony and balanced life of the artist. Jeon concurrently reveals the relationship between artistic performance and actual life by painting geometric shapes on the surface with Chinese brush or playing with various art techniques descended from previous eras.

 

Calligraphic brushstroke, as a spontaneous automatism practice, has become a basic language for an abstract art movement. While some western art was influenced by the eastern aesthetic, Jeon as an Asian artist also adapted the occidental technique to her works. She reveals an opposition between forms, geometry, colors, and other visual elements through her brush. Her rapidly spontaneous strokes on the first layer of the surface are repainted by refined and precise finishing.  

 

West or east – the artistic influences from both sides embed a political context to the artworks. The intercultural experience of the artist that does not belong to any place or culture, also shows a significant perspective. The exhibition is seen as a personal record for the artist who moved to live and work in an unfamiliar culture. This intercultural phenomenon is fabricated in the matter of her artistic journey.  


Apollo and Daphne exposes special characteristics of Jeon’s spontaneous expression and comprehension of aesthetics. Her abstract paintings appear with contrasts of elements and media installation imbues with skillful technique, while her Western aesthetics flow back and forth with eastern sensibility, thus making a blurred line on the boundary between crafts and high art, giving a sense of joy to the audience.

 

The exhibition “Apollo and Daphne” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 25 February until 21 May 2022. The official opening ceremony will be held on 25 February 2022, 6:00PM onwards.

 

Hashtag: #SACGiok

 


 

Apollo and Daphne คือนิทรรศการที่รวบรวมผลงานจิตรกรรมนามธรรมรวมถึงผลงานจัดวางจากวัสดุหลากหลายเพื่อสะท้อนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมจากชีวิตศิลปิน Gi-ok Jeon (กิ-ออค จอง) ผลงานชุดนี้จะพาผู้ชมร่วมเดินทางไปกับเรื่องราวของศิลปินที่แฝงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสีสันของชีวิต ผ่านการผสมผสานเทคนิคการวาดหลายๆ แบบ โดยเฉพาะการทำให้การใช้พู่กันจีนมีบทบาทในศิลปะร่วมสมัย สร้างกลิ่นอายผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันออกและตะวันตก เมื่อสุนทรียภาพของทั้งสองขั้วกำลังสนทนากันบนระนาบผลงาน  

 

การจับคู่ระหว่างจิตรกรรมนามธรรมในแบบตะวันตกและตะวันออก หลอมรวมวิธีวาดภาพด้วยพู่กันจีนแบบประเพณีเข้ากับพัฒนาการที่สำคัญจากศิลปะนามธรรมสมัยใหม่ของยุโรปและอเมริกา ร่วมกับการใช้วัสดุเก็บตก (Found object) การผสมรวมมรดกทางสุนทรียภาพเข้าด้วยกันนี้ ได้ก่อให้เกิดอาณาเขตใหม่ของงานจิตรกรรม ในขณะที่การวาดพู่กันได้สะท้อนสอดรับกับการเคลื่อนไหวในชีวิตของศิลปิน การย้อนถามกลับถึงตัวตน ที่มา รากเหง้า ราวกับว่าจิตรกรรมคือการจำลองโลกของศิลปินที่มีบทบาททับซ้อนไปกับสถานการณ์ของชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญ  

 

หากพูดถึงจิตรกรรมนามธรรมแล้วคงไม่อาจเลี่ยงการมองด้วยสุนทรียศาสตร์แบบรูปทรงนิยม (Formalism) มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์รูปทรงและเนื้อหา ทำให้งานศิลปะมีลักษณะกายภาพที่แบ่งออกเป็นสองส่วน เปรียบได้กับร่างกายและวิญญาณ นอกจากรูปทรง (Form) ในผลงานของศิลปินแล้ว เมื่อมองไปที่เนื้อหา (Matter) เราจะสัมผัสได้ถึงการใช้ชีวิตที่ละเมียด ในฐานะศิลปินคนหนึ่งที่เดินบนเส้นทางศิลปินไปพร้อมๆ กับบทบาทของแม่และภรรยา การสอดประสานกันระหว่างรูปทรงและเนื้อหาในผลงานของ Gi-ok นี้เองสร้างข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจได้ว่าศิลปินสามารถสร้างความสัมพันธ์อันสมดุลย์อย่างไร แม้ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงและเนื้อหาจะเป็นข้อถกเถียงและข้อกังขาในประวัติศาสตร์ศิลป์เสมอมาว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกันอย่างแท้จริงหรือไม่ แต่เมื่อรอยพู่กันจีนปาดป้ายไปทั่วภาพถูกปรากฏทาบทับด้วยรูปทรงเลขาคณิตและสีสัน จิตรกรรมของ Gi-ok นอกเหนือไปจากการละเล่นบนความขัดแย้ง ผ่านรูปแบบทางศิลปะที่หลากหลายซึ่งสามารถหยิบยืมได้จากประวัติศาสตร์แล้ว ยังว่าด้วยการทำให้เกิดความสมดุลย์ในเชิงศิลปะที่สัมพันธ์กับชีวิตของศิลปินในคราวเดียวกันอีกด้วย  

 

อย่างไรก็ตามการเขียนพู่กันจีน (Calligraphic brushstroke) ได้กลายเป็นภาษาพื้นฐานที่มีความพ้องต้องกันกับศิลปะนามธรรมที่เคลื่อนไหวอยู่ในตะวันตก รวมถึงการตอบโต้อย่างฉับพลันคือมรดกที่สร้างความต่อเนื่องให้กับความเคลื่อนไหวของศิลปะนามธรรมตลอดมา ในเมื่อศิลปะตะวันตกยังได้รับอิทธิพลจากสุนทรียภาพหรือกลิ่นอายของความเป็นตะวันออกอยู่บ้างในประวัติศาสตร์ ซึ่งการเลื่อนไหลทางสุนทรียภาพเข้าหากันนี้ก็ย่อมเกิดขึ้นในฐานะศิลปินตะวันออกที่รับอิทธิพลของตะวันตกเช่นกัน 

 

ผลงานของ Gi-ok จึงมักจะสร้างความขัดแย้งกันระหว่างการตวัดปาดป้ายที่มอบรูปทรงอิสระให้กับระนาบพื้นผิว ก่อนที่รูปทรงเลขาคณิต สีสัน หรือทัศนธาตุต่างๆ จะเข้ามาทำงานร่วมกับรอยพู่กันเหล่านั้น ซึ่งสุดท้ายความขัดแย้งรุนแรงได้รับการบรรเทาด้วยความละเมียดที่ศิลปินได้ใส่เข้าไปในผลงานด้วยการไตร่ตรองเป็นอย่างดี แม้การแบ่งศิลปะให้เป็นแบบตะวันตกและตะวันออกย่อมมีความเป็นการเมืองในตัวเอง แต่ประสบการณ์ของความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Intercultural) มีนัยยะที่น่าสนใจจากมุมมองของศิลปิน เพราะนอกจากจะสะท้อนถึงการไม่เป็นส่วนหนึ่งกับสถานที่หรือวัฒนธรรมของ Gi-ok สิ่งนี้ยังเป็นเหมือนบันทึกของยุคสมัยที่ผู้คนหรือแม้กระทั่งตัวศิลปินเอง ต้องย้ายถิ่นฐานมาทำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นชินจนเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นการเดินทางของความคิดทางศิลปะอีกด้วย 

 

ทั้งการแสดงออกอย่างรวดเร็วฉับพลัน และการใช้เวลาอย่างช้าๆ เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาทางสุนทรียภาพบนชิ้นผลงาน Apollo and Daphne จึงเป็นนิทรรศการที่เผยให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของการทำงานศิลปะของศิลปินที่จัดวางชีวิตของตัวเองลงในภาพวาดนามธรรม ว่าด้วยวัตถุดิบของความเป็นคู่ตรงข้าม ระหว่างส่วนผสมของการใช้ทักษะฝีมือและการจัดการวัสดุสำเร็จรูป ระหว่างสุนทรียภาพแบบตะวันตกและตะวันออก ระหว่างเส้นแบ่งของการประดิษฐ์และการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย ราวกับว่าสิ่งที่ไม่น่าจะเข้ากันได้กลับได้รับการผสานกันจนเป็นเอกภาพด้วยความใส่ใจ ความละเมียดละไมของการทำงานส่งผลให้ผลงานชุดนี้ของ Gi-ok อบอวลไปด้วยบรรยากาศของความแตกต่างหลากหลายที่มอบชีวิตชีวาให้แก่กันได้อย่างแท้จริง 

 

นิทรรศการ “Apollo and Daphne” จัดแสดงระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไป