Shift Path: 2.5 PM

21 May - 9 June 2019

The exhibition from SAC Residency Program

features Naomi Maury, Damien Fragnon, Patipat Chaiwitesh and Ruangsak Anuwatwimon

Curated by Tristan Deschamps and Chol Janepraphaphan

 

Shift Path: 2.5 PM is the conclusive exhibition of the SAC Art Lab and Residency Program led by Naomi Maury and Damien Fragnon as artists and Tristan Deschamps as a curator. After three months spent at the residency site in Chiang Mai and a “mid-term” exhibition titled Face Mask, the residency group proposes their final exhibition in Bangkok at SAC Gallery, alongside the work of two major positions in the contemporary Thai art scene, Patipat Chaiwitesh and Ruangsak Anuwatwimon.

 

Amongst what is left of our decaying world, there is hope. That is the a leading idea in the work of Naomi Maury and Damien Fragnon, as their installations offer a post-apocalyptical vision of what is left, or is it maybe what is to come? Amongst what could be understood as shelters for other beings, Fragnon also exhibits sculptures that have been arranged in a systematic order, just as a scientist or a collector would do. Those bear the marks of natural processes that have began the recovering of what one day will be nature’s own.

 

The structures of Naomi Maury pushes the audience to be careful when approaching to take a closer look, stuck in a in-between situation we do not know whether they are in the building process or if they have been destroyed leaving us looking at the remnants of what might have been a flourishing world. Further installations by the artist are using mixed media and will give a sense of motion to the exhibition, pushing the audience in a stream, bringing us back to where it all began.

 

Patipat Chaiwitesh will bring into perspective with clear narratives what happens and what will continue to happen if we cannot change our path as a society. Presenting animal figures that have been merged with manufactured, manmade products, Chaiwitesh offers us a darker glimpse into what could become the norm.

 

The work of Ruangsak Anuwatwimon is closer to Damien Fragnon’s practice, gathering and collecting plants that are bearing the marks of an intensive and heavy industry, Anuwatwimon does not further study what he collects but uses it as a frame to mark the impact that we have. Gathered in a way that makes it explicit, the work series is an evaluation, a time capsule of what we have done.

 

The exhibition will also feature the release of an eponymous publication, Shift Path, featuring a conversation between Deschamps, Maury and Fragnon as well as a text by Chol Janepraphaphan and numerous drawings and sketches by the two artists, make sure to grab your copy and read it through our opening reception.

 

  • Generously supported by INSTITUT FRANÇAISVille de Lyon, Ambassade De France En Thaïlande, Federbräu | Thai Beverage Public Company Limited and PICTURE ORGANIC CLOTHING

 

The exhibition “Shift Path: 2.5 PM” will be held on the first floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 21 May until 9 June 2019. The official opening ceremony will be held on 21 May 2019, 6:00PM onwards.

 


 

นิทรรศการ จาก SAC Residency Program

โดย Naomi Maury, Damien Fragnon, เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล และ ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ

คิวเรท โดย Tristan Deschamps และ ชล เจนประภาพันธ์

 

ณ ขณะที่ SAC Residency Program อยู่ระหว่างการดำเนินงานในช่วงต้นของปี 2019 นั้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศอยู่ในระดับที่เลวร้ายมากที่สุดช่วงเวลาหนึ่งของประเทศไทย ทิวทัศน์อันขุ่นมัวของเมืองเชียงใหม่เป็นภาพที่สะท้อนเป็นอย่างดีว่าวิกฤตการณ์นี้จะยังไม่จบลงง่ายๆ หากความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมยังเดินทางไปไม่ถึงทุกๆ คน SAC Residency Program ในฐานะส่วนหนึ่งของ เอส เอ ซี แกลเลอรี คือโครงการศิลปินในพำนักที่สนับสนุนให้ศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศได้ร่วมสังเกตการณ์ชุมชน สังคม และวิพากษ์ปัญหาต่างๆ ที่ ซ้อนทับอยู่ในสังคมไทยไม่เพียงแต่ศิลปินไทย แต่ศิลปินต่างชาติก็กำลังอยู่ในบรรยากาศที่ต้องการมีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหาทางสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยนิทรรศการ Shift Path: 2.5 PM นอกจากศิลปิน Naomi Maury และ Damien Fragnon แล้ว ภัณฑารักษ์ Tristan Deschamps ยังได้เชิญสองศิลปินไทย ได้แก่ เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล และ ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ ซึ่งทั้งสองยังเป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินที่ผสานความสนใจทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ตกผลึกอยู่ในรูปแบบของศิลปะอีกด้วย

 

โจทย์ในการหาความสมดุลระหว่างการทำงานศิลปะและการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม ความพอดีระหว่างการสร้างสรรค์และสร้างความตระหนักรู้ยังเป็นความท้าทายศิลปินในยุคที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนยากที่จะจับคว้าไว้ให้อยู่ในความสนใจของสาธารณะเป็นเวลานานๆ แต่หากศิลปะยังเปรียบได้กับการเล่นแร่แปรธาตุ การทดลองของศิลปินนับว่ายังเป็นวิธีที่ทำให้ผู้คนหันมาสงสัย และสนใจวิกฤติความยั่งยืนที่คืบคลานเข้ามาในชีวิตทุกขณ

 

Damien Fragnon คือศิลปินหน้าใหม่ที่ทดลองกับวัสดุหลากชนิด ผลงานชุด Sunstones on the crystal storm คือกระบวนการสร้างสรรค์ที่ควบคุมและปลดปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการธรรมชาติได้เข้ามากลืนประสานเข้ากับผลงานศิลปะ ผลงานเซรามิกผสมของเขาทดลองให้ผลึกธาตุต่างๆ เกาะจับบนวัสดุดินเผาอย่างอิสระ เพื่อการปลดปล่อยให้วัตถุนั้นประสานตัวกับรูปแบบของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ในมุมหนึ่งอาจนิยามได้ว่า Fragnon ได้ทดลองสร้างวัสดุเลียนแบบก้อนหินธรรมชาติ แม้จะไม่สามารถกลายเป็นก้อนหินจริงๆ ได้ แต่การสร้างสรรค์ของเขาคือการเรียนรู้และตระหนักต่อการใช้ทรัพยากรของมนุษย์

 

การสังเกตสิ่งแวดล้อมของ Naomi Maury เธอได้จดจำและจำลองสิ่งที่สังเกตมาด้วยร่างกายของวัตถุที่หลากหลาย ทำให้ประติมากรรมชุด Scaffolding for the altar of cutaneous microbiota มีธรรมชาติของการรวมตัวด้วยองค์ประกอบอันพิสดาร มันคือการผสมผสานระหว่างโครงสร้างกึ่งจริงกึ่งฝัน รูปร่างและพื้นผิวที่สื่อสารระหว่างการมีชีวิตกับไม่มีชีวิตโดยเฉพาะการรวมตัวของวัสดุที่แตกต่างกัน Maury ใช้วิธีที่ทำให้ผลงานของเธอมีลักษณะกายวิภาคที่ดูราวกับหายใจได้ และในขณะเดียวกันบางส่วนยังแอบซ่อนลักษณะของภูมิทัศน์เอาไว้อีกด้วย

 

ทุกวันนี้แนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คืบคลานเข้าสิงสู่ผลงานศิลปะนั้นกำลังบอกเราว่าความตระหนักและตระหนกยังต้องการพื้นที่อีกมากในโลกศิลปะ ศิลปินนักค้นคว้าชาวไทยอย่าง เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล ย้ำเตือนเราผ่านผลงานชุด Monolith Souvenir ว่าธรรมชาติกำลังอ่อนแอลงด้วยความทะนงของมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่ศิลปินร่วมสมัยต้องเผชิญคือความซับซ้อนทางวัฒนธรรมที่มีต่อความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม 

 

กอปรกับการเมืองที่ซ้อนสนิทอยู่ในปัญหาต่างๆ ทางสังคม ใบไม้ที่ถูกปกคลุมไว้ด้วยฝุ่นจากอุตสาหกรรม แม้อาจดูเป็นสิ่งเล็กๆแต่นั่นคือสัญลักษณ์ของการพัฒนาที่เติบโตจนไม่เหลือที่ว่างไว้ให้กับความเกรงใจต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝุ่นมากมายในอากาศได้หยุดบทบาทของต้นไม้เล็กๆ ที่คอยแต่จะช่วยเหลือมนุษย์อย่างไม่มีเงื่อนไข

 

เช่นเดียวกับผลงานชุด 2562++ ของ ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ จากการสังเกตสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยรอบแม่น้ำเจ้าพระยา   สัตว์สตัฟฟ์ และการผสมผสานสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแปลกปลอมในผลงานชุดนี้ แม่น้ำในความหมายและสัญลักษณ์ของชีวิต สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวงและสัตว์ที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำ วัตถุแสดงความพิกลพิการนั้นชวนให้ผู้ชมได้ตั้งคำถาม เบื้องหลังเป็นสิ่งที่เรารู้กันดีว่าทุกๆ เมืองที่กำลังเติบโต มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทำให้เราสูญเสียทรัพยากรไปอย่างมากมาย ผลงานชุดนี้มีรูปแบบการนำเสนอที่คล้ายกับห้องทดลองซึ่งเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดซึ่งล้วนเป็นทัศนะของศิลปินระหว่างการออกสำรวจเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านกรุงเทพฯ

 

เมื่อศิลปะไม่อาจหลีกหนีไปจากประเด็นคำถามทางสังคมและการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านพลังงาน ฯลฯ ที่แฝงอยู่ในทุกย่างก้าวชีวิต ปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวใจหลักอันหนึ่งของศิลปะร่วมสมัยคือการเชื่อมต่อกับประเด็นสากลเหล่านี้ จุดยืนของศิลปินไม่ได้มีเพียงการพัฒนารูปแบบทางศิลปะ แต่กลับกลายเป็นการผสมผสานเทคนิค วิธีคิดอันหลากหลาย สุดท้ายสำหรับงานศิลปะต้องตอบโจทย์ด้านสุนทรียภาพ แน่นอนว่าความงามของนิทรรศการ Shift Path: 2.5 PM นี้คงไม่ได้มีเพียงรูปแบบอันอิสระของผลงาน แต่ความงามที่แท้นั้นคือรูปทรงทางความคิดของศิลปินที่บอกเล่าถึงที่มาที่ไป ทัศนคติ รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ให้การทำงานศิลปะเป็นส่วนหนึ่งกับองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

 

  • นิทรรศการสนับสนุนโดย INSTITUT FRANÇAIS, Ville de Lyon, La Fête สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, Federbräu บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ PICTURE ORGANIC CLOTHING

 

นิทรรศการ “Shift Path: 2.5 PM” จัดแสดงระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน .. 2562 ณ ชั้น 1 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.. 2562 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป