ลวดลายอิสลาม สะท้อนตัวตนและเรื่องราวในชิ้นงานของ มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ | Islamic Patterns Reflect Identity and Stories in the Work of Mariem-Thidarat Chantachua

Article : Panich Tangwichitrerk Photo : Marisa Srijunpleang
February 16, 2024
ลวดลายอิสลาม สะท้อนตัวตนและเรื่องราวในชิ้นงานของ มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ | Islamic Patterns Reflect Identity and Stories in the Work of Mariem-Thidarat Chantachua

(English is below)

 

Islamic Art ดูห่างไกลจากการรับรู้ของชาวไทยไม่น้อย ทว่าในหมู่ชาวมุสลิม ศิลปกรรมเหล่านี้เป็นหนึ่งในสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมและสะท้อนถึงจิตวิญญาณของผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วทุกมุมโลก

 

ตามหลักศาสนาอิสลามมีข้อกำหนดห้ามมีรูปเคารพ การตกแต่งสถาปัตยกรรมจึงออกแบบให้มีลวดลายประดับโดยไม่ปรากฏรูปบุคคลและสัตว์ จนออกมาเป็นเอกลักษณ์ของงาน Isamic Art ที่มีลักษณะเป็นแพตเทิร์นลายแผงขนาดใหญ่ มีมิติ และแฝงไปด้วยสัญลักษณ์ทางศาสนา เช่น ดวงดาว ซึ่งลวดลายส่วนใหญ่เกิดจากการต่อยอดจากรูปทรงพื้นฐานอย่างเรขาคณิตให้มีความซับซ้อนขึ้น

 

นอกจากนี้ยังมักนำลวดลายพรรณพฤกษาจากธรรมชาติ และลายประดิษฐ์จากอักษรอาหรับมาประดิดประดอยเพื่อใช้เป็นงานศิลปะเนื่องในศาสนาด้วย 

หากย้อนกลับไปมองหาที่มา จะพบว่าลวดลายเหล่านี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่มีพัฒนาการของลวดลายมากว่าพันปี โดยได้รับอิทธิพลจากบรรดาต้นทางของศิลปะในดินแดนตะวันออกกลางและใกล้เคียง อย่างโรมัน เปอร์เซีย และอียิปต์ มาปรับใช้จนดีไซน์ออกมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ลวดลายต่างๆ ที่เห็นกันจึงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

 

ข้ามจากโลกมุสลิมมายังประเทศไทย ลวดลาย Islamic Art เป็นเสมือนลายเซ็นของ มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ ที่มักปรากฏอยู่ในชิ้นงานของเธออยู่เสมอ ศิลปินนำภาพ ‘ดาว’ สัญลักษณ์สำคัญของศาสนาอิสลาม มาผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งในงานร่วมสมัย ผ่านการใช้เทคนิคปักด้ายอย่างประณีต ทอร้อยเรียงเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ เพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ของศาสนาและสังคมได้อย่างน่าสนใจ

 

นิทรรศการล่าสุดอย่าง ‘เมืองลับแล’ (The Invisible Town) ของเธอก็เช่นกัน มาเรียมบอกเล่าถึงปัญหาในชุมชนที่เธอเกิดและโต โดยโฟกัสเรื่องฝุ่นและมลภาวะที่ผู้คนในซอยต้องเจออยู่ในชีวิตประจำวัน และขณะเดียวกันศิลปินนำเสนอ Islamic Art บนชิ้นงานเหมือนเคย เพื่อสื่อแทนสัญลักษณ์ประจำตัว เมื่อลวดลายทางศาสนาถูกนำมาสร้างเป็นรูปบาเรียฝุ่นที่กำลังปกคลุมบ้านเมือง ทาบทับบนแบ็กกราวน์ผ้ามัดย้อมที่เธอตั้งใจเลือกใช้สีเพื่อแสดงถึงมลพิษในอากาศ และบางชิ้นงานเธอเปลี่ยนจากงานปักด้ายมาใช้หมึกจีนเพนต์เป็นภาพลวดลายดาวสานกันอยู่เต็มท้องฟ้า

 

ส่วนของงาน Installation Art ในอีกห้องหนึ่ง เธอเนรมิตกำแพงเมืองขนาดใหญ่ที่อัดแน่นไปด้วยขยะเพื่อแทนถึงกำแพงของเมืองลับแลในซอยโรงขยะ ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะพบว่า บนมุ้งลวดที่ปิดอยู่บนชิ้นงาน ยังมีลวดลายอิสลามบางๆ ที่เธอตั้งใจซ่อนซิกเนเจอร์ประจำตัวไว้

 

“เหล็กดัดมุ้งลวดของเก่า ถ้าเราเอียงซ้ายเอียงขวาดูดีๆ จะมีลายอิสลามซ่อนอยู่ เป็นซิกเนเจอร์ของเราส่วนหนึ่ง และอยากเล่าว่าความเป็นศาสนาก็แทรกอยู่บางๆ ไม่ได้ชัด เราไม่ได้อยากให้เห็นว่าเป็นมุสลิมแล้วต้องมี Culture เพราะคนส่วนหนึ่งเขาก็แค่เอาตัวรอดในชีวิตประจำวัน” มาเรียมเฉลยถึงลวดลายอิสลามที่เธอนำมาซ่อนอยู่ เพื่อใช้อธิบายเรื่องราวปัญหาในชุมชนเกิดของนิทรรศการครั้งนี้

 

แม้เวิร์กช็อป ‘Trashformation: Create Artful Geometry with Ebru Art’ ที่นำเทคนิค Ebru Art หรือการสร้างสรรค์ลวดลาย Marbling Art ลงบนกระดาษเหลือใช้ที่ตัดเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบ Islamic Art ในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ ผู้เข้าร่วมครบจำนวนไปแล้ว แต่สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Islamic Art สามารถตามหาลวดลายต่างๆ ที่แฝงอยู่ในงานของมาเรียมได้ในนิทรรศการ  ‘เมืองลับแล’  (Invisible Town) ที่ชั้นสอง อาคารหอศิลป์ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 มีนาคม 2567 


ติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่นี่ หรือ www.sac.gallery และ Instagram @sacbangkok สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 092-455-6294 (ณัฐรุจา)


 ____________________

 

While Islamic art may not be widely recognized by non-Muslim communities in Thailand, but within the Muslim community, this art style is one of the cultures and the spiritual essence of Muslims.

 

According to Islamic religious principles, it is forbidden to depict revered figures. Therefore, architectural decorations are designed with intricate patterns, avoiding the portrayal of humans and animals. This results in the distinctive features of Islamic art, characterized by large-scale geometric patterns with dimensionality and religious symbolism, such as stars. These patterns are largely derived from basic geometric shapes, creating complexity.

 

In addition, patterns inspired by natural foliage and decorative motifs from Arabic script are often incorporated into Islamic art to serve religious purposes as well.


These patterns didn’t just emerge recently, they have developed for over a thousand years. They have been influenced by various arts from the Middle East and nearby regions such as those of the Romans, Persians, and Egyptians. These influences have been adapted into Islamic art to create unique designs. The various patterns we see today have been continuously used and evolved up to the present day.


Islamic Art is like the signature of Mariem-Thidarat Chantachua, which often appears consistently in her artworks. Artists integrate the image of the “star”, Important symbol of Islam, into contemporary artworks through intricate embroidery techniques. Threads are meticulously woven into various shapes, which are then used to create artworks that narrate various stories, including those of religion and society.


The “Invisible Town”, the latest of her exhibitions: She presents the issues within the community where she was born and raised, with a focus on the dust and pollution that people in her community encounter in daily life. At the same time, the artist presents Islamic art in her artworks as usual such as symbolizing familiar motifs. She sewed thread as religious patterns to create dust as a sphere, covering the town on a tie-dye fabric that symbolizes air pollution. However, Some of her artworks change the techniques to Chinese ink painting to depict stars in the sky.


Across the room, She created city walls filled with trash to remind her community, and in some perspective, the audience might catch a glimpse of her signature Islamic patterns in the curved steel and mosquito wire screens  


“If you change your position and look carefully, you will reveal the hidden Islamic patterns. It’s my signature, and I want to explain that religion is sometimes inserted in life. It’s not clear, I don’t want you to see that being Muslim means having to have culture because some people are just trying to survive in their daily life.” This is how she reveals the Islamic patterns she incorporates to explain the narrative of community issues in this exhibition.


Although the workshop “Transformation: Create Artful Geometry with Ebru Art”, which utilizes the technique of Ebru Art or Marbling Art on leftover paper cut into geometric shapes reminiscent of Islamic Art, is now full capacity, those interested in Islamic Art can still explore various hidden patterns in Maream’s exhibition “The Invisible Town” on the second floor of SAC Gallery. The exhibition runs from today until 23 March 2024.

 

For any additional questions or information, feel free to reach out 092-455-6294 (Natruja)

 

 




Add a comment